Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532
ออป.ให้มันได้ดีสักครั้งเถอะน่า             
โดย นพ นรนารถ
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

   
search resources

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
Environment




ออป.หรือองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2490 ด้วยจุดประสงค์เพื่อเข้าดำเนินกิจการทำไม้สักอันเป็นไม้มีค่าของชาติด้วยตนเอง หลังจากที่ปล่อยให้ต่างชาติกอบโกยผลประโยชน์จากไม้สักมาเป็นเวลาช้านาน แม้ว่าประสิทธิภาพการทำไม้ของเจ้าหน้าที่รัฐฯในระยะเริ่มต้นจะกระท่อนกระแท่นอยู่มากก็ตามที

ทว่าภาพของ ออป.ในความรู้สึกของคนไทยก็ให้เป็นที่น่าชื่นใจมิบันเบาเลยทีเดียว

แต่เบื้องข้างของการจัดตั้ง ออป.นั้นเป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาอขกงลุ่มทุนขุนศึกที่มี "จอมพลผ้าขะม้าแดง" จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้กำลังเรืองอำนาจในยุคนั้นเป็นหัวขบวน ซึ่งมีความพยายามอย่างสูงต่อการผนวกสายอำนาจทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจให้มารวมศูนย์อยู่กับกลุ่มของตนอย่างเบ็ดเสร็จ

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอันใดเลยที่หน่วยงาน ออป.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งที่มองเห็นผลประโยชน์ข้างหน้าอยู่รำไรจากการกุมทรัพย์ที่มีค่าเป็นพันหมื่นล้านบาทอย่าง "ป่าไม้" จะปรากฎแต่คนที่ล้วนเป็นเงาอำนาจของจอมพลผ้าขะม้าแดงเข้าไปเป็น "ใหญ่" เสียแทบทั้งสิ้น

วันธรรมการขยายและสืบทอดอำนาจดังกล่าวนี้เองที่หยั่งรากลึกความชั่วร้ายโสมมแล้วสานต่อเป็นขบวนการทำมหากินกับ ออป.อันเกิดจากคนเป็นใหญ่ใน ออป.ที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันอย่างน่ากลัวยิ่งนัก

"ยากที่จะเข้าไปแตะต้องเส้นสายอำนาจที่เป็นใหญ่ใน ออป.ได้เลยพวกน้มีการแบ่งปันผลประโยชน์กันโดยเสมอภาคเลนทำให้ไม่มีข่าวคาวฉาวโฉ่ปรากฎออกมา ทั้ง ๆ ที่ขบวนการทำมาหากินใน ออป.ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าแก๊งต่าง ๆ ในกรมป่าไม้เท่าใดนัก" แหล่งข่าวคนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

ก็น่าจะเป็นจริงอย่างนี้เพราะตำแหน่งผู้อำนวยการ "ผู้จัดการได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวที่คลุกคลีกับ ออป.มาช้านานท่านหนึ่งว่า "ผู้อำนวจการคนหนึ่งในยุคหนึ่งต้องใช้เงินวิ่งเต้นเพื่อให้มานั่งในตำแหน่งนี้สูงถึง 40-50 ล้านบาท

รูปธรรมเด่นชัดของกลุ่มอำนาจใน ออป.ประการหนึ่งที่อาจตั้งข้อสังเกตได้ก็คือ การแต่งตั้งตัวแทน ซึ่งเป็นคนของ ออป.เข้าไปเป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในบริษัทจังหวัดทำไม้ต่าง ๆ ในอดีตนั้นจะเห็นว่าคน ๆ หนึ่งมีชื่อร่วมเป็นคณะกรรมการการบริษัทมากกว่า 2-3 แห่ง ซึ่งเคยมีความพยายามอยู่เหมือนกันที่จะสลายอำนาจอขงคนกลุ่มนี้ด้วยการดัน "สายเลือดใหม่" ที่เป็นคนหนุ่มมีความกระตือรือร้นและมีความรอบรู้ในเรื่องการทำไม้ให้เข้าไปเป็นกรรมการ แต่ก็ไม่อาจต้านกระแสกดดันจากลุ่มอำนาจเก่าที่ประสานความร่วมมือเป็นอย่างดีกับพ่อค้าไม้ได้ในที่สุดก็ต้องล่าถอยออกมา

