Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
ขายบีเอไฟแนนซ์ยังไงก็ต้องมีวันนี้ของแบงก์อเมริกา             
 


   
search resources

ธนาคารอเมริกา
บีเอไพแนนซ์
Banking and Finance




ในอดีตที่รุ่งเรืองเมื่อหลายปีก่อน แบงก์อเมริกาเคยยืนอยู่ในแถวหน้าสุดของการจัดอันดับธนาคารชั้นนำในสหรัฐฯ วัดจากขนาดของสินทรัพย์ แต่หลังจากเกิดวิกฤติการณ์หนี้เสียของประเทศในโลกที่สามเมื่อต้นทศวรรษที่ 80 แล้ว อันดับของแบงก์อเมริกาก็กลับถูกซิตี้คอร์ปและเชสแมนฮัตตันเซงหน้าไป

อันที่จริงในช่วงที่เกิดวิกฤติหนี้เสียนั้น ธนาคารชั้นำในหสรัฐฯ ล้วนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า เพิ่งจะมาฟื้นตัวได้ก็ในช่วงปีสองปีให้หลังนี่เองโดยเฉพาะชิตี้คอร์ปซึ่งสามารถทำรายได้พุ่งทะยานขึ้นถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2531 และถูกจัดอยู่ในอันดับ 12 ในการจัดอันดับ 50 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกของนิตยสารฟอร์จูนโดย 10 อันดับแรกเป็นของธนาคารในญี่ปุ่นและอันดับ 11 เป็นของธนาคารในปารีส

ส่วนแบงก์อเมริกานั้นอยู่ในอันดับ 38 ด้วยรายได้ 726 ล้านดอลลาร์ซึ่งนิตยสารฟอร์จูนระบุว่าอยู่เหนือเกณฑ์รายได้เฉลี่ย และจัดว่าเป็นตัวเลขที่ไม่เลวนักสำหรับธนาคารที่ประสบภาวะการขาดทุนตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสืบเนื่องจากต้องมีการตั้งสำรองหนี้สูญเอาไว้สูงมาก

วิธีการแก้ปัญหนี้สูญและการขาดทุนอย่างหนักหน่วงของแบงก์อเมริกาก็คือลดค่าใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมากยุบหรือขายสาขาและสำนักงานตัวแทนของธนาคารรวมทั้งกิจการในเครือที่ไม่สามารถทำกำไรได้

นโยบายเหล่านี้มาจากเอ.ดับลิว.เคลาเซ่น ประธานคณะกรรมการธนาคารและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารแบงก์อเมริกา ซึ่งหวนกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาทั้งหลายที่สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่เขาดำรงตแหน่งนี้ในสมัยที่ผ่านมาก่อนหน้าจะไปอยู่ที่ธนาคารโลก ทั้งนี้หนี้เสียทั้งหลายที่ปล่อยกู้กับประเทศในโลกที่สามเป็นผลงานในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งอยู่ ดังนั้นเขาจึงต้องกลับมาชำระสะสางปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวเอง

นโยบายของสำนักงานใหญ่ที่ซานฟรานซิสโกเป็นนโยบายหลักที่สาขแาละสำนักงานทุกแห่งทั่วโลกต้องยึดถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ซึ่งในบางครั้งบางคราวก็เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับสภาพทางธุรกิจของสาขาและสำนักงานในต่างประเทศสักเท่าใดนัก

อย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บีเอไฟแนนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่แบงก์อเมริกาสาขาประเทศไทยถือหุ้น 100% เต็มและได้มีการขายให้กับกลุ่มศรีวิกรม์เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติตามนโยบายใหญ่โดยเคร่งครัดแต่ดูเป็นเรื่องสวนทางกับตลาดของธุรกิจประเภทนี้ เพราะในวงการต่างรู้ว่าธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ในบ้านเรานั้นกำลัง "รุ่ง" ขนาดไหน

