บัวหลวงประกันภัยประสบปัญหาการขาดทุนมาเป็นเวลานานแต่กว่าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะรู้สึกว่ามันเข้าขั้นวิกฤติกก็เมื่อย่างเข้าเมษา
- พฤษภา 2530 โดยบรรดาอู่รถในเครือประกันทั้งหลายเริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังถูกบริษัทบีบในเรื่องการตีราคาซ่อมรถ
เจ้าของอู่แห่งหนึ่งแถบชานเมืองด้านเหนือของกรุงเทพฯเปิดเผยให้ "ผู้จัดการ"
ฟังด้วยความขมขื่นใจว่าบัวหลวงอาจจะมีปัญหาด้านการเงินมาเป็นเวลานาน แต่พวกเขาไม่ได้ระแคะระคายแต่อย่างใด
จวบจนต้นปี 2530 เมื่อบริษัทออกกฎว่าเมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ต้องเอารถไปตีราคาที่อู่ณรงค์กิจ
ตรอกจันทน์ ซึ่งเป็นอู่ในเครือแห่งหนึ่ง
การตีราคาของอู่ณรงค์กิจนั้นเป็นราคาที่ "ไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้
เขาตีต่ำกว่าราคาที่เสีย ชิ้นส่วนที่ซ่อมไม่ได้ก็ต้องซ่อมเอาเองหรือทิ้งให้เขาซ่อม
ซึ่งของเรามีช่างซ่อมอยู่ประจำนี่เราก็กลัวในเรื่องฝีมือ ว่าเขาจะซ่อมไม่ดี
และประเมินแล้วรู้สึกว่าทุกครั้งเราต้องขาดทุน"
ดังนั้นเจ้าของอู่แห่งนี้ ซึ่งก็ถือว่าตัวเองเป็นลูกค้าที่มีรถประกันอยู่กับบัวหลวงหลายคันจึงได้เดินทางไปคุยกับ
ชาญชัย ตันกิติบุตร กรรมการผู้อำนวยการบริษัทเป็นการส่วนตัว โดยเขาเป็นฝ่ายยื่นข้อเสนอว่าการให้อู่รณงค์กิจตีราคานั้นไม่ได้รับความสะดวกหลายอย่าง
อีกทั้งเป็นราคาที่ไม่สามารถทำการซ่อมได้ หากในกรณีที่ความเสียหายไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
"ผมก็ถ่ายรูปไว้ ไม่ว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ถ้าถูกประกันก็เรียกจากฝ่ายโน้น
แล้วก็ออกหลักฐานคือใบเคลมให้เรา ในรายการความเสียหายตามที่เป็นและเราก็ถ่ายรูปยืนยันประกอบอยู่แล้ว
เอาไปให้ดูแล้วก็คุยราคากันมาตั้งเบิก ชำระเงิน"
เจ้าของอู่กล่าวว่าข้อเสนอนี้ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นกรตกลงกันด้วยวาจา
และแน่นอนว่าก่อนที่จะตกลงนั้น ชาญชัยก็มีข้อแลกเปลี่ยนเสนอกลับมา
ข้อเสนอที่เป็นการแลกเปลี่ยนของชาญชัยก็คือ เจ้าของอู่ในเครือทั้งหลายต้องให้เคดิตแก่บริษัท
คือเครดิตค้างชำระเงินเป็นเวลา 3 เดือน ขยายความก็คือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็จะมีการถ่ายรูปแล้วไปคุยราคากันประมาณ
10 - 15 วัน ไปปิดใบเสร็จออกเป็นใบนัด และนับจากวันเริ่มออกใบนัดไปเป็นเวลา
3 เดือน อู่จึงจะไปรับเงินที่จ่ายค่าเสียหายล่วงหน้าไปแล้วได้
เจ้าของอู่แห่งนี้กล่าวอย่างใจป้ำว่า ตกลง ทั้งนี้เขาคิดวาเมื่อผ่านไป
3 เดือนแล้วเขาก็จะได้รับเงินเดือนที่ 1 ในเดือนที่ 4 "เราจะวิ่งไปเรื่อย
ๆ ตัวนี้ไม่มีปัญหา"
แต่แล้วพอเริ่มทำเข้าจริง ๆ ปรากฏว่าไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ด้วยวาจา
กล่าวคือกว่าที่จะเอาใบเคลม ใบเสร็จไปปิดเป็นใบนัด และกว่าที่จะนัดอกมาได้ก็เกิน
3 เดือนไปมากมายอักโข "สมมุติเราไปรับเขากรกฎาฯ กว่าเขาจะนัดเราก็ตุลาฯไปปิด
แล้วมกราฯถึงจะได้พอปิดเสร็จก็ออกใบนัดมา ใบนัดก็ร่วมกุมภาฯ-มีนาฯ กว่าจะได้ตังค์เขานี่
5-6 เดือนนะ"
แม้จะให้รอเป็นเวลานาน แต่เมื่อได้สตางค์เจ้าของอู่ก็ยอมรับได้แต่แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม
2531 เรื่อยมา พวกเขาก็เริ่มกระสับกระส่ายและเป็นทุกข์ เพราะบริษัทเริ่มปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว
