เรื่องการแก้ไขปัญหาระบบการเงินของไทยด้วยการให้มีสถาบันการเงินต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
เป็นประเด็นที่ผมได้เคยพูดถึงและแสดงความเห็นในทางที่เห็นด้วยมาหลายปีแล้วตั้งแต่สมัยที่ผมอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ผมเห็นด้วยก็เพราะว่าวิธีการทำธุรกิจการเงินในบ้านเรานี่ ถ้าไม่ใช่เป็นของครอบครัวแท้
ๆ ก็เป็นของกลุ่มหรือพรรคพวก ปัญหาที่เกิดขึ้นแรก ๆ ในสถาบันการเงินไทยก็คือการที่ธนาคารทั้งหลายพยายามแย่งโครงการจากลูกค้า
ถ้าไม่แย่งก็ขอไปมีส่วนร่วมถือหุ้น ก็เป็นการได้กำไรโดยไม่ต้องประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์โดยตรง
ผมเห็นปัญหานี้ตลอดมาสมัยที่ทำอยู่ที่แบงก์ชาติ ผมจึงมีความต้องการให้ผู้ที่ทำธุรกิจเรื่องการเงินก็ทำเรื่องการเงินโดยตรง
ไม่ควรจะให้เกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็นการถือหุ้นหรือให้มีการผ่านเงินไปยังครอบครัวตัวเอง
ผมคิดว่าประเทศไหน ๆ ก็ตามปัญหาของระบบการเงินมักจะก่อกำเนิดมาจากจุดอ่อนเหล่านี้ทั้งนั้น
ทางออกนอกเหนือไปจากเรื่องการใช้กฎหมายแล้ว ก็คือการพยายามบีบบังคับให้คนที่ทำอย่างนี้อยู่ไม่ได้
คือพวกที่ทำด้วยลักษณะของครอบครัว พรรคพวกเพื่อนฝูงและเบียดบังลูกค้า ให้คนพวกนี้อยู่ไม่ได้
วิธีที่จะทำให้พวกนี้อยู่ไม่ได้ก็คือต้องให้มีการแข่งขันกันให้มาก ให้คนที่ทำดีอยู่ได้ดีและคนที่ทำไม่ดีนั้นอยู่ไม่ได้
ผมคิดว่า การที่จะให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมนี่ผมว่ามันก่อให้เกิดตัวอย่างที่ดี
ผมเคยจำได้เมื่อสัก 10 ปีมาแล้วที่มีปัญหา CRASH ของตลาดหลักทรัพย์เราครั้งแรกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ของไทยแทบจะส่วนใหญ่ประสบปัญหาขณะที่บริษัทเงินทุนที่อยู่ในมือของชาวต่างชาติ
2-3 แห่งแทบจะไม่ประสบปัญหาเลย เพราะพวกเขามีการบริหารที่ค่อนข้างระมัดระวัง
มีเทคนิคในเรื่องกระจายความเสี่ยง อันนี้แม้เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม
แต่ผมคิดว่าเราอาจจะเรียนรู้วิธีการบริหารทางด้านการเงินได้ถ้าเผื่อมีการแข่งขันมากขึ้นจากต่างชาติ
ถึงแม้ว่าการแข่งขันของสถาบันการเงินต่างชาติน้อย เวลานี้ส่วนแบ่งของสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอยู่
14 แห่งนี่มีเพียง 2-3% เท่านั้นในตลาดเงินของไทย
สำหรับที่มีคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ผมคิดว่ามีเหตุผลหลายอย่าง ทางกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไม่ค่อยเห็นด้วยนั้นแน่นอนเพราะมันไปทำให้ทุกคนต้องทำงานหนักขึ้น
มีปัญหาในเรื่องการแข่งขันฝ่ายทางการส่วนใหญ่แล้วมีชีวิตค่อนข้างสบาย ๆ ไม่อยากจะเห็นมีการเปลี่ยนแลงที่จะต้องกระตือรือร้นเพื่อเปลี่ยนนโยบาย
ก็มักจะไม่ค่อยมีการคำนึงในการที่จะขยายระบบให้กว้างขึ้น ก็เป็นห่วงว่าถ้าเผื่อต้องเลือกกันแล้วจะเลือกกันอย่างไร
จะใช้มาตรการอะไรการคัดเลือก ก็เหมือนระบบข้าราชการทั่ว ๆ อยู่เฉย ๆ ดีกว่า
การเสนอนโยบายการเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศเชื่อมโยงเข้ากับเงื่อนไขที่ให้มีการเข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาของบริษัทเงินทุนได้
มันก็จะเป็นการได้ประโยชน์ในทางอ้อมทางอื่นด้วย ซึ่งตามที่ผมเคยหารือพิจารณากับธนาคารต่างประเทศนี่ค่าที่จะต้องจ่ายเรื่อง
LICENSE ที่จะต้องจ่ายในเมืองไทยนั้นมันก็คุ้มกับการที่จะเข้ามาดูแลบริษัทเงินทุน
เพราะการดูแลบริษัทเงินทุนที่มีปัญหานั้นมันไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียวไม่ใช่ว่าเข้ามาแล้วต้องเสียเงินสัก
100-200 ล้านแล้วมันสูญไป แต่มันเป็นเรื่องของการบริหารวมันเป็นเรื่องของการเพิ่มช่องทางทำธุรกิจ
มันเป็นเรื่องของการทำให้บริษัทเงินทุนนั้นมาเป็นอินเวสต์เม้นท์แบงก์ที่จริง
ซึ่งต่างชาติเขามีประสบการณ์ความชำนาญอยู่แล้วในเรื่องของการให้คำปรึกษาโครงการการทำลิสซิ่ง
ทำเรื่องการประกันการจำหน่ายหุ้นการออกตั๋วประเภทต่าง ๆ การทำโครงการระยะยาวอะไรต่ออะไรซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทำได้ทั้งนั้น
รวมทั้งเรื่องการค้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เขามีความสนใจกันมาก ซึ่งผมก็คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
บางคนบอกว่าถ้าเผื่อจะเปิดสาขาก็ให้เขาเปิดสาขา แต่ไม่น่าจะเอามาโยงกับเรื่องโครงการ
4 เมษา ซึ่งผมว่าไม่ถูก การอนุญาตให้มาเปิดสาขานั้นควรจะมีสิ่งแลกเปลี่ยน
ซึ่งแน่นอนประการแรกคือการที่ประเทศที่เขาให้ธนาคารเขาเข้ามาเปิดสาขาในบ้านเรา
เขาต้องยอมให้ธนาคารของเราเข้าไปเปิด มันเป็นเรื่องที่มีการตกลงโดยที่ไม่ต้องพูดกันอยู่แล้ว
ผมคิดว่านักวิชาการบางคนออกมาพูดว่า เอ ทำไมเราเสียเปรียบ ปล่อยให้เขามาเปิด
แล้วไม่ให้เราไปเปิดเรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันดีในวงการการเงินระหว่างประเทศแล้ว
โดยไม่ต้องมีการพูดถึง ผู้ที่พูดถึงอาจจะไม่เข้าใจว่ามีข้อตกลงนี้กันอยู่
เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วว่าเมื่อเขามาเปิดในบ้านเรา เขายอมให้เราไปเปิดในบ้านเขาอยู่แล้ว
ปัญหาเวลานี้มันก็คือเขายอมให้เรปเปิดในบ้านเขาได้อยู่แล้ว ปัญหาเวลานี้มันก็คือเขายอมให้เราไปเปิดในบ้านเขาได้อยู่แล้ว
แต่เราเองอาจจะยังไม่มีสถาบันการเงินที่เหมาะสมไปเปิดในบ้านเขามากกว่า ปัญหามันคือย่างนั้น
ไม่ใช่ว่าเขาไม่ยอมให้เราไปเปิดหลายประเทศในยุโรปเขาก็ยอมให้เราไปเปิดได้
ประเด็นที่สองก็คือว่าเขาก็ต้องมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจในบ้านเรา มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของเรา
ข้อนี้เป็นเรื่องที่วัดได้ยาก เราก็มักจะดูว่าที่ผ่านมาในอดีตธนาคารไหนเคยช่วยเหลือเราในยามที่เรายากลำบากหรือเปล่า
ในยามที่เรากู้ไม่มีคนให้กู้หรือให้กู้ก็กดอัตราดอกเบี้ยเราแพง ๆ ซึ่งถ้าเผื่อเรามีธนาคารที่เป็นเพื่อนเราดี
ๆ อย่างนั้นเข้ามาและแสดงความจำนงเข้ามาจะตั้งสาขา เราน่าจะพิจารณาเขาด้วยดีเพราะว่าเขาเคยแสดงสปิริตที่ดีต่อประเทศไทยมาแล้ว
โดยเฉพาะในช่วงที่เราความยากลำบาก
