Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤศจิกายน 2551
น้ำมันลดกดเป้าเงินเฟ้อทั้งปีเหลือ5.9-6.3%             
 


   
search resources

Commercial and business
Economics




เงินเฟ้อต.ค. เพิ่มในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือแค่ 3.9% หลังราคาน้ำมันลดต่อเนื่อง และพาณิชย์ขอความร่วมมือผู้ผลิตลดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุน คาดทั้งปีขยายตัว 5.9-6.3% จากเป้าเดิม 6.5-6.9% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปีคาดอยู่ที่ 2.2-2.7% ลดจากเป้าหมายเดิม 3-3.5% ปีหน้ายังพยากรณ์ไม่ได้ เหตุราคาน้ำมัน-ค่าเงินบาทยังผันผวน แต่มั่นใจลดลงจากปีนี้แน่

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทย (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนต.ค.2551 เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2551 ลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2550 สูงขึ้น 3.9% ซึ่งเป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง และเมื่อเทียบดัชนีเฉลี่ยช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 6.3%

“เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงมาก เพราะราคาน้ำมันลดลง และยังได้ผลดีจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการต่างๆ ปรับลดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุน ทั้งน้ำมันพืช อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี เหล็ก และอาหารสำเร็จรูป ทำให้เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลง และคาดว่าถ้าเงินเฟ้อในช่วง 2 เดือนที่เหลือยังคงลดลง เงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 5.9-6.3% จากเดิมที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 6.5-6.9%”นายศิริพลกล่าว

ส่วนเป้าหมายเงินเฟ้อปีหน้า คาดจะชะลอตัวลงจากปีนี้ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเท่าไร เพราะอยู่ระหว่างการดูตัวเลข ทั้งค่าเงินบาท ราคาน้ำมันโลก ซึ่งยังผันผวนอยู่ อีกทั้งยังจะเพิ่มสินค้ารายการใหม่ๆ เข้าไปในการคำนวณด้วย เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และสะท้อนค่าใช้จริงของประชาชนมากขึ้น คาดจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ราวสิ้นเดือนพ.ย.นี้

สำหรับเงินเฟ้อเดือนต.ค.2551 เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2551 ที่ลดลง 1.2% นั้น เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.9% จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ลดราคาลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศลดลงถึง 12.1% และค่าโดยสารสาธารณะลดลง 0.4% ทั้งค่าโดยสารรถประจำทางธรรมดา-ปรับอากาศขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถร่วม ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก รวมถึงค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศในต่างจังหวัด ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.2551 แต่ค่ากระแสไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สูงขึ้น 0.7770 บาท/หน่วย ทำให้ค่าค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 5.4%

ประกอบกับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0..2% จากการลดลงของดัชนีหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ 1.2% สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว รวมถึงการลดลงของผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งกาแฟผงสำเร็จรูป น้ำผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์ และเครื่องประกอบอาหาร

อย่างไรก็ตาม แม้เงินเฟ้อเดือนต.ค.2551 เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2550 เพิ่มขึ้น 3.9% แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว จากเดือนก.ย.2551 ที่เพิ่มขึ้นถึง 6% เพราะดัชนีหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 2.4% จากการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 0.1% และหมวดเคหสถาน 7.6% ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 14% จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

นายศิริพลกล่าวว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ที่หักสินค้ากลุ่มอาหารสด และพลังงาน ประจำเดือนต.ค.2551 เมื่อเทียบกับเดือยก.ย.2551 สูงขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2550 สูงขึ้น 2.4% และเมื่อเทียบเฉลี่ย 10 เดือนปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.4% ส่วนทั้งปีคาดอยู่ที่ 2.2-2.7% ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่คาดขยายตัว 3-3.5%

สินค้าคงคลังพุ่งจับตาอุตฯชะลอการผลิต

แหล่งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ผลพวงจากวกฤติการเงินสหรัฐฯส่งผลให้สศอ.ต้องติดตามภาวะอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิดในช่วงไตรมาส 4 นี้โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปคงคลังที่ล่าสุดพบว่ามีปริมาณที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนต.ค.เมื่อเทียบกับก.ย.และมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากไม่สามารถระบายการจำหน่ายออกสู่ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศตามเป้าหมายดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่ภาคการผลิตจะชะลอการผลิตลงในช่วงสิ้นปีนี้

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสศอ. กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)เดือนก.ย.อยู่ที่ 186.17 เพิ่มขึ้น 2.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาซึ่งสาเหตุสำคัญเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลกส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมมียอดขายในประเทศและการส่งออกที่ลดลงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทวัสดุก่อสร้างเช่น ปูนซิเมนต์ เหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเลียม เครื่องประดับเพชรพลอย อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

“สินค้าส่วนใหญ่มียอดส่งออกลดลงจากวิกฤติการเงินสหรัฐทำให้แรงซื้อลดต่ำ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่จัดเป็นประเภทฟุ่มเฟือยจะเห็นได้ชัด ซึ่งพบว่าการผลิตและการจำหน่ายเครื่องประดับลดลง ค่อนข้างชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ปัจจัยความผันผวนของราคาทองคำ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงเป็นเหตุให้สินค้าในกลุ่มนี้ซบเซา “นายอาทิตย์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us