Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์3 พฤศจิกายน 2551
วิกฤต ‘การเมือง-ศก.’ฉุดไทยดิ่งเหว แบงก์งดปล่อยกู้-SMEsเจ๊ง2.3ล้านราย!             
 


   
search resources

Economics




สภาอุตฯเผยเศรษฐกิจไทยหัวทิ่มต่อเนื่อง เหตุจากปัจจัยภายใน-นอกกระทบรุนแรง ขณะที่สถาบันการเงินกีดกัน SMEs ไม่ปล่อยกู้ หวั่น 2.3 ล้านรายเจ๊งกันทั่วประเทศ ส่วนนักวิชาการจี้ภาครัฐอุ้ม SMEs ใช้กลไกผ่านงบประมาณ-สถาบันการเงินของรัฐปล่อยกู้แก้ไขสภาพคล่องแทน ชี้วิกฤตการเมืองหากถึงขั้น “นองเลือด” ทำศก.พังพินาศ.!

เหลืออีกเพียง 2 เดือนเท่านั้นที่ “ปีหนูไฟ”จะผ่านพ้นก้าวสู่ศักราชใหม่ปี 2552 ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาในปี2551 นั้นมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกเข้ามากระทบซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น ขณะที่ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตัวตามเป้า อีกทั้งสถาบันการเงินก็ไม่ปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อมอย่าง SMEs อาจจะเจ๊งก่อนจะถึงปีใหม่นี้ รวมถึงด้านอสังหาริมทรัพย์ก็ร่อแร่เพราะแบงก์ไม่เชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อทั้งผู้ประกอบการและรายย่อย

รวมทั้งเสถียรภาพทางการเมืองที่ง่อนแง่นที่หลายฝ่ายเดินมาถึงทางตันและทางออกแห่งปัญหาอาจจะถึงขั้น“นองเลือด” วิกฤตเศรษฐกิจปลายปีนี้อาจจะชี้เป็น-ชี้ตายเศรษฐกิจในปีหน้าว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ขยายกิจการ-ลงทุนใหม่สะดุด.!

ไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ว่าจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯทำให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก ประเทศไทยซึ่งค้าขายกับสหรัฐฯย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบไปด้วยโดยเฉพาะจากการส่งออกซึ่งต้องไปเริ่มกันใหม่ที่ต้นปี 2552

ขณะที่การขยายกิจการหรือการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมต้องยอมรับเกิดขึ้นยากในช่วงนี้เพราะจากสถานการณ์การเมืองภายในและภายนอกที่รุมเร้าให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูทิศทางการแก้วิกฤตของสหรัฐฯ และรอดูสถานการณ์ในเมืองไทยว่าจะคลี่คลายได้แค่ไหนก่อนจะตัดสินใจลงทุนหรือขยายกิจเพิ่มเติม

“ตอนนี้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการขยายกิจการเพิ่มเติม หรือลงทุนใหม่เพราะทั้งจากวิกฤตภายในและวิกฤตสหรัฐยังไม่รู้ว่าจะกินเวลานานเท่าใดจึงทำให้ผู้ประกอบการยังไม่ตัดสินใจทำอะไรใหม่ๆในช่วงนี้ แค่ประครองกิจการให้ผ่านปี 2551 ก่อนจะไปว่ากันใหม่ในปีหน้า”

ทว่าที่หลายฝ่ายเกรงว่าวิกฤตทางการเมืองของไทยเริ่มเข้ามุมอับและกำลังเดินไปสู่จุดแตกหักนั้นจะทำให้วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินทรุดหนักไปกว่าเดิม รองประธานส.อ.ท.ยังเชื่อว่าจะไม่รุนแรงแบบ 14ตุลาฯ 16 หรือ 6 ตุลาฯ 19 เพราะทุกฝ่ายที่ผ่านเหตุการณ์นั้นมาย่อมทราบดีว่าผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ถึงจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงกว่าเดิมแต่เชื่อว่าคงจะไม่ถึงกับเป็นสงครามกลางเมืองแน่นอน

“ตอนนี้ผู้ประกอบการกลุ่มอาหารยังไม่มีปัญหาด้านสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ธุรกิจกลุ่มอาหารยังถือว่าปกติดี” ประธานกลุ่มอุตฯอาหารระบุ

SMEs เจ๊งระนาว สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้.!

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก “ธนิต โสรัตน์” ประธานกลุ่มบริษัทV-SERVE ซึ่งเป็นผู้ให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจร และให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศ (ส.อ.ท.) มองว่า จากที่ภาครัฐอัดเงินเข้าสู่ระบบ 1.22 ล้านล้านบาทเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจนั้น ภาคเอกชนเห็นด้วย ซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐปล่อยกู้เพิ่มอีก 5 หมื่นล้านบาท แต่เป็นห่วงว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะเข้าถึงแหล่ง เงินทุนได้ยาก เพราะการปล่อยกู้ของธนาคารมีเงื่อนไขซับซ้อน อาทิ ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วธุรกิจ SMEs ไม่มีหลักทรัพย์ที่มูลค่าสูงมากพอ จึง น่าจะผ่อนปรนให้สามารถใช้หลักประกันอื่นๆ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า สต๊อกสินค้า ใบแจ้งหนี้ที่รอเก็บเงินจากลูกค้า มาประกอบการพิจารณาปล่อยกู้ของธนาคารแทน