อันที่สามที่ผมเคยคำนึงถึง และเคยงสถาบันการเงินต่างประเทศเข้ามาร่วมในบ้านเราก็ต้องดูว่าเขาพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือเราด้วยหรือเปล่า
เพราะในยามที่เราต้องการแก้ไขปัญหา เขาก็ควรพร้อมที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขและแบ่งเบาภาระบางส่วนของเราไป
ไม่ใช่ว่าเราต้องการจะเอาเงินเขาเข้ามา แต่เราคิดว่าที่เข้ามาพร้อมกับเงินซึ่งอาจจะไม่ใช่เป็นจำนวนมากมายนักก็คือเรื่องความสามารถในการบริหารทางด้าน
อินเวสเม้นท์ แบงกิ้งที่ดี
และประการสุดท้ายในเรื่องระดมเงินนี่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสุดท้ายนะ ผมคิดว่าหน้าที่ในการระดมเงินออมในประเทศนี่เป็นหน้าที่ของธนาคารไทยอยู่แล้ว
สาขาธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาก็มีแต่ว่าเข้ามาใช้ประโยชน์จากตลาดเงินในบ้านเราเานั้นเอง
ในเรื่องระดมเงินออมในประเทศเป็นเรื่องของธนาคารไทย แต่ส่วนที่ช่วยระดมการหาเงินจากต่างประเทศนี่เขาอาจจะช่วยได้
การระดมเงินในต่างประเทศในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าระดมเงินฝากอะไรแต่หมายความว่า
ในเรื่องที่เราจะต้องมีการทำซินดิเคเตทโลน เพื่อเอามาประกอบกับการเงินในประเทศ
ซึ่งเวลานี้ถ้าเราดูโครงการใหญ่ ๆ นี่ โครงการเป็น 5,000+10,000 ล้านบาท
เป็น่จำนวนผมเข้าใจว่า 6-7 โครงการนี่ผมว่ามันคงต้องมีการผนวกกันระหว่างเงินที่เราจะระดมได้ภายในประเทศกับเงินที่ต้องมาจากต่างประเทศซึ่งมันอาจจะมีเงื่อนไขผูกติดมา
เช่นเป็นพวกเอ็กซ์ปอร์ต เครดิต, เอ็กซิม แบงก์โลน หรือว่าจะเป็นที่เขาเรียกว่า
มิกซ์ เครดิต มาจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งเขาจะบวกสินเชื่อประเภทที่ให้เปล่ากับประเภทที่เชงพาณิชย์เข้ามากับเรา
ซึ่งคนที่รู้ดีคือธนาคารต่างประเทศ เช่น อังฏฟษเขาจะรู้ว่า อีซีจีดี ให้อะไรได้
ฝรั่งเศสก็จะรู้ว่า โคฟาสของเขาให้อะไรได้ ซึ่งถ้าเผื่อเขามีส่วนร่วมได้บ้างก็คงจะช่วยให้โครงการเหล่านี้สำเร็จได้ด้วยดี
ส่วนเรื่องการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศนั้น ผมว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องน่าห่วงเลยยิ่งเทียบตอนนี้กับเมื่อสัก
10 ปีที่แล้วผมเคยพูดเรื่องนี้ ผมคิดว่าตอนนี้ธนาคารพาณิชย์โตขึ้นอย่างมาก
ๆ ไม่รู้กี่เท่า ความสามารถในการบริหารของธนาคารไทยนี่ก็ม่ด้อยกว่าธนาคารต่างประเทศเลย
แน่นอนว่าผลผลิตใหม่ และวิธีการบริหารเงินระหว่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากพวกเขาอีกมาก
แต่เราไม่ต้องกลัวในเรื่องที่ว่าถ้าปล่อให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาแล้วเราจะเสียลูกค้านั้น
ไม่ต้องกลัวเลยแม้ส่วนแบ่งการตลาดของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นมาเป็น เราก็ไม่เดือดร้อนเลย
แต่ในทำนองที่ว่าอาจจะมีการแลกเปลี่ยน อย่างน้อยในการพัฒนาตลาดเงินในประเทศก็อาจจะช่วยให้ดีขึ้น
ปัญหาอยู่ที่ว่าคนที่เข้ามาไม่แอคทีฟต่างหาก อย่างนั้นน่ะเสีย เปลืองที่เปล่า
