Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤศจิกายน 2551
FIFลดถือหุ้นหนีวิกฤต             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
Funds




บลจ.เอ็มเอฟซี ปรับพอร์ตกองทุนเอฟไอเอฟหนีวิกฤต ลดสัดส่วนลงทุนหุ้นเหลือ 30-35% จากเดิม 65-80% จากวิกฤตสถานบันการเงินที่คาดส่งผลยาวจนถึงสิ้นปี โดยโยกไปฝากธนาคารแทน เหตุตลาดบอนด์ผันผวนเช่นกัน

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอยู่ในขณะนี้ ทำให้เราต้องปรับกลยุทธ์กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ด้วยการดึงเงินลงทุนออกจากการลงทุนในหุ้นไปลงทุนในเงินฝากแทน โดยยกเว้นกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ (MGE) เท่านั้น โดยกองทุนที่ดึงเงินลงทุนกลับมานั้น เป็นกองทุนเอฟไอเอฟที่เอ็มเอฟซีบริหารเอง และกองทุนที่เราจ้างผู้จัดการกองทุนบริหารให้ ส่วนกองทุนประเภท Feeder Fund หรือกองทุนที่มีกองทุนหลักในต่างประเทศกองเดียว ไม่สามารถดึงกลับมาได้

ทั้งนี้ จากการปรับพอร์ตดังกล่าว ทำให้พอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นเฉลี่ยอยู่ประมาณ 30-35% จากสัดส่วนการลงทุนเดิม 65-80% ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดว่าจะต้องคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็นเท่าไหร่ แต่เรามองว่าในระดับ 30-35% ถือว่าเป็นเพดานที่เหมาะสม เพราะตัวหุ้นที่กองทุนลงทุนอยู่ โดยพื้นฐานแล้วยังสามารถลงทุนได้ และยังมีกำไรต่อเนื่อง ซึ่งราคาหุ้นที่ปรับลดลง ก็เป็นผลมาจากการปรับลดลงของตลาดมากกว่า ดังนั้น เราจึงคงสัดส่วนการลงทุนระยะยาวเอาไว้

อย่างไรก็ตาม ตามกฏการลงทุนของกองทุนต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดไว้ว่าจะต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ดังนั้น การดึงเงินลงทุนออกจากหุ้นดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะนำไปฝากในสกุลเงินบาท และอีกส่วนหนึ่ง กองทุนจะเปิดบัญชีเงินฝากในต่างประเทศในสกุลเงินต่างๆ รวมถึงอาจจะเปิดบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศในธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย

โดยในส่วนของเงินฝากต่างประเทศนั้น น่าจะกำหนดอายุการฝากเงินเฉลี่ยประมาณ 3 เดือน ซึ่งหากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็จะสามารถนำเงินไปลงทุนต่อได้ทันที ทั้งนี้ สาเหตุที่ไม่เลือกลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั่วโลก ตราสารหนี้เองก็เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาผลตอบแทนเองก็ปรับลดลง ขณะเดียวกันยังคงมีความผันผวนสูงเช่นกัน

นายพิชิตกล่าวว่า ในส่วนของผู้ลงทุนนั้น ที่ผ่านมาเราให้ข้อมูลโดยละเอียดว่า กองทุนที่ลงทุนอยู่เป็นอย่างไรบ้าง บริษัทที่ลงทุนนั้นได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งนักลงทุนเองก็เข้าใจและส่วนใหญ่ไม่ขายออกมาแต่อย่างใด โดยเราจะแนะนำให้ลูกค้ารอดูสถานการณ์ไปอีก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า บรรดาบริษัทในต่างประเทศเองจะทยอยจ่ายเงินปันผลซึ่งน่าจะทำให้กองทุนปรับตัวขึ้นมาได้บ้าง ดังนั้น จึงยังไม่แนะนำให้ขายออก เช่นเดียวกัน สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะซื้อกองทุนต่างประเทศในช่วงนี้ เราก็จะแนะนำให้รอไปอีก 6 เดือนเพื่อรอดูสถานการณ์อีกครั้งเช่นกัน

"ในช่วงนี้ เอ็นเอวีของกองทุนต่างประเทศ น่าจะเริ่มนิ่งและอยู่ตัวแล้ว อาจจะมีการปรับลดลงบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งบางส่วนอาจจะมีการเข้าไปซื้อเพื่อทำกำไรและออกมา อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในช่วงนี้ เราเองมีการติดตามการลงทุนทั่วโลกทุกวันอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว

ทั้งนี้ กองทุนเอฟไอเอฟจะสามารถเอาเงินกลับเข้าไปลงทุนได้อีกเมื่อไหร่นั้น มองว่าหลังจากนี้ ไปจนถึงสิ้นปีตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังผันผวนอยู่ เพราะยังมีปัจจัยลบทางด้านการเงินและการเมืองอยู่สำหรับประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกา แต่หลังจากผ่านการเลือกตั้งประธานธิบดีและได้ผู้นำคนใหม่แล้ว รวมถึงมีการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจออกมาชัดเจน ก็น่าจะเห็นผลจากนโยบายดังกล่าวว่าเศรษฐกิจอเมริกาถอถอยมากแค่ไหนในช่วงประมาณไตรมาสแรกของปีหน้า และน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงกลางปี ซึ่งช่วงนั้นอาจจะมีการพิจารณาอีกครั้ง

สำหรับกองทุนต่างประเทศของเอ็มเอฟซี ที่มูลค่าหน่วยลงทุนปรับลดลงค่อนข้างรุนแรง เช่น กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ โกลบอล อะกริบิซซิเนส ฟันด์ (I-AGRI) ล่าสุดมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 5.0006 บาท กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ (I-ASIA) 3.6469 บาท กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ชิค ฟันด์ (I-CHIC) 4.9156 บาท กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ (I-NATURAL) 5.1974 บาท กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชีย อินฟราสทรัคเจอร์ ฟันด์ (IAINF) 4.6126 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us