Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
Take-a-nap ห้องงีบของนักเที่ยวแบกเป้             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

Take a Nap Homepage

   
search resources

Hotels & Lodgings
ชลลดา ตติยพงศ์พินิจ
Take a Nap




ว่ากันว่า คนแบบเดียวกันย่อมเข้าใจกัน คนที่ชอบเหมือนกันก็น่าจะสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองให้คนกลุ่มเดียวกันได้ดีกว่า "Take-a-nap" โรงแรมเพื่อ backpacker โดย backpacker กำลังทำหน้าที่พิสูจน์คำพูดนี้ ท่ามกลางภาวะยากลำบากของท่องเที่ยวไทย

ถัดจากถนนแห่งแสงสียามราตรีของสีลม ผ่านย่านพัฒนพงษ์ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้ชื่อว่า มีความหลากหลายของนักท่องเที่ยวมากที่สุด แห่งหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพฯ เดินเพียง ไม่ไกลกระทั่งเลี้ยวตรงหัวมุมที่แยกสุรวงศ์ ทันใดนั้นความเงียบสงบอันเป็นปกติในยามวิกาลก็เข้ามาปกคลุม ท่ามกลางตึกแถวร้านค้าบนถนน พระรามสี่ มีโรงแรมเล็กๆ แทรกตัวอยู่อย่างเจียมตัว

หญิงสาวหน้าตาจิ้มลิ้มในวัยเพียง 28 ปี กำลังขะมักเขม้นแนะนำ แบ็กแพ็กเกอร์สาวผมทองวัยไล่เลี่ยกันให้ทดลองไปใช้บริการนวดแผนไทยที่วัดโพธิ์ นอกจากจะเป็นต้นตำรับการนวดแผนไทย วัดโพธิ์ยังเป็น แลนมาร์คการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ที่สำคัญยังสบายกระเป๋าสตางค์ใบน้อยของนักท่องเที่ยวแบกเป้อีกด้วย

การพูดคุยและแนะนำข้อมูลการท่องเที่ยวแก่ลูกค้าถือเป็นหน้าที่ที่ "ชลลดา ตติยพงศ์พินิจ" ยินดีเข้ามาทำเป็นประจำจนกลายเป็นภาพคุ้นชินของเหล่าพนักงานและแขกที่เข้าพัก เธอไม่ได้ทำกิจวัตรนี้เพียงเพราะสาเหตุที่เธอเป็นเจ้าของโรงแรม แต่เป็นเพราะเธอชอบพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น กับผู้คน โดยเฉพาะผู้คนจากต่างวัฒนธรรม ...อันเป็นวัตถุประสงค์เดียวกับการแบกเป้เที่ยวของเธอ

หลังเรียนจบ ชลลดาเข้าทำงานเป็นสถาปนิกในบริษัทรับออกแบบชื่อดังอย่าง RMJM Thailand และ Design 103 International พร้อมดำรงตำแหน่ง "แบ็กแพ็กเกอร์ตัวยง"ควบไปด้วย จนกระทั่งเธอบินไปเรียนต่อที่ประเทศเดนมาร์ก เพื่อซึมซับบรรยากาศบ้านเมืองและงานดีไซน์เฟอร์นิเจอร์สไตล์สแกนดิเนเวียนที่กำลังมาแรงในช่วงนั้น จากนั้นเส้นทางชีวิตของเธอก็หักเห

ชลลดาและเพื่อนแบกเป้เที่ยวลุยยุโรปฝั่งตะวันตกจนครบทุกประเทศ จากการเดินทางท่องเที่ยวครั้งนั้นทำให้เธอมีภาพจำแบบโหดมันส์ฮาที่น่าประทับใจเพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตามหากระเป๋าสตางค์ที่ถูกขโมย จนต้องพลาดไฟลต์ เมื่อไม่มีเงินกลับเข้าเมือง ไม่มีเงินจ่ายค่าที่พัก เธอและเพื่อนก็เลยต้องหลบตำรวจสนามบินเข้าไปนอนในห้องน้ำสนามบิน ร่วมกับแบ็กแพ็กเกอร์อีกหลายเชื้อชาติที่ต้องการประหยัดเงิน หรือแม้แต่ประสบการณ์นอนข้างถนนก็ทำมาแล้ว