ๆ ถ้าเผื่อเข้ามาแล้วมาแข่งขัน มาปล่อยสินเชื่อ มาร่วมในการพัฒนาตลาดเงินภายในประเทศตลาดเงินระหว่างประเทศ
ผมคิดว่าอันนั้นไม่เป็นการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่อยู่เฉย ๆ นี่พวกนั้นผมคิดว่าน่าจะยึดใบอนุญาตคืนด้วยซ้ำ
น่าจะเอาไปขายต่อ
ผมคิดว่าที่ทางกระทรวงการคลังได้เริ่มต้นนี่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่เราใจกว้างขึ้น
ผมเห็นนโยบายทั้งหมดแล้ว ขอเรียกว่าเป็นนโยบายปลดปล่อยระบบการเงิน หรือ LIBERALIZATION
ของระบบการเงิน ซึ่งในอนาคตจะสามารถนำไปสู่เรื่องการเปลี่ยนแปลงเพดานดอกเบี้ยทั้งหมดได้
เพราะเพดานดอกเบี้ยนี่ก็เรียกว่าเป็นมรดกจากสมัยก่อนที่การเงิน่ของเรายังไม่คล่องตัวพอ
ไม่มีการแข่งขันพอ ก็ต้องควบคุมโน่นนี่ ซึ่งผมเองผมไม่ชอบอย่างยิ่ง ผมคิดว่าในที่สุดมเอมีการปลดปล่อยทางด้านจำนวนแล้ว
อีกหน่อยคงต้องมีการปลดปล่อยทางด้านราคา คือเรื่องอัตราดอกเบี้ยทั้งหลาย
ซึ่งในที่สุดก็คงจะต้องมีการปลดปล่อยในเรื่องการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งหลาย
ซึ่งเวลานี้ก็ไม่เข้ากับนโยบายที่เราก็มีอยู่ในปัจจุบันคือนโย่บายที่ใช้เงินบาทกำหนดโดยตะกร้าของเงิน
แต่ยังมีการควบคุมการปริวรรตอยู่อย่างเต็มที่ ซึ่งมันขัดกัน ถ้าเผื่อใช้นโยบายการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนด้วยตะกร้าเงินแล้ว
การควบคุมการปริวรรตต้องหมดไป ไม่อย่างนั้นตัวที่เป็นราคาของบาทออกมามันจะไม่ใช่ตัวราคาที่แท้จริง
ธุรกิจของสาขาแบงก์ต่างประเทศจะทำด้าน TRADE FINANCE แต่เป็นพวก WHOLESALE
เขาจะไม่ทำโครงการย่อย ๆ มีบางแบงก์ที่เอ่ยชื่อไม่ได้ที่หันมาทำด้าน RETAIL
ก็ทำได้ดีเหมือนกัน เพราะเขามีเทคนิคที่ดี มีการบริหารเงินที่ดีก็ทำได้ แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นพวก
WHOLESALE ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นพวก MULTI-NATIONAL ที่ให้เขาวมาทำงานทางนี้
ส่วนธนาคารพาณิชย์จะได้ประโยชน์จากการอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติมาเปิดสาขาคือเราจะได้โอกาสไปเปิดสาขาในประเทศเขาได้
เราจะได้โอกาสในการเป็น FINANCIAL ADVISER คือคนเดียวบางที PROJECT ใหญ่
ๆ เขาไม่รับ แต่ถ้ามีการรวมกับสถาบันใหญ่ ๆ ที่ต่างประเทศยอมรับ เราร่วมได้แล้ววันหนึ่งเราก็สามารถเรียนรู้จากเขาได้
และผลจากสิ่งนี้ก็ทให้ตลาดเงินในประเทศคล่องตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้แบงก์ไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีเงินเหลือสามารถบริหารเงินได้ดีกว่าปัจจุบันนี้
เอาเงินไป PLACE ไว้ตามที่ต่าง ๆ ได้ เช่น มีตั๋วเงินระยะสั้น ของธนาคารต่าง
ๆ ออกมาให้เป็นทางเลือกในการลงทุน
เรื่องการเข้ามาร่วมในโครงการ 4 เมษานั้นก็เป็นเงื่อนไขไว้ คงไม่ใช่ทุกคนหรอกที่พร้อมจะเข้ามาร่วม
คนที่พร้อมก็อาจจะถือว่าเป็นคนที่อยู่ในอันดับสูง ๆ ที่จะต้องจัดไว้ ดังนั้นนโยบายการให้เข้ามาเปิดจึงควรผูกไว้อย่างสำคัญกับโครงการ
