Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์3 พฤศจิกายน 2551
แนะกลยุทธ์ผ่าวิกฤต 3 บิ๊กเอ็กซเรย์ธุรกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
AIS Homepage
โฮมเพจ พฤกษา เรียลเอสเตท

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
ปตท., บมจ.
พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ.




* เปิดมุมมองของ"ปตท.-เอไอเอส-พฤกษาเรียลฯ"
* ต่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์-การเมืองในปท.ระส่ำ
* ส่งผลกระทบต่อ 3 ธุรกิจชั้นนำของปท.
* "พลังงาน-อสังหาฯ-ไอที"เดินหน้าแก้โจทย์นี้อย่างไร..ตามไปดู...

แรงกระเพื่อมยังไม่หยุด ของวิกฤติสถาบันการเงินของอเมริกา ยักษ์ใหญ่ของโลก ประสานกับภาวะการเมืองในประเทศ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะสั้น-ระยะยาวให้กับธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆกันถ้วนหน้า ภาวะดังกล่าวนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายคาดการณ์ว่า ยังดำเนินต่อไปจนถึงปีหน้าอย่างยากหลีกเลี่ยง

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมตัว รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแต่เนิ่นๆ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้รวบรวม มุมมอง การวิเคราะห์ผลกระทบ และการปรับตัวอย่างมีกลยุทธ์ จาก 3 ผู้บริหารระดับซีอีโอและระดับชั้นแนวหน้าขององค์กร จาก 3 ธุรกิจตัวชี้วัดดัชนีเศรษฐกิจของไทย ประกอบด้วย ค่าย ปตท. จากธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี ค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์...และค่าย เอไอเอส จากธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม" เพื่อรับมือกับโจทย์ใหญ่ของธุรกิจที่รออยู่ในขณะนี้และปีหน้า อย่างน่าสนใจ

ปตท.-ปิโตรเคมีกระทบ

ทางด้าน บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หือ ปตท. โดยรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ "เทวินทร์ วงศ์วานิช" บอกว่า ผลกระทบต่อธุรกิจในปีนี้ มีความเกี่ยวโยง 2 ด้าน หนึ่ง- ด้านราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างต่อเนื่อง ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจาก 80 เหรียญต่อบาเรลเพิ่มขึ้นเป็น 140 เหรียญต่อบาเรล และต่อมาลดลงเหลือ 60 เหรียญต่อบาเรล สอง- ด้านวิกฤติการเงินที่เริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปและเอเชียบางส่วน

"ทั้งสองปัจจัยนี้ ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อความต้องการพลังงานลดตัว ทำให้ต้องรัดเข็มขัด ความต้องการใช้น้ำมันลดลง อีกทั้งมีการผลักดันพลังงานทดแทนมาใช้แทนน้ำมันมากขึ้นในช่วงราคาน้ำมันสูง ขณะเดียวกัน เมื่อน้ำมันราคาลดลงก็ยังส่งผลกระทบเช่นกัน ต่อธุรกิจพลังงานทดแทน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถยนต์กำลังหันไปติดตั้ง เพื่อใช้พลังงานทดแทน ก็เริ่มไม่แน่ใจว่าคุ้มค่าหรือไม่"

ไม่เพียงเท่านี้ ธุรกิจส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศก็ยังได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ผู้บริโภคอยู่ในภาวะรัดเข็มขัด ทำให้ปริมาณการนำเข้าในแต่ละประเทศเกิดการชะลอตัว

ทั้งนี้ปตท.มีธุรกิจปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ต้องส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ก็จะได้รับผลกระทบพอสมควร ส่วนธุรกิจโรงกลั่นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากความต้องการในประเทศและตลาดโลกชะลอตัวลดลง อีกทั้ง การแข่งขันจากโรงกลั่นในตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้น จะทำให้มาร์จิ้นของธุรกิจโรงกลั่นอ่อนตัวลง ซึ่งจัดว่า เป็นช่วงแห่งภาวะความท้าทายของวงจรธุรกิจโรงกลั่นที่จำต้องผ่านพ้นวิกฤติเวลานี้ไปให้ได้

