|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2551
|
|
ดูไบ เมืองแห่งอนาคตที่กำลังเปิดประตูให้นักลงทุนจากทุกมุมโลกเข้าไปแสวงหาโอกาสใหม่ๆ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนเริ่มต้นที่จะศึกษาดูไบอย่างจริงจังหรือยัง?
ในความเป็นจริงโอกาสของนักลงทุนไทยในดูไบ เริ่มต้นมากว่า 30 ปี แต่อยู่ในภาคส่วนธุรกิจก่อสร้างที่เน้นใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 10,000 คน ด้วยแรงงานที่เพิ่มขึ้นทำให้กระทรวงแรงงานมีแผนที่จะไปตั้งสำนักงานแรงงานเพื่อดูแลคนไทยโดยเฉพาะ
ปัจจุบันมีคนไทยเข้าไปทำงานอยู่ในดูไบประมาณ 12,000 คน จากเดิม 4,000 คน มีธุรกิจหลากหลายที่เข้าไปแล้วส่วนหนึ่ง
ด้วยฝีมือแรงงานไทยที่มีความประณีตสูงทำให้ได้รับค่าจ้างสูงกว่าแรงงาน ชาติอื่นๆ จนทำให้บริษัทก่อสร้างมีชื่อเสียง ไปด้วยและบริษัทที่ดำเนินธุรกิจนี้ในปัจจุบัน เช่น บริษัท นวรัตน์-อิตาเลียนไทย จำกัด บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซินเน็กซ์ จำกัด ส่วนธุรกิจการค้าและธุรกิจต่อเนื่องมีบริษัท ซิเมนต์ไทย ธุรกิจบริการเครือดุสิตธานี ร้านอาหารไทยและธุรกิจสปา นอก จากนี้มีธุรกิจค้าปลีก อาทิ ซีเอ็ม ซูเปอร์ มาร์เก็ต และกรีน เฮาส์
ปสันน์ เทพรักษ์ กงสุลใหญ่รัฐดูไบ บอกว่านักลงทุนไทยมีโอกาสลงทุนได้อีกในหลายๆ ส่วน เช่น ส่งออกสินค้าที่เกี่ยว ข้องกับการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ พรม เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และอาหารฮาลาล
สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบและสามารถผลิตได้เองที่ยูเออีและรัฐดูไบยังต้องการอย่างมากคือ ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง นอกเหนือจากนั้นยังมีความต้องการทางด้านเครื่องประดับอัญมณี เหล็กและเคมีภัณฑ์
ธุรกิจการเงินเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่ไทยมีโอกาสเข้าไปศึกษาและลงทุนหลังจากที่ดูไบมีนโยบายชัดเจนที่จะเป็นศูนย์กลางการเงินระดับภูมิภาคหลังจากที่ได้เปิดตลาดหลักทรัพย์นานาชาติดูไบ (DIFX) เพื่อเปิดรับทุนต่างชาติ
ตลาดหลักทรัพย์ในดูไบได้กลายเป็นช่องทางใหม่ให้กับนักลงทุนไทยได้มีโอกาสแสวงหาประโยชน์ด้านการลงทุนหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ทั่วโลกกำลังระส่ำกับวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาให้นักลงทุนไทยสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ (offshore) ได้อย่างอิสระมากขึ้น
ก่อนหน้านั้น "ผู้จัดการ" สัมภาษณ์ บริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่รับเป็นที่ปรึกษาให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะ
ชัยภัทร ศรีวิสารวาจา ประธานกรรมการบริหารซีมิโก้บอกว่า เขาจะเข้า ไปศึกษาตลาดทุกแห่งที่ให้โอกาสการลงทุน ไม่ว่าตลาดนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลแค่ไหนก็ตามและซีมิโก้เป็นบริษัทอันดับต้นๆ ที่ประกาศจะไปลงทุนในตลาดออฟชอร์
นอกจากโอกาสลงทุนทางการเงิน ในส่วนของธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่าย ก็มีช่องทางเช่นเดียวกัน ซึ่งปิลัณ พานิชศุภผล Executive Director Thai Trade Center Dubai กล่าวเสริมว่านักลงทุนก่อนที่จะตัดสินใจไปลงทุนจะต้องศึกษาตลาดให้เข้าใจเป็นอย่างดีและต้องเดินทางบ่อยเพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจเพื่อให้เกิดความไว้ใจเพราะการทำธุรกิจในดูไบ แตกต่างกับนักธุรกิจตะวันตกที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักสนิทสนม
การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีแล้ว การเรียนรู้วัฒนธรรมและสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะประชากรสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมาณ 96% นับถือศาสนาอิสลาม
การทำธุรกิจบางอย่างต้องศึกษาให้ ถ่องแท้ โดยเฉพาะสินค้าที่ติดเครื่องหมายฮาลาลเพราะบางครั้งจุดแข็งของสินค้าที่นำมาจำหน่าย อาจกลายเป็นจุดอ่อนได้โดยไม่รู้ตัว
อย่างอาหารฮาลาลที่ผ่านกระบวน การผลิตตามหลักศาสนา ซึ่งปิลัณยกตัวอย่างน้ำจิ้มไก่ที่มีตราสัญลักษณ์ฮาลาลและวางอยู่บนชั้นจำหน่ายสินค้าเทียบเคียง กับน้ำจิ้มไก่จากประเทศฟิลิปปินส์ คนจะเลือกซื้อสินค้าของฟิลิปปินส์แทน เพราะเครื่องหมายฮาลาลที่ติดอยู่กับสินค้าบางครั้งทำให้ผู้ซื้อเกิดความสงสัยแหล่งผลิตอาจมีความไม่ปลอดภัยเพียงพอจึงทำให้ต้องติดเครื่องหมาย ในขณะที่สินค้าประเภทเดียวกันไม่มีเครื่องหมายฮาลาล แสดงให้เห็นว่าไม่มีปัญหาด้านการผลิต
แต่หากไทยเข้าใจในการรับรองตราฮาลาลและสามารถอรรถาธิบายให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตราฮาลาลนี้ก็จะกลายเป็นจุดแข็งที่ยั่งยืนได้ กลายไปเป็นความได้เปรียบในที่สุด อย่างเช่นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 สภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มีมติรับรองตราฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในการรับรองโรงฆ่าไก่ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาและโรงงานแปรรูป เนื้อไก่ประเทศไทยทำให้สามารถส่งออกไปยังสำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
การเรียนรู้จักตลาดที่ผู้บริโภคนับถือศาสนาอิสลามยังเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
ส่วนระบบกฎหมายที่ใช้ปกครองทั้ง 7 รัฐในยูเออีจะใช้กฎหมาย 2 ระบบควบคู่กันไปคือ ระบบกฎหมายชารีอะห์ (Shari'a) ของศาสนาอิสลามและระบบศาลแพ่ง
แม้ว่าจะมีกฎหมายดูแลรัฐโดยรวมแล้ว ในแต่ละรัฐยังมีกฎระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองโดยมีเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบาย
ฉะนั้นอุปสรรคทางด้านการค้าร่วมทุนยังทำให้เข้าถึงตลาดได้ยากยังมีอยู่ อาทิ มาตรการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของชาว ต่างชาติได้ไม่เกินร้อยละ 49 การทำธุรกิจทุกชนิดต้องมีชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้อุปถัมภ์ (local sponsor) เป็นเจ้าของทะเบียนการค้า (trade license) ส่วนต่างชาติที่ร่วมดำเนินธุรกิจเป็นเพียงผู้บริหารจัดการและต้องจ่ายค่าอุปถัมภ์ในอัตราที่ตกลงกันทุกปี
ด้วยเชื้อชาติและศาสนาที่แตกต่างกันทำให้ประชาชนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เลือกที่จะทำธุรกิจกับคนชนชาติเดียวกันเป็นลำดับแรก อาทิ ปากีสถานอินเดีย อียิปต์ หากฝ่ายไทยไม่สามารถเข้า ถึงผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของกิจการที่เป็นคนท้องถิ่นโอกาสที่ไทยจะเจาะตลาดจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
การศึกษาประเทศ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่ต้องการเข้าไปลงทุนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากรัฐมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะดูไบยังเป็นตลาดที่น่าเรียนรู้อีกมาก
|
|
|
|
|