Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
สโกเทียแบงก์พลิกวิกฤติเป็นโอกาส             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

บทเรียน ยุทธศาสตร์ และโอกาสบนสถานการณ์วิกฤติ
ยุคใหม่ของทุนนิยมโลก เริ่มต้น ณ บัดนี้
การล่มสลายของ America Inc.
ดูไบ มหานครแห่งความมั่งคั่ง
เอไอจีและเอไอเอความเชื่อมั่นที่ซื้อไม่ได้
ไอเอ็นจีสะเทือน
Shinsei Bank และ Tokyo Star Bank โอกาสบนซากผุพัง

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารธนชาต
โฮมเพจ ธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย

   
search resources

ธนาคารธนชาต, บมจ.
Banking
ธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย
Rick Waugh




ท่ามกลางปัญหาที่กำลังปั่นป่วนอยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่กำลังหาทางออกเพื่อประคับประคองให้สถาบันการเงินอยู่รอด ทว่าสถาบันการเงินบางแห่งนอกจากจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้ว ยังใช้วิกฤติพลิกสถานการณ์ให้เป็นโอกาสด้วยการขยายธุรกิจให้เติบโตมากกว่าเดิม

สโกเทียแบงก์ สถาบันการเงินทวีปอเมริกาเหนือจากแคนาดาที่มีอายุ 176 ปีแทบจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวหลังจาก ริค วา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย (สโกเทียแบงก์) กล่าวคำยืนยันครั้งล่าสุดหลังจากที่เดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของริค วา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรธนาคารธนชาตให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางด้านการเงินเพราะหลังจากที่สถาบันการเงินเลห์แมน บราเธอร์ ประกาศ ล้มละลายเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้ วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกายังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยุโรปและเอเชีย

สถานการณ์ดังกล่าวได้สร้างความไม่เชื่อมั่นเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่ร่วมลงทุนกับกลุ่มสถาบันการเงินที่อยู่ในสหรัฐ อเมริกาและยุโรปต่างไม่เชื่อถือในกันและกัน

ธนาคารธนชาตเป็นสถาบันการเงิน พาณิชย์ไทยที่เปิดทางให้สโกเทียแบงก์เข้าร่วมถือหุ้น 24.99% เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา

แต่ดูเหมือนว่าสโกเทียแบงก์ได้ตระหนักถึงข้อวิตกกังวลของธนาคารธนชาต ทำให้ริค วา ในฐานะผู้บริหารสูงสุดได้เดินทางมาพบผู้บริหารธนชาตด้วยตัวเอง

วายืนยันว่าสโกเทียแบงก์ไม่ได้เข้า ไปลงทุนในตราสารหนี้ด้อยคุณภาพ CDO ที่เป็นชนวนของปัญหาซับไพร์มในปัจจุบัน ได้ชี้ให้เห็นว่าสโกเทียแบงก์มีสถานภาพมั่นคง ปัจจุบันมีสินทรัพย์รวม 462 พันล้าน เหรียญสหรัฐ (ข้อมูล 31 กรกฎาคม 2551) เป็นธนาคารที่มีรายได้ติด 1 ใน 5 ของโลก

กลุ่มสโกเทียแบงก์และบริษัทในเครือให้บริการลูกค้าประมาณ 12.5 ล้านคนใน 50 ประเทศทั่วโลก สโกเทียแบงก์มีบริการทางด้านการเงินที่หลากหลาย อาทิ บริการทางการเงินส่วนบุคคล บริการทาง การเงินสำหรับธุรกิจและการลงทุน และยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์โตรอนโต (BNS) และตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก (BNS)

ยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจของสโกเทียแบงก์ คือการสร้างเครือข่ายและสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจต่างประเทศโดยใช้รูปแบบการเติบโตจากภายใน (organic growth) และเติบโตด้วยการควบรวม (acquisition)

ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตแบบควบรวมมุ่งให้บริการพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่แล้วและรวมไปถึงตลาดใหม่ๆ อย่างประเทศไทย และจีน เป็นต้น

ใบหน้าที่มีรอยยิ้มและท่าทางที่เต็มไปด้วยความมั่นอกมั่นใจของริค วา ที่แสดงความไร้กังวลกับวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นและเขาเองยืนยันว่าหากเขาไม่มั่นใจในสถานภาพการเงินของธนาคารเขาคงไม่มานั่งอยู่ในเมืองไทยในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ก่อนที่จะมาเยือนเมืองไทยเขายังได้เดินทางไปเยี่ยมพันธมิตรร่วมทุนที่ประเทศจีนอีกด้วย

การมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยของริค วา มีนัยสำคัญนอกเหนือจากการสร้าง ความเชื่อมั่นกับธนาคารธนชาตแล้ว เขาต้องการเร่งให้สรุปผลการถือหุ้นเพิ่มทุนในธนาคารธนชาตเป็น 49% จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 24.99% เพราะก่อนหน้านี้ ธนชาตแถลงการณ์ไว้ว่าสโกเทียแบงก์จะเพิ่มหุ้นภายในกลางปีที่ผ่านมา