ส่วนทริปที่เธอประทับใจมากที่สุด คือการเดินทางในประเทศเยอรมนี ด้วยความผสมผสานอย่างกลมกลืนและลงตัวระหว่างประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมดั้งเดิมกับ "ของใหม่" ที่เข้ามา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนเยอรมันสามารถ จัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีแค่ไหน

การตะลอนเที่ยวยุโรปครั้งนี้ ชลลดาได้แรงบันดาลใจ สำคัญจาก "ระหว่างทาง" ที่กลายเป็นแรงขับดันให้เธออยากกลับมาเปิดโรงแรมประหยัดงบสำหรับนักแบกเป้เที่ยว หรือที่นักเดินทางรุ่นเยาว์รู้จักกันดีในนาม "Hostel"

"นักท่องเที่ยวที่นั่นให้ความสำคัญกับการเที่ยวกันอย่างจริงจัง หลายคนลาออกจากงานขายบ้านขายรถ "ทุบหม้อข้าว" แล้วเอาเงินมาเที่ยวอย่างเดียวเป็นปีๆ เลย เที่ยวเสร็จแล้วค่อยกลับไปเริ่มต้นทำงานหาเงิน แต่ที่ฟังแล้วตกใจที่สุดคือ บางคนท่องเที่ยวมา 5 ปีแล้วยังไม่ยอมเลิก เราก็เลย คิดว่าราคาที่พักคงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนพวกนี้ เพราะเขาไม่ได้พกเงินมาเที่ยวอย่างฟุ้งเฟ้อแต่มีงบจำกัดเพื่อให้ได้เที่ยวไปเรื่อยๆ" ชลลดาเล่าถึงแรงดลใจ

ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากครอบครัว ชลลดาในวัย 25 ปี ตัดสินใจลาออกจากอาชีพสถาปนิกอย่างเด็ดเดี่ยว เพื่อ มาชิมลางธุรกิจโรงแรมร่วมกับเพื่อน ด้วยการเปิด "Urban Age" โฮสเทลสไตล์หอพักรวมขนาดเพียง 1 คูหา ตั้งอยู่บน ถนนสีลม ซอย 8 สนนราคาที่พักเพียงคืนละ 800 บาท เทียบกับชื่อชั้นของ "สีลม" ย่านธุรกิจที่เคยขึ้นชื่อว่ามีราคาที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย

ถัดมา 2 ปี ชลลดาชวนน้องชายในวัยเพียงไม่ถึง 22 ปี เพื่อมาร่วมลงทุนเปิดโรงแรมสไตล์โฮสเทลอีกแห่งไม่ไกลจาก แห่งแรกนัก ครั้งนี้นอกจากพ่อแม่จะไม่ปราม ทั้งคู่ยังร่วมลงทุน กับเธออีกด้วย ห้องแถว 2 คูหาถูกปรับปรุงตกแต่งให้มีอารมณ์ สนุกสนานขี้เล่นและดูน่ารักกิ๊บเก๋ สมกับชื่อ "Take-a-nap"

ทั้ง 30 ห้องถูกตกแต่งอย่างแตกต่างถึง 30 ธีม ห้องส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยสติ๊กเกอร์กราฟิกขนาดใหญ่บนผนัง ห้องธีม ป็อบอาร์ตสีเขียวสะท้อนแสงเข้ากับกราฟิกหญิงสาวในอาการตกใจให้อารมณ์ตื่นเต้นตื่นตาถูกใจสาวน้อยที่ชอบเดินทางคนเดียว ห้องเล็ทสร็อค (Let's Rock) เป็นกราฟิกผู้คนกำลังเริงรื่นอยู่ในคอนเสิร์ตร็อก บนพื้นสีส้มแป๊ดดูสนุกสนานเร่าร้อนเป็นที่ชื่นชอบ ของนักเที่ยวหนุ่มร็อควัยอ่อน ส่วนใครที่หลงใหลความลึกลับ ห้อง 303 ที่ทาทึบด้วยสีดำ กิมมิคที่เล่นสนุกกับหมายเลขห้อง ซึ่งบางประเทศถือว่า 303 เป็นเลขอันตราย ก็มีไว้ท้าทายความกล้าของนักเที่ยวฝรั่งหลายคน