"บางช่วง เราอาจได้ยินว่า ค่าการกลั่นน้ำมันสูง ก็จะมีโรงกลั่นเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่พอซัพพลายเพิ่มเข้ามาค่าการกลั่นก็ลดลง ซึ่งช่วงนี้จัดเป็นช่วงวงจรขาลงของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันหรือdown cycle ที่มาพร้อมกับวิกฤตเศรษฐกิจ ก็จะทำให้ระยะเวลาของผลกระทบนานพอสมควร อันส่งผลธุรกิจโรงกลั่นประสบปัญหาพอสมควร"

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงกลั่นเองก็มีทางออก หากมีการสำรองน้ำมันและคาดการณ์ราคาตลาดไว้ล่วงหน้าก่อน โดยเฉพาะหลังจากต้นปีที่มีราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และต่อมาลดลง ก็อาจจำเป็นต้องประเมินเป็นผลขาดทุนล่วงหน้าไว้ก่อน (มิฉะนั้นผลประกอบการบริษัท จะได้รับมากกว่าในส่วนที่เป็นปริมาณสำรอง) อันเป็นภาวะผันผวนที่ผู้ประกอบการเองต้องประเมินความเสี่ยงและความไม่แน่นอน วิธีการนี้ก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีผลกำไร

"ในส่วนการขยายตลาดไปต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นแนวรบใหม่ที่ต้องผลักดันเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งเนื่องจากประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ เพราะยังไม่มีปริมาณมากเพียงพอที่จะสำรองหรือจัดหาเป็นภาระที่บริษัทฯจะต้องมุ่งเสาะแสวงหาเพื่อเป็นปริมาณสำรองและเจ้าของร่วมในต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ประเทศไทยยังมีพลังงานสำรองใช้อยู่ แม้ว่าราคาพลังงานจะเพิ่มขึ้นไปมากเพียงไรก็ยังมีปริมาณที่ต้องนำเข้าอยู่ ซึ่งขณะนี้ไดมีการดำเนินการเริ่มผลิตไปแล้ว ได้แก่ พม่า ลาว โอมาน และที่อิหร่าน แอลจีเรีย อยู่ระหว่างการสำรวจและผลิต ขณะที่ปตท.ที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องหรือดาวน์สตรีม ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการไปประเทศต่างๆเช่นกัน"

จัดทัพ 4 กลยุทธ์ผ่าวิกฤต

ทั้งนี้ กลยุทธ์ธุรกิจของปตท. เพื่อรับมือกับวิกฤติทีเกิดขึ้นในปีหน้า บอสใหญ่ บอกว่า เนื่องจากมีบทบาท 2 ด้าน คือ 1. เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงของพลังงานในประเทศ 2. เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไร ซึ่งภายใต้กรอบดังกล่าวนี้ ปตท.ได้วางกลยุทธ์ไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. จัดหาและสำรองพลังงานพื้นฐาน อาทิ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ให้เพียงพอในราคาเป็นธรรม 2.สร้างความเข้มแข็งของธุรกิจในเครือให้ผ่านพ้นวิกฤติขาลงไปให้ได้ 3.ขยายธุรกิจทั้งไปในประเทศและต่างประเทศ 4.ส่งเสริมพลังงานทางเลือกให้กับประชาชน

สำหรับการจัดหาพลังงาน เพื่อสำรองใช้อย่างเพียงพอในระยะยาวนั้น เขาบอกว่า สำหรับน้ำมัน หากมีงบประมาณก็สามารถจัดซื้อได้ แต่สำหรับก๊าซธรรมชาติจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดหาและเตรียมล่วงหน้า เพราะมีข้อจำกัดในการจัดหาและจัดส่ง ทั้งนี้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ปัจจุบันมาจากอ่าวไทยอีกทั้งไม่สามารถซื้อหาในตลาดนเหมือนกับน้ำมันได้ทุกวัน