ซี.เค.ฮัน กรรมการผู้จัดการบีเอไฟแนนซ์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นบงล.ศรีธนา จำกัด เล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังว่าการทีบีเอไฟแนนซ์ต้องยึดถือตามนโยบายหลักของสำนักงานใหญที่ซานฟรานซิสโกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา "มันต้องเป็นไปในรูปนั้นคอต้องมองภาพในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวม โดยที่ไม่สามารถคำนึงถึงตัวเองว่าทำแล้วมันจะกระทบถึงชื่อเสียงของตัวเอง ทำแล้วมันจะเล็กตลอด มันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้"

หากย้อนกลับไปดูประวัติความเป็นมาของไฟแนนซ์แห่งนี้เมื่อหลายสิบปีก่อนซึ่งยังใช้ชื่อเดิมว่า "BAMERICAL" นั้นปรากฎว่ามีการทำธุรกิจเฉพาะด้านคอร์ปอเรท เลนดิ้งแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้เป็นแหล่งรองรับลูกค้าที่แบงก์อเมริกาจะโอนมา

ทั้งนี้ได้มีการแบ่งประเภทของลูกค้าโดยทางแบงก์ฯจะดูแลลูกค้าในตลาดระดับสูงคือบริษัทข้ามชาติใหญ่ ๆ เช่น สยามซิตี้ ซีเมนต์ สยามกลการ เป็นต้น ส่วนบีเอไฟแนนซ์ดูแลลูกค้าในตลาดระดับกลาง เช่น ทีโอเอบางกอกเคเบิ้ล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฮันจะมีประสบการณ์คุมแผนกสินเชื่อที่แบงก์อเมริกาสาขาประเทศไทยอยู่ 7 ปีเต็ม และมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ช่วยรองผู้จัดการก่อนจะโอนมาเป็นกรรมการผู้จัดการที่บีเอไฟแนนซ์ แต่ประสบการณ์เหล่านี้ก็ไม่อาจจะช่วยหใบีเอไฟแนนซ์รอดพ้น่จากกาขาดทุนไปได้เมื่อประสบกับสภาวะเศรษฐกิจซบเซาในช่วงปี 2526-2529

ประกอบกับธุรกิจคอร์ปอเรท เลนดิ้งทำกำไรให้น้อยจึงได้มีการคิดแสวงหาผลกำไรด้านอื่น ๆ จนในที่สุดได้หันมาจับธุรกิจเช่าซื้อ ซึ่งฮันเคยมีความชำนาญจากประสบการณ์สมัยที่ทำงานระยะเริ่มแรกกับบริษัทสยามเครดิต

ธุรกิจเช่าซื้อของบีเอไฟแนนซ์สามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ จากที่ประสบการขาดทุนอยู่หลายล้านบาท ก็ล้างได้หมดสิ้น และทำกำไรได้ 9 ล้านบาทในปี 2531

กิจการเช่าซื้อของบีเอไฟแนนซ์ยังไปได้ดี แต่ก็ไม่สามารถขยายตัวหรือมุ่งไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ได้ สาเหตุสำคัญมาจากนโยบายของบริษัทแม่คือแบงก์อเมริกาซึ่งฮันเล่าว่า "เขาอยากจะให้ทำเฉพาทะมีกำไรและปริมารธุรกิจไม่สูงนัก ซึ่งเมื่อมีการบังคับออกมาแบบนี้เราก็ต้องหาธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินมากนัก แต่ให้ผลตอบแทนสูง"

มูลเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือนโยบายหลักของสำนักงานใหญ่ที่ซานฟรานฯ ซึ่งต้องการขายกิจการในเครือออกไปและบีเอไฟแนนซ์ก็เป็นเป้าหมายอันหนึ่ง

กว่าที่แบงก์อเมริกาสาขาประเทศไทยจะขายบีเอไฟแนนซ์ได้นั้นก็ใช้เวลานานพอสมควรแม้จะมีผู้เสนอตัวขอซื้อหลายรายก็ตาม ทั้งนี้เพราะแบงก์ค่อนข้างพิถีพิถันในการคัดเลือกและด้วยความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน กลุ่มศรีวิกรม์จึงมีเงื่อนไขที่ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือโค้วยู่ฮะและบริษัทเอไอเอ ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตจากอเมริกาในไทย

ทั้งนี้กลุ่มศรีวิกรม์เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัทอเมริกัน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งของแบงก์อเมริกานี่เป็นเงื่อนไขที่ดีของกลุ่มศรีวิกรม์ กอรปกับกลุ่มก็เสนอรูปแบบการบริหารงานตามที่แบงก์ต้องการด้วย

รูปแบบดังกล่าวก็คือบงล.ศรีธนาอันเป็นชื่อใหม่ของบีเอไฟแนนซ์ยังคงทำธุรกิจเช่าซื้อเป็นด้านหลัก แต่จะมีการขยายตัวในเรื่องของเฮ้าส์ซิ่งโพรเจคท์และเรียลบเอสเตท ซึ่งเป็นธุรกิจที่กลุ่มศรีวิกรม์มีความเชี่ยวชาญอยู่

นอกจากนี้อาจจะมีการทำด้านรีเทล แบงกิ้งบ้าง ส่วนธุรกิจค้าหลักทรัพย์นั้นกำลังอยู่ในระหว่างการขอใบอนุญาตจากแบงก์ชาติ เพราะที่ผ่านมาบีเอไฟแนนซ์ถูกจัดเป็นบริษัทต่างชาติซึ่งไม่สามารถประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์ได้

ฮันกล่าวว่าการซื้อขายบีเอไฟแนนซ์ครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีความสุขกันอย่างถ้วนหน้า ตัวเขาเองก็เลือกที่จะทำงานในตำแหน่งเดิมที่ศรีธนาและพนักงานทั้ง 60 ชีวิตก็ยังคงยืนหยัดอยู่ด้วยกัน

การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นนโยบายบริหารรวมไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม ทำให้พนักงานยินดีไม่มีปัญหาอีกต่อไป และคงไม่มีใครคิดแต่งดำเพื่อเป็นสื่อการประท้วงนโยบายบริหารแบบเงียบ ๆ เฉกเช่นเมื่อ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา

นโยบายหลักจากสำนักงานใหญ่เพิ่งจะทำให้พนักงานของบริษัในเครือมีความสุขก็คราวนี้เอง

ฮันเปิดเผยให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังว่าก่อนหน้านี้บีเอไฟแนนซ์มีความไม่คล่องตัวในการทำธุรกิจหลายอย่างเพราะการจำกัดโดยนโยบายของสำนักงานใหญ่ เช่น ฮันเคยเสนอให้ทำธุรกิจไฟแนนซ์บ้านและที่ดิน แต่ช่วงนั้นแบงก์อเมริกาเพิ่งประสบการขาดทุนในธุรกิจนี้ที่แคลิฟอร์เนีย และยังมีปัญหาคาราคาซังที่ฮ่องกงอีก แม้ฮันจะอธิบายว่าประสบการณ์ของแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน แต่ทว่าแบงก์ก็ไม่ต้องการที่จะเสี่ยง

หรืออย่างนโยบายที่ตายตัวในเรื่องของการจ้างงานด้วยระบบ HEAD COUNT หรือการควบคุมปริมาณคนซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นกับระบบธนาคารแต่ใช้ไม่ได้ในธุรกิจเช่าซื้อของเมืองไทยที่มีการแข่งขันกันสูงมาก

กระทั่งกรณีเล็กน้อยในเรื่องของอุปกรณ์สำนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ บริษัทลูกอย่างบีเอไฟแนนซ์ก็ต้องรับซื้อต่อจากแบงก์ เมื่อแบงก์ต้องการเปลี่ยนไปใช้ของรุ่นใหม่ ๆ

เมื่อบีเอไฟแนนซ์ถูกขายเปลี่ยนมือมาเป็นศรีธนาแล้วนั้นหลายอย่างมีการเปลี่ยนใหม่และฮันก็ตั้งความหวังว่า "มันจะเป็นผลดีต่อเราที่จะมีโอกาสในการเจริญเติบโตและคิดว่าเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย"

แบงก์อเมริกาคงจะเป็นฝ่ายที่ยินดีไม่น้อยไปกว่าบรรดาพนักงานบีเอไฟแนนซ์ แม้ว่ามูลค่าการขายที่ได้มาราว 240 ล้านบาทจะคิดเป็นกำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเทียบค่าเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us