Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 พฤศจิกายน 2551
ศก.ไทยยังไม่พ้นวิกฤต แนะกระจายส่งออก-คลอดมาตรการดึงทุนนอก             
 


   
search resources

บรรยง พงษ์พานิช
Economics
Investment




บล.ภัทร ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าโดดเด่น แต่มีจุดอ่อนการส่งออกชะลอตัวจากได้รับกระทบเศรษฐกิจโลกถดคอย-ปัญหาความแตกแยกของคนในประเทศ “ บรรยง” ชี้จุดต่ำสุดตลาดหุ้นไทย 350 จุด แจงเม็ดเงินต่างชาติเหลือเงินเทรดหุ้นไทย 9 แสนล้านบาท ไม่ใช่ 9 หมื่นล้านบาท พร้อมไม่เห็นด้วยตั้งกองทุนพยุงหุ้นควรปล่อยตามกลไกตลาด ด้านประธานสภาอุตสาหกรรม มองปีหน้าอุตสากรรมไทยย่ำแย่หลังคำสั่งซื้อเริ่มลดลงแล้ว พร้อมแนะเน้นกระจายการส่งออก และเจาะลูกค้าของจีนที่กำลังประสบปัญหา ด้านบล.ทิสโก้ แนะรัฐบาลเร่งดำเนินนโยบาย สร้างความมั่นใจต่างชาติลงทุน

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA ในฐานะ วตท. รุ่นที่ 5 กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “มองวิกฤต ... เพื่อโอกาส?” ซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ว่า วิกฤตสถาบันการเงินโลกที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ที่จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปี 2552 ขณะที่ประเทศในแถบเอเชียอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีสถานการณ์เงินแข็งแกร่ง ทุนสำรองสูง และภาระหนี้อยู่ในระดับต่ำ

“ผมเชื่อว่าวิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้ระบบทุนโลกาภิวัฒน์อวสาน ระบบการเงินโลกไม่ล่มสลายและจะไม่รุนแรงเหมือนกับดีเปรสชั่น เพราะดูจากมาตรการต่างๆ ที่ออกมา แม้ช่วงแรกจะช่วยอะไรไม่ค่อยได้ แต่สักระยะจะมีความเข้าใจปัญหาและกลไกลต่างๆ ความผันผวนจะเกิดขึ้นระยะหนึ่งแล้วจะค่อยมีเสถียรภาพมากขึ้น” นายบรรยง กล่าว

สำหรับประเทศไทยถือว่ามีเศรษฐกิจที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งจากมีทุนสำรองของประเทศที่สูง มีหนี้ต่างประเทศเพียง 20% ของทุนสำรองของประเทศ ขณะที่ประเทศอื่นมีสัดส่วนที่สูง เช่น เกาหลีมีหนี้ต่างประเทศถึง 90% และหนี้สาธารณะเพียง 30% ขณะที่สหรัฐฯ มี 70% ญี่ปุ่น 130% ของทุนสำรองประเทศ มีหนี้ภาคครัวเรือน 55% ซึ่งมีศักยภาพในการกู้ได้อีกจำนวนมาก และเงินเฟ้อในปีหน้าจะลดลงเหลือ 3% สินค้าโภคภัณฑ์ลดลงทำให้ไทยนำเข้าน้ำมันลดลง แต่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีจุดอ่อนในเรื่องการพึ่งพาการส่งออกที่มีสัดส่วนสูงถึง 70% จากในปี 2539 ที่มีเพียง 32% ซึ่งอาจจะทำให้กระทบต่ออัตรการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ ประกอบกับไทยมีการลงทุนต่ำมากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาเพียง 20-24% ของจีดีพี จากก่อนวิกฤตนั้นมีการลงทุนถึง 32% ของจีดีพี ซึ่งบล.ภัทร คาดว่าปีหน้า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโต 3.3% ซึ่งถือว่าเป็นการคาดการณ์ที่ต่ำที่สุด

“ปัญหาใหญ่ที่สุดของไทยไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องความแตกแยกของประชาชนในสังคม ซึ่งหากไม่สามารถที่จะหาทางประนีประนอม จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยให้ได้รับผลกระทบ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่จะให้เกิดการประนีประนอมเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจไทยเดินต่อไปได้”