โดยเงื่อนไขที่ ออป.เองแทบจะไม่มีการพัฒนาตนเองในเรื่องของการทำไม้ ชีวิตที่อู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้เป็นเพราะฝากฝังรูจมูกคนอื่นเขาหายใจ จึงเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยมากเหมือนกันว่า "ออป.จะสามารถทำไม้อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตนเองหรือไม่"

ประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การที่ ออปเข้าไปร่วมถือหุ้นกับบริษัทจังหวัดทำไม้ต่าง ๆ บริษัทละ 20% และต่อมาได้รับการอนุมติให้เพิ่มทุนได้เป็น 46.67% หรือเกือบครึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด แต่กลับปรากฏว่าเงินปันผลที่ ออป.ได้รับในแต่ละปีเพียง 20 ล้านบาทไม่เคยสูงถึงร้อยล้านบาท ทั้ง ๆ ที่แต่ละปี ๆ พ่อค้าไม้ที่ถือหุ้นไม่มากนักกลับมั่งคั่งจนกู่ไม่กลับราวกับเป็นเรื่องเหลือเชื่อ

ออป.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานอย่างครบวงจรนับตั้งแต่การปลูกสวนป่า การจัดให้มีโรงเลื่อยจักรและโรงงานอุตสาหกรรมไม้ 5 แห่ง และร่วมถือหุ้นในบริษัท ไม้อัดไทย เพื่อดำเนินการผลิตไม้อัดในเชิงการค้า ส่วนฐานะของ ออป.มีสินทรัพย์ในรูปต่าง ๆ รวม 1,800 กว่าล้านบาท ในปี 2529 ซึ่งนับว่ามั่งคั่งไม่เบาเมื่อเทียบกับบทบาทการพัฒนาป่าไม้ที่อาศัยคนอื่น

แต่ผลงานที่ออกมาในแต่ละปีไม่อาจกล่าวได้ว่า ออป.ประสบผลสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิ

ดูกันง่าย ๆ แค่การผลิตไม้อัดก็มีปัญหามากจนบริษัทไม้อัดไทยเดินไม่เป็นท่ามาแล้ว นอกจากนี้ผลผลิตไม้ของ ออป.ทั้งที่ทำด้วยตนเองและที่ร่วมกับบริษัทจังหวัดทำไม้ยังไม่อาจเป็นแนวปะทะไม้จากต่างประเทศไดมากนัก ปล่อยให้ไม้นำเข้าสามารถกดราคาได้ตามอำเภอใจก็น่าเป็นห่วงอยู่มากหาก ออป.จะเข้ามาทำไม้อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตแหล่งข่าวให้ความเห็น

การปลูกสร้างสวนป่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิผลการทำงาของ ออป.ได้แจ่มชัด ออป.เริ่มโครงการปลูกสร้างสวนป่ามาตั้งแต่ปี 2510 จนถึงปัจจุบันกินเวลาเข้าไปแล้ว 22 ปีแต่กลับปลูกสร้างสวนป่าได้เพียง 388,914 ไร่ ซึ่งนับว่าน้อยมากหากเปรียบเทียบกับเงินลงทุนที่ลงไปกว่าพันล้านบาท

หนำซ้ำสวนป่าของ ออป.ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักมากว่า "ไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร"

ออป.เองก้ได้แต่แก้เกี้ยวเป็นพัลวันว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากรัฐบาลที่จะจัดสรรงบประมษณในการดูแลและรักษาบำรุงอย่างที่ควรจะได้จริง ๆ

"ออป.พูดอย่างนี้ไม่ถูกนักเพราะถ้าจะพูดถึงโครงการสวนป่าของ ออป.กับสวนป่าของกรมป่าไม้โดยสัดส่วนการลงทุนต่าง ๆ นั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ผลที่ออกมาสวนป่าของกรมป่าไม้ได้รับการเชื่อถือมากกว่า ซึ่งคนของ ออป.หลายคนก็ยอมรับความจริงในข้อนี้" ผู้ปฏิบัติงานสวนป่าของกรมป่าไม้บอกกับ "ผู้จัดการ"

ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงในขณะนี้จึงไม่อาจหาหลักประกันความมั่นใจจากโครงการ "สวนป่า" ของ ออป.ที่จะมาชนกับไม้ที่นำเข้าซึ่งนับวันราคาจะพุ่งสูงขึ้นอย่างอบอุ่นใจได้เลยจริงๆ !!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us