Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
The Last page...เรื่องของความ "โลภ" และ "งก"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Economics




ถ้าประเทศไทยไม่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อ 11 ปีก่อน วันนี้เราอาจได้เห็นระบบการเงินของประเทศไทยล่มสลายลงไปอย่างสิ้นเชิงเรียบร้อยแล้ว

เพราะอะไร?

เพราะวิธีคิดของของมนุษย์พันธุ์ที่เรียกตัวเองว่า "นักการเงิน" นั้น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด สัญชาติใด จะมีความเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ มีความ "โลภ" และ "งก" เป็นที่ตั้ง

"โลภ" ตรงที่เมื่อเห็นว่าที่ใดที่เปิดช่องให้ทำกำไรได้ ก็มักจะกระโดดเข้าใส่

"งก" ก็ตรงที่แม้ว่าจะได้กำไรไปแล้ว ยังไม่หนำใจ ต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น มากขึ้น

ถ้าสถาบันการเงินไทยไม่ได้รับบทเรียนเมื่อครั้งที่ "โลภ" เอาเงินต้นทุนต่ำจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ต่อในประเทศ ซึ่งได้ส่วนต่างดอกเบี้ยสูงกว่า และ "งก" ตรงที่พยายามเพิ่มยัดเยียดเงินกู้ให้ผู้ประกอบการชาวไทยเป็นหนี้มากขึ้น มากขึ้น เพื่อที่จะให้ตนเองได้กำไรสูงขึ้น สูงขึ้น

แล้วกลับโดนมาตรการ "หักดิบ" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ด้วยการลอยตัวค่าเงินบาทนั้น

เชื่อว่า กลิ่นกำไรอันหอมหวนในตลาดซัพไพรม์ที่เคยเป็นแหล่งทำเงิน ทำกำไรให้กับสถาบันการเงินแทบทุกแห่งในสหรัฐอเมริกากับยุโรป เมื่อไม่กี่ปีมานี้

สถาบันการเงินไทยคงอดใจไม่ไหว ต้องนำเงินของชาวบ้านเข้าไปร่วมเล่นเกมการเงินครั้งนี้ด้วยแน่ๆ

ถือเป็นบทเรียนที่ดีและมีราคาแพงยิ่ง ที่เราได้รับจากการลอยตัวค่าเงินเมื่อปี 2540

วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 11 ปีที่แล้ว แม้ว่าจะทำให้มีสถาบันการเงินหลายแห่งต้องล้มหายตายจากไปนั้น

ในทางตรงกันข้าม กลับสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันการเงินที่เหลือ

ไม่ใช่ความแข็งแกร่งในด้านฐานะการเงินเพียงอย่างเดียว

แต่ยังเป็นความแข็งแกร่งในวิธีคิด การดำเนินงานในการสร้างรายได้จากเงินฝากของชาวบ้าน ซึ่งก็คือประชาชนโดยทั่วไป

จริงอยู่ ที่ 10 ปีที่ผ่านมา มีเสียงสะท้อนจากนักธุรกิจ ทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายเล็กมาตลอดว่า "ทุกวันนี้ จะกู้เงินจากแบงก์แต่ละที ยากเข็ญยิ่ง"

เพราะแบงก์กลัว ไม่ปล่อยกู้ง่ายๆ เพราะภาพอันเลวร้ายในการติดตามหนี้เอ็นพีแอล เมื่อ 10 ปีก่อน ยังคงตามหลอกตามหลอนอยู่

แต่ความกลัวที่ว่า กลับเป็นเรื่องดี เพราะทำให้แบงก์ไม่กล้านำเงินของชาวบ้านไปปู้ยี่ปู้ยำเล่นโดยง่าย

จะปล่อยเงินออกไปแต่ละครั้ง ต้องวิเคราะห์แล้ว วิเคราะห์อีก ก่อนว่าต้องไม่ "เสี่ยง"

แล้วค่อยมาคิดคำนวณทีหลังว่า ผลตอบแทนที่จะได้รับนั้น "คุ้ม" หรือ "ไม่คุ้ม"

แน่นอน นักธุรกิจหลายคนอาจหงุดหงิดในความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินอยู่บ้าง ที่ไม่เหมือนกับสมัยก่อนเกิดวิกฤติ

แต่ในแง่ของคนฝากเงิน กลับมีความสบายใจมากกว่า ว่าสถาบันที่ใช้บริการอยู่นั้น มั่นคงพอที่จะเอาทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ไปฝากให้ดูแล

การล้มลงของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรปในรอบนี้ เป็นภาพสะท้อนที่ดีว่าถึงที่สุด ไม่ว่าสถาบันการเงินนั้น จะ "ใหญ่" หรือมีประวัติศาสตร์ยาวนานเพียงใด

หาก "โลภ" หรือ "งก" ขึ้นมา ก็ต้องพบกับจุดจบที่เหมือนกัน

"นักการเงิน" ของไทยได้รู้จักจุดจบนั้นมาแล้ว ยิ่งได้มาเห็นจุดจบของเพื่อนร่วมอาชีพ ในซีกโลกที่เคยถูกมองว่ามีพัฒนาการและเทคโนโลยีที่เหนือกว่าครั้งนี้

น่าจะเป็นการตอกย้ำบทเรียนได้เป็นอย่างดีว่าการ "โลภ" และ "งก" โดยที่มีเงินของชาวบ้านเป็นเครื่องมือนั้น

สุดท้ายแล้วจะไม่เหลืออะไรให้หยิบจับได้อีกเลย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us