โดยล่าสุดได้เริ่มดำเนินการมองหาแหล่งซัพพลายก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้น กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซียในพื้นที่คาบเกี่ยวกับไทย และพม่า ซึ่งมีก๊าซธรรมชาติสำรองที่แหล่งเมาะตะมะ โดยมีบริษัทปตท.สผ.เข้าไปทำสำรวจเองด้วย ซึ่งคาดว่าก๊าซฯจากแหล่งที่ปตท.สผ.สำรวจได้จะผลิตออกมาใช้ได้ ภายในระยะเวลา 3.5 ปี อย่างไรก็ตามก๊าซธรรมชาตินำเข้าดังกล่าวจะมีราคาสูงขึ้นกว่าก๊าซฯที่มาจากอ่าวไทย

อย่างไรก็ตาม สำหรับราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย แนวโน้มอาจมีการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะราคาในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศอื่นๆมีสภาพเสถียรมากกว่ามาก โดยปัจจุบันราคาก๊าซธรรมชาติในอเมริกา ญีปุ่นก็ปรับตัวและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม6เหรียญมาเป็น 13 เหรียญ ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 เหรียญ

"สิ่งที่ต้องเตรียมตัวและทำใจ คือ อนาคตเราต้องพึ่งพานำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ราคาเฉลี่ยของก๊าซฯจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต่อไปค่าไฟฟ้าอาจต้องปรับราคาสูงขึ้นและค่าพลังงานพื้นฐานอื่นๆ อาทิ แอลพีจี เอ็นจีวี มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย อันทำให้ค่าพลังงานปรับตัวขึ้นจากเดิมที่ผ่านมาราคาถูกกว่าน้ำมัน 2 เท่าอาจเหลือถูกกว่าประมาณครึ่งเดียวหรือกว่า 1 เท่าเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามราคาก็ยังถูกกว่าและช่องทางลดลงกว่าเดิม"

มุ่ง ควบรวม-ขยายตปท.

ในส่วนการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจในเครือ โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมี และพลาสติก บริษัทได้กำหนดแนวทางหลัก คือ การควบรวมกิจการ ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันมีธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้หลายแห่งที่เปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้าถือหุ้นเพิ่มทุน โดยล่าสุดจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ ชื่อ PTTAR ทำให้บริษัทนี้เข้มแข็งสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ระดับหนึ่ง และมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทั้งนี้เมื่อจำต้องผ่านช่วงวิกฤติขาลงก็อาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็สามารถอยู่รอดในธุรกิจได้

นอกจากนี้ ในส่วนบริษัทPtt Chemical ก็ได้มีการควบรวมจาก 2 บริษัท คือ บริษัท NPC กับ NOC ทำให้บริษัทมีขนาดใหญ่และเข้มแข็งขึ้น อันเป็นการผนึกกำลังให้ลดลง เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ขณะที่ผลกำไรอาจได้ไม่สูงนักก็ตาม

ทั้งนี้ในส่วนการขยายการลงทุนเน้นมุ่งไปต่างประเทศ อาทิ ประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีปริมาณพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาก ก็จะมีการดำเนินการหาและปักหลักลงทุนในแถบนี้ในระยะยาวมากขึ้น เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน และเป็นการเสาะแสวงหาปริมาณสำรองเพิ่มเติ นำรายได้เข้ามาในประเทศมากขึ้น

"จากภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาขณะนี้ ภาคการเงินอยู่ในภาวะตึงตัวทั้งในปีนี้และปีหน้า ทำให้เป็นไปได้ว่า จะมีธุรกิจที่เกี่ยวพันกับปตท.ประสบปัญหาธุรกิจ และเป็นโอกาสให้ปตท.เข้าไปซื้อธุรกิจ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นอีกทิศทางหนึ่งที่จะช่วยให้เติบโตได้ โดยจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพราะการจัดหาเงินในช่วงนี้ต้องรอบคอบ"