นายบรรยง กล่าวว่า ในช่วงเดือนตุลาคมถือว่าตลาดการเงินโลกผันผวนรุนแรงมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่ 14 จากตั้งแต่มีแต่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ซึ่งคำถามต่อมาทำไมถึงเดือนนี้ผลกระทบรุนแรงมากจากที่เหตุการณ์ผ่านมาถึง14 เดือนแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงมากกว่า 15%

สำหรับเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม คงเหลืออยู่ในตลาดหุ้นไทยประมาณ 9 แสนล้านบาท ไม่ใช่ 9 หมื่นล้านบาท เหมือนกับที่ผู้ใหญ่ในรัฐบาลบอก โดยพอร์ตดังกล่าวยังไม่รวมกับเม็ดเงินต่างชาติที่ถือหุ้นเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และนักลงทุนต่างชาติยังคงมีแนวโน้มขายหุ้นต่อไป แต่จะมีสัดส่วนที่ลดลง ซึ่งจากแรงขายของต่างชาติตั้งแต่ต้นปีนั้นทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดลงเหลือ 3 ล้านล้านบาท จากต้นปีที่ 6.6 ล้านล้านบาท เกิดจากโครงสร้างตลาดทุนไทยมีการพึ่งพาเม็ดเงินจากต่างชาติมาถึง 15 ปี

“ผมไม่เห็นด้วยที่จะมีการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น เพราะการที่หุ้นลงเกิดจากต่างชาติจำเป็นต้องขายหุ้นออกโดยไม่คำนึงถึงราคาขาย หากตั้งกองทุนดังกล่าวจะทำให้ต่างชาติมีการขายได้สะดวกมากขึ้น แม้ตั้งกองทุนมา 1 หมื่นล้านบาท ก็ไม่สามารถรองรับแรงขายที่มีจำนวนมากได้ จึงควรที่จะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกและเมื่อถึงจุดต่ำสุดราคาก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเอง ซึ่งผมมองว่าจุดต่ำสุดของดัชนีหุ้นไทยน่าจะอยู่ที่ 350 จุดเท่านั้น” นายบรรยง กล่าว

อุตสาหกรรมไทยปี 52 ย่ำแย่หนัก

นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะวตท.รุ่นที่ 7 กล่าวว่า ปี 52 ภาคอุตสาหกรรมไทยจะเข้าสู่ภาวะยากลำบากทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติกที่จะได้รับผลกระทบมาก จากยอดคำสั่งซื้อสินค้าลดลงต่ำกว่าปี 2551 จากประเทศไทยยังมีตลาดหลักในสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น สัดส่วนสูงถึง 30-40%ของการส่งออกทั้งหมด แต่ธุรกิจขนาดเล็กถือว่าน่าเป็นห่วงมากจากมีเงินทุนที่ต่ำ กู้เงินยาก ซึ่งจากการหารือกับผู้ประกอบการเซรามิกในจังหวัดลำปาง พบยอดคำสั่งซื้อลดลงแล้วกว่า 30%

“ปีหน้าผู้ส่งออกในปีหน้าจะต้องมีการเตรียมตัวรับมือที่ดี โดยควรหันส่งออกสินค้าในอาเซียนมากขึ้น จากปัจจุบันมีสัดส่วนส่งออกเพียง 20% เท่านั้น รวมถึงกรณีที่จีนได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพสินค้านั้นไทยควรที่จะมีการส่งออกไปประเทศกลุ่มลูกค้าของจีนแทน ในสินค้าอาหาร ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว มองว่าไม่ควรพึ่งพาภาครัฐมากเกินไป แต่ควรมีเป้าหมายเชิงรุกมากขึ้น และควรใช้ประโยชน์จากการทำ FTA ที่ทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ”

สุรพลฟู้ดส์แนะกระจายส่งออก

นายสุรพล ว่องวัฒนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SSF ในฐานะ วตท.รุ่นที่ 6 กล่าวว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ดังนั้นผู้ส่งออกจะต้องกระจายการส่งออกไปประเทศต่างๆ ซึ่งบริษัทมีการส่งออกกระจายไป 24 ประเทศทั่วโลก และควรที่จะกระจายการขายสินค้าไปทุกสกุลเงินไม่ควรผูกติดกับสกุลใดสกุลหนึ่ง

