Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"สงบ พรรณรักษา ถึงคราวที่จะได้สงบ?"             
 


   
search resources

ไอทีเอฟ, บงล
สงบ พรรณรักษา
Financing




สงบเป็นนักเรียนทุนรุ่นแรกของธนาคารกสิกรไทย หลังจากที่กลับจากสหรัฐฯ แล้วก็ทำงานที่กสิกรจนถึงปี 2522 ในตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็มาทำงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีอยุธยาหรือเอ๊ตโก้ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ปี 2526 เกิดวิกฤติการณ์บริษัทเงินทุน หลาย ๆ แห่งประสบปัญหาในกี่ดำเนินงานจนถูกกระทรวงการคลังควบคุม สงบได้รับการชักชวนจาก ธานี บรมรัตนธน ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ. ที. เอฟ. ในขณะนั้น ให้เข้าไปเป็นผู้บริหารในปี 2527 ซึ่งสงบตกลงพร้อมกับมีการทำสัญญาจ้างงานขึ้น

ตามสัญญา สงบจะได้รับเงินเดือนเดือนละ 200,000 บาท รวมทั้งสวัสดิการอื่น ๆ ทุก ๆ ปี จะต้องขึ้นเงินเดือนให้ 10% และเมื่อบริษัทมีกำไรจะต้องแบ่งให้สงบ 5-8% ของกำไรสุทธิ นอกจากนั้น อำนาจสูงสุดในการบริหารเป็นของสงบแต่เพียงผู้เดียว อายุของการจ้างยาวนานถึง 12 ปี ซึ่งหมายความว่าถ้าบริษัทเลิกจ้างก่อนครบ 12 ปี ก็จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทางธานีเองก็หวังในชื่อเสียงและความสามารถของสงบที่จะกอบกู้ฐานะของบริษัท ส่วนสงบเองก็ต้องการหลักประกันและค่าตอบแทนที่คุ้มกับการต้องออกจากเอ๊ตโก้ที่มั่นคงอยู่แล้วไปอยู่ ไอ.ที.เอฟ. ที่มีอาการย่ำแย่

สงบเคยบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า งานที่ ไอ. ที. เอฟ. หนักกว่าที่เอ๊ตโก้ 20-30 เท่า โดยเฉพาะในปี 2528 ที่ทางการฮ่องกงเข้าควบคุมธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์ โอเวอร์ซีทรัสต์มีหุ้นอยู่ใน ไอ. ที. เอฟ. 9.9% ซึ่งจุดนี้สงบได้หยิบยกเอามาโฆษณาอยู่ตลอดเวลา เมื่อโอเวอร์ซีทรัสต์เกิดปัญหา ภาพของบริษัทเงินทุนที่ล้มระเนระนาดในปี 2526 ก็ทำท่าว่าจะเกิดขึ้นกับ ไอ.ที.เอฟ. สงบต้องติดต่อให้ทางแบงก์ชาติออกมาแถลงว่า การล้มของโอเวอร์ซีทรัสต์ไม่กระทบกระเทือนต่อ ไอ. ที. เอฟ. เพราะถือหุ้นอยู่เพียง 9% เท่านั้น ความเป็นสงบ พรรณรักษา ก็คงเป็นส่วนหนึ่งที่สกัดความแตกตื่นของผู้ฝากเงินกับ ไอ. ที. เอฟ. ไว้ได้

แต่การล้มของโอเวอร์ซีทรัสต์ ก็ทำให้สงบมีปัญหาในการเพิ่มทุนตามแผนการ ไอ. ที. เอฟ. ต้องลดทุนเพื่อตัดยอดขาดทุนสะสมและหนี้สูญ แล้วทำการเพิ่มทุนใหม่เพื่อความมั่นคงของบริษัทและเป็นฐานในการรายได้ ไอ. ที. เอฟ. ต้องการเงินทุนเพิ่มอีก 300 ล้านบาท ซึ่งโอเวอร์ซีทรัสต์คือเป้าหมายของสงบในการเพิ่มทุนนี้ แต่ทางผู้บริหารชุดใหม่ซึ่งเป็นคนของทางฮ่องกงไม่เห็นด้วย สงบจึงต้องวิ่งเต้นอย่างเต็มที่ให้ทางโอเวอร์ซีทรัสต์เปลี่ยนใจ โดยขอให้ทางแบงก์ชาติช่วยอีกแรงหนึ่ง