ไม่เพียงห้องเดี่ยว ที่โรงแรมแห่งนี้ยังมีห้องคู่สำหรับนักแบกเป้ที่มากันเป็นคู่ และยังมีห้องแบบ dormitory หรือหอนอนสำหรับแขกที่มากันเป็นกลุ่มก้อน หรือแขกที่ต้องการพักรวม เพื่อประหยัดงบการเดินทางและหาเพื่อนใหม่ไปพร้อมกัน โดยมีตู้นิรภัยขนาดเล็กไว้ให้เป็นส่วนตัวสำหรับทุกเตียง

นอกจากสไตล์การตกแต่งห้องพักด้วยสีสันฉูดฉาด บางส่วนอาจมีสีเข้มแต่เน้นภาพวาดการ์ตูนน่ารักๆ ของนักเที่ยวในผับบาร์ บางภาพรถตุ๊กตุ๊กและพระปรางค์วัดอรุณฯ สีสด เกือบทุกห้องมีธีมที่ให้ความรู้สึกถึงความร้อนแรงดูแตกต่างจากโรงแรมส่วนใหญ่ที่มักเรียบสงบเพื่อให้แขกเข้าถึงห้วงแห่งการพักผ่อนขั้นสูงสุด

"ที่อื่นคงอยากให้แขกหลับสบาย แต่เราอยากให้แขกอยู่แล้วตื่นเต้นร้อนรนกับทำเล อยากให้แขกมีไฟในการเที่ยวสนุก ไม่อยากให้มาที่โรงแรมเพื่อเอาแต่นอนอย่างเดียว เพราะย่าน สีลมไม่เคยหลับ มีสีสัน และมีชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง เราอยากให้แขกเข้ามาโรงแรมแค่นอนสักงีบให้พอมีแรงเที่ยวต่อก็พอ เราถึงตั้งชื่อโรงแรมนี้ว่า take-a-nap" ชลลดาเล่าพร้อมเสียงหัวเราะ

อาจฟังดูน่าขันแต่นักเที่ยวหลายคนซื้อไอเดียของเธอ โดยเฉพาะ "ชาวสีม่วง" เนื่อง จากทำเลแถบนี้ถือเป็นโซนใหม่ของเกย์ที่กำลังค่อยๆ เติบโตต่อจากพัฒนพงษ์และธนิยะ

แม้จะตั้งใจให้เป็นแค่ "ห้องงีบ" แต่นอกจากเตียง ภายในห้องพักก็ยังมีทีวี และ wi-fi ให้แขกได้ใช้ฟรี สนนราคา ค่าที่พักแบบห้องพักมีตั้งแต่ 800-1,500 บาท และแบบหอนอน เพียงเตียงละ 350 บาทต่อคืน

"เวลาไปเที่ยวเอง มักจะเจอปัญหาเดิมๆ คือหาที่ใช้อินเทอร์เน็ตลำบาก ซึ่งเราเข้าใจดีว่า คนที่เที่ยวนานๆ บางที เขาก็อยากสื่อสารกับแฟนบ้าง ครอบครัวบ้าง บางคนก็อยากโหลดรูปอวดให้เพื่อนฝูงดูบ้าง เราก็เลยมี wi-fi ให้แขกใช้ได้ทุกห้อง และมีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางให้แขกใช้ฟรีเลย" ชลลดาเล่าปัญหาที่แบ็กแพ็กเกอร์มักเจอ

