Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
เบื้องหลังการเซ็นสัญญาร่วมทุนของเอเชียไฟเบอร์ที่เกาหลีใต้             
 


   
search resources

เอเซียไฟเบอร์, บมจ.
โอฬาร วีรวรรณ
ตงยางไนล่อน




10 โมงเช้าวันที่ 17 สิงหาคม ที่ห้องชาร์ลอตชั้น 35 โรงแรมลอตเต้กลางกรุงโซล ซึ่งคณะของรมว.กร ทัพพะรังสีและเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมด้วยภาคเอกชนที่เดินทางไปชักชวนนักลงทุนเกาหลีใต้มาลงทุนในไทยพักอยู่ มีการแจ้งล่วงหน้ากะทันหันว่าจะมีการแถลงข่าวเซ็นสัญญาร่วมทุนระหว่างเอเชียไฟเบอร์ จำกัดผู้ผลิตสิ่งทอไนล่อนรายใหญ่ที่สุดของไทยกับบริษัทตงยางไนล่อน จำกัด ของเกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้ผลิตไนล่อนรายใหญ่สุดของเกาหลีใต้เพื่อลงทุนผลิต NYLON TYRECORD มูลค่าขั้นต้น 50 ล้านเหรียญสหรัฐ

งานครั้งนี้กร ทัพพะรังสี รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจะเป็นสักขีพยานด้วยพร้อมกับสถาพร กวิตานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการลงทุน

ก่อนการแถลงข่าวครึ่งชั่วโมง โอฬาร วีรวรรณ ผู้จัดการใหญ่ของเอเชียไฟเบอร์ก็หอบเอกสารแถลงข่าวมาแจก พร้อมด้วยรายละเอยดและปูมหลังของตงยางไนล่อนซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนในครั้งนี้ว่าเป็นใครมาจากไหน

"ที่จริงเราตกลงกันไว้ตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้วว่าจะลงทุนร่วมกัน มาครั้งนี้ก็เผิญรัฐมนตรีท่านมาพอดีในช่วงเวลาเหมาะสมชักชวนคนที่นี่ไปลงทุน ก็เลยถือโอกาสเชิญท่านมาเป็นเกียรติก็เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน (MUTUAL INTEREST)" โอฬารกล่าวกับ "ผู้จัดการ" แต่ไม่ยอมหใรายละเอียดมากกว่านี้

เบื้องหลังที่ "ผู้จัดการ" สืบเสาะมาได้ก็คือโครงการผลิต NYLON TYRE-CORD ของบริษัทร่วมทุนครั้งนี้ยังมีปัญหาอยู่พอสมควรเนื่องจากการผลิตเป็น IMPORT SUBSTITUTION โดยมีลูกค้าได้แก่บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ในประเทศอย่างกู๊ดเยียร์ บริดสโตนและยางสยามเป็นลูกค้าหลักเพราะแต่เดิมมานั้นเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้ามาทั้งหมด โดยที่ตงยางไนล่อนเองก็เป็นซัพพลายเออร์ให้บางส่วนอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ตงยางไนล่อนเองนั้นถึงแม้ว่าจะมีสัมพันธ์ในแง่ที่ว่าเป็นซัพพลายเออร์ให้กับกู๊ดเยียร์และบริดจสโตนในสหรัฐฯและญี่ปุ่นมาแล้วหลายปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโรงงานผลิตในไทยจำเป็นจะต้องซื้อสินค้าตัวนี้จากโรงงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่เสมอไป

ปัญหาใหญ่ของบริษัทร่วมทุนก็คือจะทำอย่างไร ให้โครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างขอรับกาส่งเสริมจากบีโอไออยู่ประสบความสำเร็จในการอนุมัติสิทธิพิเศษ อาทิเรื่องเซอร์ชาร์จนำเข้าวัตถุดิบหรือการปกป้องจากคู่แข่ง เป็นต้น

โอฬารเองยอมรับว่าโครงการนี้จะมีการส่งออกบ้างไม่มากนักในกรณีที่มีผู้สนใจแต่ตลาดหลักก็ยังเป็นตลาดในประเทศ

สิ่งที่น่าคิดก็คือ โครงการร่วมทุนนี้ ถึงจะมีการเซ็นสัญญาโดยมีการ ทัพพะรัสีและสถาพร กวิตานนท์เป็น สักขีพยาน แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะผ่านการอนุมัติจากบีโอไอหรือไม่ สถาพรเองก็กล่าวว่าบีโอไอเองไม่ได้มีคอมมิตเมนต์อะไรกับทางกลุ่มผู้เซ็นสัญยาอยากเซ็นไปไม่มีปัญหาเป็นคนละเรื่องกันกับการอนุมัติส่งสริมฯ

แต่ก็อย่างว่า ถ้าหากไม่มีการเซ็นสัญญาร่วมทุนระหว่างเอเชียไฟเบอร์กับตงยางไนล่อนคราวนี้งานชักชวนส่งเสริมการลงทุนที่กรนำทีมไปก็คงจะแห้งแล้งสิ้นดี และหาอะไรมาโชว์ในจอทีวี.เมืองไทยยากเหมือนกัน..

ถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าถ้าสมมุติบีโอไอเกิดใจแข็งไม่ยอมให้การส่งเสริมแล้ว โอฬาร์จะยังพูดคำว่า "MUTUAL INTEREST" ออกหรือเปล่า

อย่างไรก็ตามหลังจากเซ็นสัญญาเสร็จสรรพตามพิธีการมีการแลกเปลี่ยนเอกสารกันระหว่างวิทย์ ศิริเกียรติสูงรองประธานเอเชียไฟเบอร์จำกัดกับมร.KNONG JEONG KONG ผู้จัดการใหญ่ของตงยางไนล่อนต่อหน้ากรกับสถาพรแล้ว "ผู้จัดการ" เข้าไปถามคำถามกับโอฬารอีกครั้งว่า "อย่างนี้หุ้นเอเชียไฟเบอร์ก็ขึ้นแย่ละซีครับ"

"ไม่รู้ซี" โอฬารพูดพร้อมกับหัวเราะหึ ๆ

งานนี้คนในวงการอุตสาหกรรมด้วยกันต่างแอบยกนิ้วให้กับโอฬารกันพร้อมเพรียงว่าหัวไวดีแท้ "รู้ยังงี้ ผมเอามั่งดีกว่า ตกลงร่วมทุนไว้แต่ยังไม่เซ็นสัญญาแล้วก็ไปขอ บีโอไอทิ้งไว้ รอโอกาสดีก็จับมานั่งทำอย่างนี้ นักการเมืองได้หน้าเราก็ได้สิทธิ ไม่มีใครเสีย"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us