สงบทำได้สำเร็จ กลางปี 2529 โอเวอร์ซีทรัสต์ ตกลงให้เงิน 150 ล้านบาท สำหรับการเพิ่มทุนของ ไอ. ที. เอฟ. ที่เหลืออีก 150 ล้านบาทมาจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินของแบงก์ชาติ สงบทำการลดทุนเดิม 299 ล้านเหลือ 11.45 ล้านบาท แล้วเพิ่มทุนใหม่อีก 300 ล้านเป็นทุนจดทะเบียนรวม 311.45 ล้านบาท มากเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน

การเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้แบงก์ชาติในนามกองทุนฟื้นฟูฯ และโอเวอร์ซีทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ไอ. ที. เอฟ. รวมกันประมาณ 96% ทางแบงก์ชาติส่งตัวแทนเข้ามานั่งในคณะกรรมการบริษัท 2 คนและเชิญจากภาคเอกชนอีก 3 คน

ความขัดแย้งระหว่างสงบในฐานะผู้บริหาร กับคนของแบงก์ชาติและคนที่แบงก์ชาติเชิญมาในฐานะกรรมการบริษัทเริ่มก่อตัวขึ้นและถึงจุดแตกหักในอีก 9 เดือนต่อมา

ความไม่ลงรอยระหว่างสงบกับคณะกรรมการบริษัทมีเหตุมาจากแนวความคิดที่แตกต่างกันในการบริหารงาน ทางกรรมการต้องการให้ก้าวไปอย่างช้า ๆ โดยปรับปรุงบริษัทให้เข้มแข็ง ลดค่าใช้จ่ายลง ส่วนสงบต้องการขยายธุรกิจออกไปเพื่อหารายได้เข้าบริษัท ทางกรรมการหาว่าสงบไม่ยอมรับฟัง ทางสงบก็ถือว่าตัวเองมีอำนาจเต็มที่ตามสัญญา

เมื่อคุยกันไม่รู้เรื่อง สัญญาการว่าจ้างสงบก็ถูกคณะกรรมการหยิบยกขึ้นมา โดยเรียกร้องให้ทางแบงก์ชาติทำการแก้ไขเพื่อลดทอนอำนาจของสงบ และแก้เงื่อนไข แต่ก็ไม่มีท่าทีที่ชัดเจนจากผู้บริหารแบงก์ชาติทั้งตัวสงบเองก็ไม่ยอมแก้สัญญา กรรมการที่แบงก์ชาติเชิญมาสามคนขอลาออกเพราะเห็นว่าคงทำงานร่วมกันไม่ได้ สงบได้รับข้อเสนอให้ลาออกโดยจะได้รับค่าชดเชย 9 ล้านบาท สงบก็ปฏิเสธอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ การปะทะขั้นแตกหักก็เลี่ยงไม่ได้

วันที่ 30 เมษายน 2530 เป็นวันที่สงบต้องปิดฉากความเป็นมือปืนรับจ้างของตนเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญของ ไอ. ที. เอฟ. โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 รายคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยในนามกองทุนฟื้นฟูและธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์ของฮ่องกง มีมติ "เลิกจ้าง" สงบด้วยเหตุผลว่าเกิดความขัดแย้งรุนแรงกับกรรมการบริษัท

โอเวอร์ซีทรัสต์นั้นไม่พอใจสงบอยู่ก่อนเพราะขอแก้เงื่อนไขในการลงทุนแต่สงบไม่ยอม

ในตอนแรกสงบมีทีท่าว่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญา ซึ่งถ้าชนะสงบจะได้เงินประมาณ 25 ล้านบาท แต่ตอนนี้ยังไม่มีการฟ้องร้องแต่อย่างใด ตัวสงบเองหลังออกจาก ไอ. ที. เอฟ. แล้ว ก็ไปตั้งบริษัท สงบและวรรณาเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ และเป็นอาจารย์พิเศษในโครงการปริญญาโททางการบริหารธุรกิจอยู่หลายแห่ง ตั้งแต่เดือนมกราคมนี้ก็จะเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจของนิด้า ในตำแหน่งอาจารย์ซี 7 ชั้นพิเศษ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us