ชลลดาเข้าใจดีด้วยว่า มีอีกสิ่งสำคัญที่นักเที่ยวแบกเป้ ส่วนใหญ่ล้วนแสวงหา นั่นคือ "มิตรภาพระหว่างทาง" เธอจึงจัดพื้นที่ชั้นล่างทั้งหมดเป็น "public area" หน้าล็อบบี้มีโซฟานั่งเล่นและอินเทอร์เน็ตให้ใช้ฟรี หลังเคาน์เตอร์ต้อนรับ เป็นห้องอาหารเช้าที่มองหาโต๊ะอาหารแบบทั่วไปไม่เจอ แต่เป็นที่นั่งเรียงติดกันเป็นแถวและโซฟานั่งเล่น รวมทั้งโต๊ะพูลกลางห้อง เพื่อเพิ่มโอกาสให้แขกได้พบปะสบตาและพูดคุยกัน

จากอาชีพสถาปนิกที่หลายคนมองว่าเป็นกลุ่มคนที่มี "ego" สูง แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโรงแรม ซึ่งบริการถือเป็นหัวใจสำคัญ ชลลดามีคติสั้นๆ ในการสร้างจิตวิญญาณแห่งงานบริการให้ตัวเองและพนักงาน นั่นคือ ไม่ว่าจะแขกจะมีปัญหาอะไร ไม่ว่าจะทำ ได้หรือไม่ อย่างไรก็ต้องยิ้มและพยายามแก้ไขให้ได้...

"ตอนเป็นสถาปนิก เราถือว่าเราขายความคิด แน่นอน! เวลาขายความคิด เราก็ต้อง มี ego ไม่อย่างนั้นเราจะชวนเชื่อหรือจูงใจลูกค้าได้ยังไง แต่พอมาทำโรงแรม ตรงนี้เราขายบริการ ดังนั้นลูกค้าต้องมาก่อน" เธอย้ำ

Take-a-nap เปิดดำเนินงานมาปีกว่า ด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นของโรงแรมสร้างกระแส ตอบรับเป็นอัตราจองห้องสูงสุดกว่า 80% ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะลดลงเรื่อยมาในช่วงโลว์ซีซั่น แต่ถึงกระนั้น ณ วันธรรมดา (weekday) ที่ "ผู้จัดการ" เข้าไปเก็บรูป ก็มีห้องว่างเหลือให้ถ่ายทำเพียง 2 ห้อง ขณะที่อีกห้องเพิ่งเช็กเอาต์

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ยอดจองเกือบครึ่งถูกยกเลิก เนื่องจาก สถานการณ์การเมืองในประเทศไทย ซึ่งก็ทำให้เธอเครียดขึ้นมาอีกนิดแต่ไม่ถึงกับท้อ นับตั้งแต่ผันชีวิตมาเป็นเจ้าของโรงแรม ชลลดาเองก็ไม่เคยคิดว่า หน้าที่ตรงนี้จะทำให้เธอต้องห่างหายจากการแบกเป้ท่องเที่ยวมานานร่วม 4 ปีมาแล้ว แม้จะโหยหาเพียงใด แต่เธอก็รู้ว่าเธอยังมีภาระต้องประคบประหงม Take-a-nap ให้เข้าที่เข้าทางมากกว่านี้ โดยเฉพาะในยามนี้ด้วยแล้ว

อย่างไรก็ดี อย่างน้อยชลลดาก็ยังได้มิตรภาพมากมายจากแขกต่างวัฒนธรรมที่นิยมสไตล์การเที่ยวแบบเดียวกันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง โดยหวังว่าอีกไม่ถึง 2 ปี เธอน่าจะว่างพอวางภาระที่แบกไว้เปลี่ยนไปแบกเป้ใบใหญ่ออกท่องโลกอีกครั้ง และแน่นอนว่าเธอก็คงกลับไปใช้บริการโฮสเทลอีกเช่นเคย

"เพราะเราเที่ยวแบบนี้ เราชอบแบบนี้ และเราก็เข้าใจคนกลุ่มนี้" เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า เหตุใดเธอจึงเลือกเปิดโฮสเทลแทนโรงแรมบูติก ซึ่งน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรที่เธอมีได้มากกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us