4 เมษา เพราะว่าโครงการนี้ยังไงก็ต้องผ่องถ่ายกลับไปยังเอกชนเจ้าของเดิมอยู่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ เงื่อนไขการโยงกับเรื่อง 4 เมษาฯนั้น ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติมาก
ๆ มันเหมือนกับเป็นค่า LICENSE อย่างหนึ่ง คือถ้าเข้ามาเฉย ๆ มันต้องมิใช่ไหมว่าค่า
LICENSE จะเป็นเท่าไหร่อย่างไรมันต้องมีราคาอยู่แล้วแน่ ๆ
ส่วนค่า LICENSE เป็นเท่าไหร่นั้น สำหรับบางแบงก์ก็มากกว่าบางแบงก์ คือบางคนที่เขามี
NETWORK นั้นการจะเพิ่ม MARGINAL EARNING ด้วยการเปิดที่เมืองไทยอาจจะน้อยกว่าบางแบงก์ซึ่ง
NETWORK ที่รวมจุดของเมืองไทยสำคัญกว่า"
อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าการที่จะปล่อยให้มีการเปิดสาขามากเกินไปก็ไม่ดี ถึงจุดหนึ่งเราต้องตรงไปตรงมาว่าการทำทั้หมดนี้ไม่ใช่ว่าเพื่อขอดูไพ่คุณเฉย
ๆ ก่อน ผมคิดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วเราอาจจะตัดสินใจได้ แต่ถ้าเผื่อว่าเรายังห่วงว่าเราไม่สามารถไปไกลได้นี่
ผมคิดเราไม่ควรทำแบบที่ออสเตรเลียทำคือเปิดทีเดียว 17 แบงก์เข้ามาเลย แต่แล้วเหลือเพียง
2-3 แห่งกระมังที่เวลานี้ได้กำไรอยู่ ซึ่งแบบนี้ก็ดีเกินไปหน่อย ของเรานี่อาจะให้สักสองสามแห่งก่อนในช่วงปีแรก
แล้วกระจายไปตามภูมิศาสตร์ เสร็จแล้วดูไปสักปีแล้วอาจจะบอกว่าอีกสัก 2-3
ปีอาจจะให้เปิดอีกสักกี่แห่ง แล้วก็บอกว่ากำหนดไว้ที่โควตากี่แห่งก็บอกไป
อันนี้ผมว่าเป็นธรรมดา ดีกว่าที่จะเปิด FREE BAR
ผมเองคิดว่าจังหวะในการอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขานั้น เหมาะมานานแล้วแต่ว่าหลายคนเขาก็มีเหตุผลของแต่ละคนว่าไม่เหมาะทำไมผมคิดว่าเหมาะ
เพราะกระบวนการตั้งแต่เริ่มคิด วางหลักการ วางกฎเกณฑ์กลั่นกรองนี่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย
2-3 ปี และสิ่งที่ผมอยากให้ทำคือค่อยเป็นค่อยไป
และวันหนึ่งในอนาคต ทำไมประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินบ้างไม่ได้
ไม่ใช่ว่าเราต้องการเป็นศูนย์กลางทางการเงินในลักษณะของฮ่องกงหรือสิงคโปร์
แต่เราต้องการจะเป็นในลักษณะของฮ่องกงหรือสิงคโปร์ แต่เราต้องการจะเป็นในลักษณะของภาคพื้นทวีป
ฮ่องกงอีกหน่อยก็ไม่แน่ใจ สิงคโปร์ ก็ไปเป็นเซ็นเตอร์ทางภาคพื้นสมุทร ทางด้านโน้นไปของไทยก็อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งได้
และเรามีเศรษฐกิจหนุนหลังที่ใหญ่มาก เพราะอีกหน่อยเราติดต่อกับอินโดจีน ประเทศจีน
พม่าอีกนี่ เราใกล้เคียงกว่าคนอื่นเยอะแยะ เราทำได้
การทำเรื่องนี้จะดีต่อไปอีก คือในเรื่องของโทรคมนาคม คือถ้าการเงินไม่มีการปลดปล่อยเต็มที่โรคมนาคมที่จะทำให้เราเป็นศูนย์กลางอีกตัวหนึ่งก็จะไม่เดิน
เพราะถ้าไม่มีความต้องการใช้บริการอะไร ดีมานด์ไม่มี มันก็ไม่เกิด คุณจะเป็นเซ็นเตอร์ได้คุณต้องโทรศัพท์ได้ทั้งวัน
ไม่ใช่รอ ๆ ต้องหมุนได้เอง นี่มันก็เป็นตัวผลักดัน เป็นหัวใจของการพัฒนาต่อไปหลังจากคมนาคมบนพื้นดินหมดแล้ว
เมื่อเข้าระบบนี้ได้แล้ว ทำไมมันจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียบ้างไม่ได้