Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532
ก่อนจะมาเป็นบัวหลวงประกันภัย             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
search resources

บัวหลวงประกันภัย
วิชิต เทศรัตนวงศ์
Insurance




ใครเลยจะรู้บ้างว่าบริษัทบัวหลวงประกันภัยที่เปรียบเสมือนคนไข้ในห้องไอซียูเวลานี้ จะอยู่หรือตายก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ "แพทย์" จากสำนักงานประกันภัยเท่านั้น ได้เคยเป็นคนไข้เก่าแก่ที่ผ่านเข้าออกห้องไอซียูมาแล้วถึง 2 ครั้ง 2 ครา แล้วก็รอดออกมาผัดหน้าทาแป้ง แต่งตัวเอี้ยมเฟี้ยมใหม่ทุกครั้งไป

อดีตอันยาวนานของบัวหลวงนั้นเริ่มมาจากบริษัทรวมรถยนต์ประกันภัย จำกัด ของเจาคุณพิพัฒน์ โปษยานนท์ ซึ่งจดทะเบียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2495 โดยมีใบอนุญาตทำประกันได้เพียงอย่างเดียวคือรถยนต์

ว่ากันว่าการทำรวมรถยนต์ในเวลานั้น เจ้าของไม่ได้มีเจตนาทำอย่างเต็มที่จริงจัง และโดยทั่วไปจะหาผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันภัยอย่างถ่องแท้ก็แทบจะไม่มี

รวมรถยนต์จึงมีทั้งกำไรและขาดทุนตลอดมา แต่ออกจะเป็นการขาดทุนเสียค่อนข้างมาก

และหลังจากเปลี่ยนตัวประธานบริษัทมาหลายครั้ง ในที่สุดปี 2521 ก็มีการเปลี่ยนเจ้าของและคณะผู้บริหารรวมทั้งชื่อบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่าบริษัทไทยเอเชียประกันภัย จำกัด

เจ้าของรายใหม่ซึ่งเป็นผู้ซื้อรวมรถยนต์ไปก็คือ วิชิต เทศรัตนวงศ์และเพื่อน ๆ ที่เข้าหุ้นกัน

วิชิตได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านประกันภัยดีคนหนึ่ง ทั้งนี้เขามีพื้นฐานจบการศึกษาทางด้านบัญชีจากวิทยาลัยกรุงเทพการบัญชีในยุคแรก ๆ แล้วเริ่มทำงานประกัยภที่นำสินประกันภัยเป็นแห่งแรกโดยทำอยู่นานถึง 20 ปี

ต่อมาย้ายมาทำประกันภัยสากลในเครือสยามกลการอยู่ประมาณ 6 ปี

หลังจากคร่ำหวอดมานาน 20 กว่าปีประกอบกับอายุอานามเริ่มมากขึ้น เขาจึงคิดจะละวงการออกไปทำธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่สำเร็จเพราะทนเสียงชักชวนจูงใจให้รับซื้อรวมรถยนต์ไม่ได้ ในที่สุดรวมรถยนต์ที่สวนมะลิก็สูญหายไป เกิดมีไทยเอเชียขึ้นในใหม่ที่สุรวงศ์

ในการซื้อรวมรถยนต์ครั้งนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานประกันภัยแย้มให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าเป็นการซื้อที่ถูกมาก แถมได้กำไรมากด้วยโดยในจำนวนเงิน 4 ล้านกว่าบาทที่จ่ายไปนั้นได้มาทั้งใบอนุญาตซึ่งมูลค่าในเวลานั้นประมาณเกือบ 2 ล้านบาทแล้ว กับทั้งได้อาคารที่สวนมะลิอีก 1 หลังด้วย

หลังจากเปลี่ยนโฉมและย้ายสำนักงานใหม่ วิชิตก็จัดแจงขอใบอนุญาตทำประกันภัยจนครบทุกประเภท ทั้งนี้เพราะความถนัดและความสามารถที่แท้จริงของวิชิตนั้นอยู่ที่งานประกันอัคคีภัยมากกว่า

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะขยายการรับประกันภัยออกไปหลายประเภทแต่เบี้ยประกันหลักของบริษัทก็ยังคงมาจากการรับประกันรถยนต์

วิชิตเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าเขามีประสบการณ์ความถนัดทางด้านอัคคีภัยเป็นอย่างมาก และเขายังกล่าวเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจประกันอัคคีภัยกับรถยนต์ว่า "จริง ๆ แล้วบริษัทประกันภัยนี่อัคคีภัยยังพอทำได้ แต่รถยนต์นี่ทำยากทีเดียว อัคคีภัยถ้าไฟไหม้น้อยหน่อยเราจะกำไรพอสมควร อย่างรถยนต์นี่แน่นอนว่ามันต้องชน เราจะมีตัวเลขสถิติที่แน่นอน กำไรมหาศาลจะไม่มี"

ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบกันจริง ๆ แล้ว อาจจะต้องกล่าวว่าธุรกิจประกันภัยรถยนต์นั้นเป็นการค้าความเสี่ยงที่มากยิ่งกว่าในธุรกิจค้าขายความเสี่ยงภัยที่มีอยู่

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็อาจกลายเป็นการค้าความไม่เสี่ยง (เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเกิด) ก็ได้

วิชิตกล่าวถึงจุดอ่อนของเขาว่า "สมัยก่อนผมดูแลไม่ค่อยถึงคนเยอะ ดูแลเป็น 100 คน แล้วอย่างรถยนต์นี่บางทีผิดเป็นถูกและถูกเป็นผิดก็ได้ มันเปลี่ยนกันได้ มันอยู่ที่ว่าพนักงานแคลมรถซื่อสัตย์แค่ไหน"