“ตอนนี้รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนจะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน แต่ต้องกำหนดแนวปฏิบัติด้วยเพื่อให้เป็นกลไกในการดำเนินการของธนาคาร”

นอกจากนี้ยังพบว่าในอดีตกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีวงเงิน 5,000 ล้านบาท สามารถปล่อยกู้ได้เพียง 900 ล้านบาท เนื่องจากมีปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เมื่อรัฐตั้งใจจะดูแลสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการก็ควรมีแผนนำไปสู่การปฏิบัติจริง

2.3ล้านรายรอความหวัง.!

ดังนั้นหากรัฐบาลไม่เร่งกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยกู้ออกมาจะทำให้ภาคธุรกิจขาดเม็ดเงินไปเสริมสภาพคล่องโดยเฉพาะ SMEs ที่อยู่กว่า 2.3 ล้านรายขณะนี้การส่งออกไปตลาดหลักอย่างสหรัฐ สหภาพยุโรป หรืออียู และญี่ปุ่นชะลอตัวส่วนตลาดใหม่ยังไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด

“หากยังเชื่อว่าSMEs มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ก่อนที่จะพัฒนาในด้านต่างๆ จำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องให้ SMEs ก่อน” นายธนิต ระบุ

แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับกับมุมมองของ “ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์” นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) อธิบายเพิ่มเติมว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐทำให้สถาบันการเงินในต่างประเทศเกิดความไม่แน่ในใจในเรื่องปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหม่หรือรายเก่า เพราะไม่อยากแบบรับความเสี่ยงในเรื่องหนี้เสีย แต่ในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่น้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสถาบันการเงินในประเทศก็ไม่อยากแบกรับความเสี่ยงเช่นกันทำให้ปล่อยกู้ยากขึ้น อีกทั้งระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เข้ามากำกับสถาบันการเงินของเอกชนอีกทีทำให้สถาบันการเงินยิ่งปล่อยกู้ลำบากมากยิ่งขึ้น

จี้ภาครัฐออกมาตรการอุ้มSMEs

ส่วนแนวทางแก้ไขคือใช้ธนาคารที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงการคลังเช่น ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก (เอ็กซิมแบงก์) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)เป็นต้นเข้ามาดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางอยู่รอดได้

นอกจากนี้ภาครัฐยังสามารถสนับสนุนผ่านงบประมาณปี 2552 ที่ตั้งงบประมาณขาดดุลเอาไว้ กว่า 249,000 ล้านบาทอาจจะเอาเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้หากการแก้ไขปัญหายังไม่สามารถผลักดันได้อย่างต่อเนื่อง

“ภาครัฐต้องใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กก่อน ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่น่าจะมีเงินหมุนหมุนเวียนในธุรกิจได้อยู่แล้ว”

ดร.มนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพาจากภายนอกประเทศถึง 70% และจากภายในประเทศเพียง 30% และหากการส่งออกมีปัญหาก็เท่ากับว่าประเทศไทยต้องเจอมรสุมครั้งใหญ่ อย่างไรก็ดีต้องรอดูมาตรการของสหรัฐฯที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะช่วยอุ้มเศรษฐกิจของเขาได้มากน้อยแค่ไหนแล้วจึงมาประเมินอีกครั้ง

หวั่น “นองเลือด” ธุรกิจเจ๊งทั้งระบบ

ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะขั้นนองเลือด นักวิชาการนิด้าฯมองว่าจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างแน่นอนโดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่างชาติที่จะลดฮวบทันทีที่มีเหตุการณ์รุนแรงการค้าขาย-ติดต่อต่างชาติจะชะงักทั้งหมดยิ่งภาคการส่งออกไม่สามารถขับเคลื่อนได้ แต่ยังมีปัญหาภายในมากดทับเข้าไปอีกเชื่อว่าเมื่อถึงตอนนั้นประเทศไทยจะลำบากมากที่สุด

ขณะนี้แนวทางหรือวิธีลดความขัดแย้งทางความคิดที่ดีที่สุดคือ การพูดคุยกันและการเจรจาเพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน แต่หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็ต้องทำใจ แต่อยากให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พึงระลึกไว้ว่าประเทศเป็นของเราทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเราน่าจะมีส่วนในการแก้ปัญหาร่วมกันได้

ดังนั้น 2 เดือนจากนี้ไปหลายคนบอกว่าเป็นโค้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่ปีใหม่นักธุรกิจหลายคนเคยเก็บเงินในช่วงนี้เพื่อใช้จ่ายในช่วงวันหยุดยาว แต่ปีนี้ดูเหมือนว่าแค่ประครองตัวให้พ้นจากปีนี้ไปได้โดยได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุด นั่นคือแนวทางที่นักธุรกิจหลายคนมองหา ซึ่งปีหน้าฟ้าใหม่ค่อยว่ากันใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us