สำหรับด้านพลังงานทางเลือกให้ประชาชน เนื่องจากไม่แน่นอนว่า ราคาพลังงานจะผันผวนไปอย่างเช่นไร แต่สิ่งที่ชัดเจน คือ การจัดหาทางเลือกให้ประชาชนมากขึ้น โดยมุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการที่ยังไม่พร้อมในปัจจุบัน สำหรับสถานีเอ็นจีวี ก็จำเป็นต้องขยายต่อไป และเครือข่ายจัดส่งก๊าซเอ็นจีวีไปยังสถานีเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงตัวถังก๊าซ และหัวจ่ายให้สามารถทนทานต่อการใช้งานสูงได้ โดยปตท.ได้ทยอยปรับอย่างต่อเนื่อง

พฤกษาเรียลเอสเตท วิกฤติผู้ซื้อบ้านชะลอตัว

ขณะที่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" วิเคราะห์ว่า จากวิกฤติการเงินในสหรัฐและการเมืองในประเทศ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหริมทรัพย์ในปีนี้ของบริษัทที่กำหนดตั้งเป้าหมายไว้ 2 หมื่นล้าน และรายได้กว่า 1.4 พันล้าน ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้โดยภาพรวมแล้ว ธุรกิจที่อยู่อาศัยก็ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ สำหรับตลาดบ้าน ได้รับผลกระทบหลัก คือ การชะลอตัดสินใจของผู้ซื้อ ซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเองและการเมืองในประเทศ รวมถึงการส่งออก คาดการณ์กันว่า ในปีหน้าที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง

"เทรนด์สำหรับผู้ซื้อบ้านในปีหน้า ดาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวลง ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัว กับภาวะดังกล่าว คือ จะทำอย่างไรให้บ้านถูกใจลูกค้า การบริหารจัดการที่จะต้องให้เกิดผลยอดเยี่ยมในใจลูกค้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือตลาดระดับไหน ก็จะเป็นตัวแก้โจทย์สำคัญในภาวะที่ตลาดผู้ซื้อชะลอตัวลง เพื่อพยุงธุรกิจที่กำลังชะลอตัวให้มีลูกค้าเข้ามา" บอสใหญ่ค่ายพฤกษา แนะและบอกต่อไปว่า

ดังนั้น ควรต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการซัพพลายเชน (supply chain management) เพื่อให้สอดรับกับมาร์เก็ตเซ็กเมนต์แต่ละกลุ่ม ซึ่งก็เป็นแนวทางแก้ไขโจทย์วิกฤติในปีหน้าอีกตัวหนึ่ง

"การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องเน้นเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพื่อทำให้ลูกค้าอยากจะซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ในมาร์เก็ตเซ็กเม้นต์ของบริษัทปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ บน กลาง และล่าง โดยทั้ง 3 ตลาด โปรดักส์แต่ละตัว เช่น บ้านทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว ก็มีทั้ง 3 ตลาด หรืออาจเรียกรวมกันว่า เป็น 3 ช่องทาง ก็จะมีการสร้างผลผลิต หรือ Productivities ให้เกิดขึ้นอีกด้วย เพื่อให้ต้นทุนลดลง อันจะสามารถไปตอบสนองกับโปรดักส์ให้มีราคาตามที่เหมาะกับของผู้บริโภค "

ทั้งสิ่งกระตุ้นสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ซื้อมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เขาบอกว่า หัวใจหลักของธุรกิจบ้าน ได้แก่ 1. ทำเลที่สะดวก 2. ดีไซน์ที่ตอบรับกลุ่มเป้าหมาย 3. ราคาที่สอดรับกำลังซื้อ