และตัวเขานั้น "ส่วนมากพวกก็รู้นิสัยกันว่า ผมไม่ค่อยกล้าเสี่ยงเวลาเกิดเหตุ เราก็ต้องจ่ายเขาไม่เคยเบี้ยว ในชีวิตนี้ทำประกันภัยมากไม่เคยเบี้ยวเลย"

ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่า งบดุลของไทยเอเซียประกันภัยมีตัวเลขการจ่ายค่าสินไหมสูงมาก

และในที่สุด 5 ปีให้หลัง ไทยเอเชียก็หวนกลับสู่วงจรเดิมอีกครั้งคือถูกหามเข้าห้องไอซียูด้วยอาการร่อแร่ปางตาย

ตัววิชิตเองนั้นถึงกับต้องบินไปพักรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่สหรัฐฯ

ส่วนบริษัทไทเอเซียประกันภัยก็ถูกเปลี่ยนมือเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อีกครั้งเป็นคำรบสอง

ไทยเอซียประกันภัยบนถนนสุรวงศ์ถูกถอดป้ายทิ้งไป เกิดมามีบัวหลวงประกันภัยขึ้นแทนที่บนถนนราชดำริ ในปี 2526

อันที่จริงก่อนหน้าที่ไหนเอเซียจะเปลี่ยนมาเป็นบัวหลวงนั้นชาญชัย ตันกิติบุตร และพวกได้เข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริษัทด้วยแล้วโดยวิชิตขายหุ้นให้เพียงส่วนหนึ่ง ยังไม่ได้ขายทั้งหมด

แต่ถึงกระนั้น การเปลี่ยนตัวผู้บริหารบางคนก็ไม่สามารถช่วยกู้สถานะของบริษัทได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาเรื่องการคุมบริหารงานบุคคล

มานะ สุขบาง นักธุรกิจประกันภัยซึ่งหันเหไปทำด้านการประกันภัยสุขภาพ ที่บริษัทรัตนะประกันและเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับวิชิตเป็นอย่างดีเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าวิชิตได้มาขอความช่วยเหลือให้เขาไปตรวจสอบไทยเอเซีย และเขาได้พบว่าไทยเอเซียมีปัญหาค่าสินไหมค้างจ่าย บริษัทมีปัญหาการควบคุมพนักงานเคลม กับทั้งไม่รู้ด้วยว่าค่าสินไหมที่ค้างจ่ายนั้นมีจำนวนเท่าใดแน่

เมื่อเป็นดังนี้ มานะจึงให้คำแนะนำว่าวิชิตควรจะขายหุ้นเสียควรปล่อยมือให้คนอื่นขึ้นมาดำเนินงานแทน

วิชิตจึงขายหุ้นส่วนข้างมากให้กลุ่มชาญชัยและพวกไป โดยขายให้ในราคาไม่เกินหุ้นละ 140 บาท ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นการขาย "ตามราคาทุนหรือขาดทุนไม่รู้ แต่ไม่มีกำไร เพราะราคาพาร์ก็ 100 บาทแล้วและเมื่อผมซื้อมานั้นก็เพิ่มทุนเข้าไปอีก ผมทำไม่ได้หวังกำไรและก็ไม่ได้กำไรด้วย"

หลังจากที่วิชิตขายหุ้นแล้ว เขาเดินทางไปพักรักษาตัวที่สหรัฐฯ เป็นเวลากว่า 2 ปี เมื่อกลับมานั้นเขายังมีหุ้นอยู่ในบัวหลวงประกันภัยอีกในนามของบริษัทไทยเอเซียลิสซิ่ง จำกัด จำนวน 7,640 หุ้น แต่เขาไม่เคยได้รับทราบข่าวอะไรจากบริษัทบัวหลวงเลย แม้แต่เรื่องการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี เขาก็ไม่เคยทราบข่าว ส่วนเรื่องรายงานประจำปีนั้นเป็นอันไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่มีการส่งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบแต่อย่างใดและในงบดุล/งบกำไรขาดทุน เท่าที่ "ผู้จัดการ" สอบค้นมาก็ปรากฎว่าไม่มีตัวเลขแสดงเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

จวบจนทุกวันนี้วิชิตตั้งความหวังว่าหากมีการเทคโอเวอร์บริษัทจริง เขาอาจจะยอมขายหุ้นบัวหลวง แต่จะราคาเท่าใดก็ต้องมีการเจรจากันก่อน

ความหวังของวิชิตจะเป็นจริงเพียงใด ในเมื่อเงื่อนไขการเจรจาซื้อบัวหลวงนั้น ไม่มกีารระบุว่าผู้ถือหุ้นเก่า ๆ จะได้รับอะไรบาง บางทีพวกเขาอาจต้องถือเอาไว้อย่างนั้น แล้วรอให้วัฏจักรการซื้อแล้ว เจ๊งแล้วซื้ออีกเจ๊งอีกผ่านไปไม่รู้กี่รอบก็เป็นได้ เหมือนอย่างผู้ถือหุ้นดั้งเดิมแต่สมัยเป็นรวมรถยนต์ที่ก็ถือไว้โดยไม่ได้รู้เลยว่าบริษัทเดิมนั้นเปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว 2 ครั้งและกำลังจะเปลี่ยนอีกเป็นครั้งที่ 3

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us