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรวางแผนการดำเนินงานระยะยาวมีควรคำนึงความยั่งยืนของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้หรือกำไรในขณะนี้ และที่สำคัญทุกบริษัทจะต้องรักษากระแสเงินสดของบริษัทไว้ให้มากที่สุดจะลงทุนจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น

สำหรับรัฐบาล ควรสร้างความชัดเจนในการดำเนินนโยบายการเงินทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึง ควรสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว เนื่องจากปัจจุบันแรงงานไทยมีจำนวนในตลาดน้อยลง และเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรเปลี่ยนบทบาท มาเป็นผู้นำพานักธุรกิจไปประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยมากขึ้น

จี้รัฐอุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ด้านนายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะวตท.รุ่นที่ 4 กล่าวว่า ระบบการเงินของประเทศไม่มีปัญหาเพราะไม่ต้องตั้งสำรองจากการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ถือว่าระบบการเงินมีผลกระทบน้อย ต่างจากวิกฤตทางการเงินเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่มีทุนเนื่องจากไม่ทราบถึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อย่างแท้จริง ประกอบกับภาคการลงทุนที่แท้จริงประสบกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้น สาเหตุจากการกู้ยืมที่เกินตัวทำให้กระทบต่อสภาพคล่องของโลกและส่งผลกระทบต่อไทย

ทั้งนี้ ภาครัฐควรหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านจุลภาคมากกว่า คือ วงเงินสินเชื่อที่ให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เสนอทางการให้เปลี่ยนมุมมองจากการรวมบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ให้เปลี่ยนมาเป็นธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแทน เช่น การอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (Soft Loan) ทำให้ภาครัฐไม่ต้องเข้ามาพยุงหรือช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ SME Bank แทน รวมถึงด้านการส่งออกควรที่มองวปัยหาที่จะเกิดระยะไกล ไม่ควรกังวลว่าผู้สั่งสินค้าจะไม่มีเงินจ่ายให้รัฐค้ำประกันสินค้าเพื่อให้ผู้ส่งออกไม่ได้รับความเสียหาย

ทิสโก้ แนะรัฐออกนโยบายดึงทุนต่างชาติ

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด ในฐานะวตท.รุ่นที่ 4 กล่าวว่า การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในขณะนี้ขายสุทธิกว่า 1.4 แสนล้านบาทแล้ว ซึ่งการขายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการขายของกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) เป็นส่วนใหญ่ หากเมื่อเทียบกันแล้วนักลงทุนต่างชาติก็ไม่ได้ขายเพียงอย่างเดียวแต่ก็มีแรงซื้อเข้ามาด้วย โดยแรงซื้อที่มีเข้ามาประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับแรงขายแล้วมีแรงขายมากกว่า ดังนั้นควรหาวิธีที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนหรือซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การที่นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้ามาลงทุนไม่ได้มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาแต่มีความกังวลกับนโยบายของภาครัฐที่ไม่มีความแน่ชัดมากกว่า เพราะฉะนั้นจึงต้องหาวิธีเพิ่มนักลงทุน และภาครัฐควรมีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อการสื่อสารข้อมูลกับนักลงุทนและระหว่างหน่วยงาน

“นักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นออกมาส่วนใหญ่เป็นเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งขณะนี้เม็ดเงินที่มีอยู่ในตลาด คือ 9 แสนล้านบาท เพราะหากคิดจากสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันนี้ประมาณ 30% ของมูลค่าตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคป ดังนั้นเม็ดเงินที่ลงทุนในหุ้นจึงมีกว่า 1 ล้านล้านบาทบาท แต่เมื่อไม่นับส่วนที่เป็นพันธมิตรทางการลงทุน ก็ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนที่อยู่ในตลาด คือ 9 แสนล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติที่กลับเข้ามาซื้อเป็นนักลงทุนระยะยาว” นายไพบูลย์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us