ลูกเล่นของบริษัทบัวหลวงในยกที่สองเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2531 โดยบริษัทบอกแเจ้าของอู่ในเครือประกันทั้งหลายว่าบริษัทไม่มีเงินจะจ่ายหนี้แล้ว
ทั้งนี้กำลังรอการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นอยู่ และอาจจะมีการเทคโอเวอร์ด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงจ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันรายย่อยอยู่ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก
บริษัทได้เรียกเจ้าของอู่ในเครือประกันทั้งหลายมาประชุมในช่วงเดือนกรกฎาฯ-สิงหาฯ
พร้อมกับค่อย ๆ ปล่อยข่าวว่าจะมีคนมาร่วมลงทุน
ใครคนที่จะมาร่วมลงทุนนั้นหาใช่ใครอื่นไม่ นอกไปเสียจากคนที่ชื่อชาตรี
โสภณพนิช คนโตของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นบัวหลวงดอกตูมนั่นเอง
ข่าวนี้ทำให้บรรดาเจ้าของอู่ค่อยคลายความกังวลเคร่งเครียดลงได้ เพราะเมื่อจะมีคนโต
ๆ มาร่วมทุนด้วยแล้ว หนี้สินไม่กี่สิบล้านบาทของพวกเขาคงเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก
ในระหว่างนี้บัวหลวงได้ผัดผ่อนบรรดาเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าของอู่ด้วยการออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้
โดยอู่เจ้าหนี้ทั้งหมดมีอยู่ 34 อู่ มูลหนี้รวมประมาณ 25 - 30 ล้านบาท ถ้าอู่ไหนติด
1 ล้านบาทก็จ่ายเช็คให้ 10 งวด ได้เช็คใบละแสน 10 ใบ
เจ้าของอู่กล่าวด้วยน้ำเสียงชอกช้ำใจว่า "ปรากฏว่าคุยกัน พวกเราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
เหมือนผีเข้าป่าช้า ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ก็ดีกว่าไปค้าความไปฟ้องหนี้ ซึ่งเราก็ไม่รู้เรื่องกฎหมาย
เราไม่เข้าใจ ก็เลยยอม"
เมื่อเช็คใบแรกก็กำหนดขึ้นเงินได้ในเดือนสิงหาคม เจ้าของอู่ก็นำไปรับเงินได้
ตามมาด้วยใบที่สองในเดือนกันยายน ปรากฏว่าเช็คใบที่มีจำนวนเงินมาก ๆ จะเด้งแล้ว
แต่ใบที่เป็นยอดเงินน้อยยังคงขึ้นได้ครั้นเช็คใบที่ 3 ในเดือนตุลาคมก็ถูกปฏิเสธการสั่งจ่าย
โดยธนาคารบอกให้ผู้ขึ้นเงินไปติดต่อกับบริษัทบัวหลวง และต่อมาในเดือนพฤศจิกายนธนาคารก็ปฏิเสธการสั่งจ่ายอีกโดยระบุเหตุผลว่าบัญชีของบริษัทได้ปิดเสียแล้ว
เช็คเหล่านี้เป็นของธนาคารทหารไทย และผู้ลงนามสั่งจ่ายในเช็คเหล่านี้คือ
1) ชาญชัย ตันกิติบุตร 2) เกษม กันตถาวร กรรมการผู้อำนวยการและกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัทบัวหลวงประกันภัยตามลำดับ
เจ้าของอู่กล่าวเป็นเชิงอุทธรณ์ขอความเป็นธรรมผ่านทาง "ผู้จัดการ"
ว่า "บริษัทประกันซึ่งมีหน่วยงานรัฐบาลควบคุมยังปล่อยให้ออกมาอย่างนี้
แล้วต่อไปเราจะทำประกันนี่ เราจะมีความไว้วางใจบริษัทประกันได้แค่ไหน กฎหมายก็บังคับเราว่าต้องมีการจัดทำประกันภัย
โอเค เราก็สนับสนับสนุนเพราะมันทำให้เกิดความเป็นธรรมกับสังคม เมื่อเรายอมรับแล้ว
แต่ว่ากฎหมายนั้นให้ความเป็นธรรมอะไรกับเราบ้าง"
เจ้าของอู่กล่าวอีกว่า "เราอยากจะขอกับทางรัฐบาลด้วยว่าให้ความคุ้มครองกับพวกเราด้วย
แก่อาชีพของพวกเรา เพราะเงินพวกนี้เราไมได้ปล้นมาจากไหน ก้ได้มาจากการทำงานด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของพวกเราทั้งนั้น
อย่างเราซื้ออะไหล่เราต้องจ่าย แต่เมื่อเราเรียกเก็บทางบริษัทประกันเขากลับไม่จ่าย
เวลานี้ที่เราประกันจ่ายเบี้ยเป็นหมื่น ๆ บาทนี่ เท่ากับว่าเราเอาเงินเบี้ยประกันไปให้เขาแต่เราต้องคุ้มครองเสี่ยงภัยของเราเอง
เมื่อเกิดเหตุที่เท่ากับว่าเราเสี่ยงภัยของเราเอง"
นี่คือบทเรียนอีกบทหนึ่งในประวัติศาสตร์ธุรกิจประกันภัยบ้านเรา