ซึ่งริค วา ให้เหตุผลถึงการเข้าไปถือหุ้นล่าช้าเป็นเพราะว่าติดขัดด้านเอกสาร แต่การเดินทางมาครั้งนี้ของเขาส่วนหนึ่งเพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเป็นหน่วย งานกำกับดูแลซึ่งต้องระมัดระวังการอนุญาต ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมทุนกับต่างชาติในภาวะวิกฤติเช่นนี้

การถือหุ้นเพิ่ม 49% ในครั้งนี้ สโกเทียแบงก์จะต้องเพิ่มเงินลงทุนอีก 250 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่ลงทุน 240 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7.1 พันล้านบาทกับหุ้นที่ถืออยู่ในปัจจุบัน 24.99%

สโกเทียแบงก์ได้พยายามแสดงให้ทั้งพันธมิตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ว่าการมาของธนาคารแห่งนี้ไม่ได้มาเพียงไม่กี่ปี แต่แบงก์ได้เข้ามาเริ่มทำธุรกิจในประเทศตั้งแต่ 27 ปีที่ผ่านมา หรือเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2524

สโกเทียแบงก์มาในฐานะธนาคารต่างชาติดำเนินธุรกิจบริการและผลิตภัณฑ์ ด้านการเงินแก่องค์กรและธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น บริการสินเชื่อ บริการการเงินด้านการค้าระหว่างประเทศ การบริหารการ เงิน ธุรกิจค้าโลหะมีค่า การให้กู้ยืมโครงการ ธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อสำหรับธุรกิจรายย่อย

ที่สำคัญสโกเทียแบงก์พยายามชี้ให้เห็นว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือต้มยำกุ้งในประเทศไทย ธนาคารแห่งนี้ ได้นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

สายสัมพันธ์ระหว่างธนาคารธนชาต กับสโกเทียแบงก์ผูกพันกันมายาวนานกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ธนาคารยังมีชื่อเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) ธนชาติ จำกัด จนกระทั่งเกิดการร่วมทุนยิ่งทำให้ธนาคารทั้งสองแน่นแฟ้นกันมากยิ่งขึ้น

สโกเทียแบงก์เป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ร่วมในกรณีการปล่อยกู้ให้กับศูนย์การค้ามาบุญครอง ซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์และบงล.ธนชาติเป็นแกนนำ และวงเงินกู้ครั้งนี้ ถือเป็นกรณีการติดตามหนี้ที่ฮือฮามากเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน (รายละเอียดกรณีมาบุญครอง สามารถหาอ่านได้ใน www. gotomanager.com)

จุดแข็งของธนาคารธนชาตคือบริการเช่าซื้อรถยนต์ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจ ของธนาคารให้อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ส่วนสโกเทียงแบงก์มีจุดแข็งเงินทุนและประสบการณ์ด้านการเงิน รวมถึงมีเครือข่ายใน 50 ประเทศทั่วโลก และเมื่อต้นปีที่ผ่านธนาคารธนชาต ประกาศนโยบายชัดเจนเพื่อจะเป็น Universal Banking ธนาคารที่ให้บริการครบวงจรภายใน 3 ปี นั่นหมายความว่าจะต้องเร่งสร้างสาขาและบริการตู้เอทีเอ็มให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การไต่ระดับของธนาคารธนชาตในสถานภาพที่เป็นธนาคารขนาดเล็กในปัจจุบันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะโตให้รวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งธนาคารตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงเริ่มตั้งเป้าหมายไปเป็นธนาคารขนาดกลางก่อนพร้อมกับเร่งขยายสาขาให้ครบ 400 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2553 จากปัจจุบันที่ 177 สาขา และเพิ่มตู้เอทีเอ็มเป็น 525 ตู้ จากปัจจุบันมี 300 ตู้

การเร่งเปิดสาขาเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อต้องการให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยให้เร็วที่สุด เพราะกลุ่มลูกค้าเหล่านี้จะเป็นลูกค้าในอนาคตที่จะสร้างฐานรายได้ใหม่ให้เกิดขึ้น จากเดิมที่มีจุดแข็งให้บริการเช่าซื้อรถยนต์

กลุ่มลูกค้ารายย่อยเป็นกลุ่มลูกค้าที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย อาทิ เงินฝาก สินเชื่อ เอทีเอ็ม บริการประกันชีวิต บริการกองทุน หรือบริการหลักทรัพย์ ซึ่งบริการเหล่านี้บริษัทในเครือของธนชาตให้บริการอยู่ในปัจจุบันแต่ด้วยฐานลูกค้ามีไม่มากการทำตลาดจึงไม่เด่นชัด

วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นจังหวะและโอกาสของสโกเทียแบงก์ที่มุ่งหาตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย จึงเป็นตลาดเกิดใหม่ที่อยู่ในช่วงขาขึ้น

บรรยากาศที่คุกรุ่นของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกแต่สโกเทียแบงก์กำลังวิ่งสวนทางวิกฤติและฉวยโอกาสที่เห็นอยู่ข้างหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us