สำหรับบ้านหลังแรก โดยเฉพาะบ้านราคาระดับกลางลงมา ไม่ว่าจะเป็นประเภท ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว หรือคอนโดมีเนียม เป็นโปรดักส์ที่ไปได้ดี เพราะมีอัตราชะลอซื้อน้อยกว่า กลุ่มบ้านหลังที่สองที่มีราคาสูงประมาณ 7 ล้านบาทขึ้นไป ที่ต้องการขยายทำเลและปรับสภาพความเป็นอยู่เดิมให้ดีขึ้น

ประเมินแนวโน้ม-สู้ศึกตลาดปี 52

สำหรับแผนการลงทุนในปีหน้า บอสใหญ่บริษัท ในส่วนธุรกิจของบริษัทยังมีโอกาสขยายตัวในบางส่วนโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผน โดยคำนึงปัจจัยหลักในการพิจารณาดังนี้ 1. แนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจ ขนาดตลาดคาดว่ามีแนวโน้มลดลง 2. แนวโน้มการปล่อยเงินกู้สินเชื่อรายย่อยของธนาคารพาณิชย์ที่ปัจจุบันค่อนข้างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทประมาณ 15-30 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ผ่านการกู้เงินของธนาคารพาณิชย์ไปสู่ขั้นตอนโอนบ้านของบริษัทได้ คาดว่าปีหน้าคงไม่แย่ไปกว่านี้

เขาบอกว่า สำหรับสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกรุงเทพ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้ามีจำนวน 4.5 หมื่นหน่วยในปีนี้ก็มีปริมาณใกล้เคียงกัน อันนี้เนื่องมาจากมาตรการภาษีดังกล่าวนั่นเอง ทั้งนี้มาตราการดังกล่าวกำหนดสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีหน้า คาดว่า ถ้าหากรัฐบาลจะดำเนินการต่อเนื่องไปอีกก็จะสามารถช่วยเหลือธุรกิจให้ดำเนินต่อเนื่องไปได้อีกระยะหนึ่ง

"ปีนี้ รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือที่อยู่อาศัยทั้งในด้านลดหย่อนค่าธรรมเนียมโอน ค่าจำนอง และภาษีธุรุรกิจเฉพาะ ซึ่งได้รับการตอบรับอันดีจากลูกค้าปัจจัยดังกล่าวนี้ ถือว่ามีส่วนช่วยรักษาสภาพธุรกิจในยังคงดำเนินการอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤต มิฉะนั้นอาจแย่กว่าเดิมมาก"

นอกจากนี้ มาตรการบีโอไอที่ดำเนินต่อเนื่องมานานนับปีของภาครัฐ ที่ส่งเสริมการลงทุนบ้าน 6 แสนบาทน่าจะเพิ่มจำนวนเป็น 1 ล้านบาท เนื่องจากระยะเวลากว่า 16 ปีราคาวัสดุก่อสร้างได้มีอัตราเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างบ้านสูงขึ้น จึงจะสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดและช่วยส่งเสริมการลงทุนได้ดี

" ในอัตราส่งเสริมลงทุน 6 แสนบาท มีส่วนช่วยกำลังซื้อของผู้ซื้อให้ถูกลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันถ้าหากเพิ่มเป็นจำนวน 1 ล้านก็จะทำให้อัตราดังกล่าวเพิ่มเป็นเท่าตัว อันช่วยให้กลุ่มกำลังซื้อมีศักยภาพดีขึ้น อีกทั้ง คาดว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ของรัฐคงเข้ามาเป็นผู้นำในตลาดในการปล่อยกู้ลูกค้าส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น คาดว่าจะช่วยพยุงตลาดได้อีกทางหนึ่งในปีหน้าได้"

AIS ธุรกิจเด่น-ได้อานิสงค์ คาดอนาคตแรงกระทบส่งผล

ทางด้านค่ายเอไอเอส โดยประธานกรรมการบริษัท บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น และซีอีโอ บริษัท แอดว้าน อินโฟเซอร์วิส " สมประสงค์ บุญยะชัย" ให้ข้อสรุปว่า สำหรับธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมของบริษัท ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันนี้ จัดว่า ยังไม่ได้รับกระทบโดยตรงนัก ทั้งนี้ เพราะบริษัทสามารถรักษาระดับยอดขายไว้ได้ และคาดว่าเป็นเพราะธุรกิจเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบในชั้นที่ 2 หรือ (Substitute Products)

"เป็นไปได้ว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นปี อาจทำให้คนชะลอการใช้รถหรือเปลี่ยนทางเลือกหันมาสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์แทน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้บริษัทดีใจหรือลำพองตัว เพราะถ้าหากเศรษฐกิจชะลอตัว ยังสามารถรักษาระดับธุรกิจไปได้

แต่ในอนาคตต่อไปก็อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเติบโต เนื่องจากบริษัทเล็กๆปิดตัวไป หรือไม่มีบริษัทใหม่เกิดขึ้น หรือ บริษัทใหญ่ไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้ปริมาณการใช้ลดลง หรือ กระทั่งลูกค้ารายบุคคลก็อาจชะลอการซื้อโทรศัพท์เครื่องต่อไปมากขึ้น

"จากตัวเลขผลประกอบการบริษัทที่ประเมินตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ แม้ว่ายังไม่ได้รับผลกระทบนัก เพราะยังสามารถรักษาระดับไว้ได้ดี แต่ในปีหน้าก็ยังอดห่วงไม่ได้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากวิเคราะห์จากปัจจัยต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี่ และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงการแข่งขันขนาดใหญ่ในธุรกิจสื่อสาร ซึ่งเป็นธรรมชาติธุรกิจทึ่ต้องลงทุนขนาดใหญ่

ซีอีโอจากค่าย AIS ให้ทัศนะต่อไปว่า ทั้งนี้เทคโนโลยี่ ถือว่ามีส่วนสำคัญมากในการแข่งขัน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่เดินตามไม่ทันเทคโนโลยี่อาจทำให้ไปไม่รอดในธุรกิจในที่สุด ส่งผลให้การลงทุนจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะการลงทุนเทคโนโลยี่มากก็มีความเสี่ยง ขณะเดียวกันหากลงทุนช้าก็อาจไม่ทันการณ์ ส่งผลให้การแสวงหาจุดพอดีของการลงทุนจึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้บริหารและบริษัท

"ธุรกิจการสื่อสารในอนาคต จะขยายตัวทั้งในมิติเทคโนโลยี่ และผู้บริโภค สำหรับเทคโนโลยี่ 3 จีจะต้องเกิดขึ้น หากไม่มีอาจเกิดผลเสียกับประเทศ เพราะต้นทุนต่อหน่วยธุรกิจหรือeconomy of scale ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทย แต่มาจากระดับโลก เพราะปัจจุบันบรรดาผู้ผลิตต่างๆเหล่านี้เคลื่อนตัวไปไปสู่เทคโนโลยี่ 3 จีไปแล้ว ดังนั้น หากเมืองไทยไม่มี ก็จะทำให้ไม่มี 2 จี อาทิ ระบบ อุปกรณ์ใช้ได้เช่นกัน มันจะเหมือนการเปลี่ยนผ่านยุคอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล ทีเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่สามารถหาอุปกรณ์มารองรับหรือเชื่อมต่อเหมือนเดิมได้"

ปัจจุบัน อัตราโทรศัพท์จดทะเบียนของประเทศไทยมีจำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์หรือ คิดเป็น 50 ล้านเลขหมาย ทั้งนี้ในส่วนกลยุทธ์ธุรกิจในปีหน้า บริษัท กำหนดมุ่งเน้นการขยายเครือข่าย และบริการเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนต่อเนื่องในเทคโนโลยี่ใหม่ 3 G อีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us