|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2551
|
|
ปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบสถาบันการเงินในกลุ่มยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ธนาคารไอเอ็นจี ประเทศเนเธอร์แลนด์ 1 ใน 20 ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกก็ยังได้รับแรงกระแทกจนซวนเซเช่นเดียวกัน
ธนาคารไอเอ็นจีไม่ใช่สถาบันการเงินแรกของยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา แต่ก่อนหน้านี้ธนาคารฟอร์ติส สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 1 ของเบลเยียมต้องรับความช่วยเหลือมูลค่า 1.12 แสนล้านยูโรจากรัฐบาลเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก
แบรดฟอร์ด แอนด์ บิงลีย์ สถาบันปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของอังกฤษก็ถูกรัฐบาลเข้าไปควบคุมกิจการไปแล้ว
รวมถึงรัฐบาลเยอรมนีร่วมกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกันภายในประเทศจัดตั้งวงเงินกู้ฉุกเฉินให้กับบริษัท ไฮโป เรียล เอสเตท สถาบันการเงินด้านการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของเยอรมนี หลังจากบริษัทขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรปยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา รัฐบาลเนเธอร์ แลนด์ได้ประกาศอัดฉีดเงินจำนวน 1 หมื่น ล้านยูโร หรือ 1.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับธนาคารไอเอ็นจีเพื่อเสริมสภาพคล่องจากผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งความช่วยเหลือนี้เกิดขึ้นภายหลังที่ธนาคารไอเอ็นจีได้ประกาศว่าผลประกอบการในไตรมาส 3 อาจต้องขาดทุนราว 500 ล้านยูโร
เพื่อป้องกันความแตกตื่นของลูกค้า ไอเอ็นจี 85 ล้านรายทั่วโลกที่ใช้บริการผ่านธนาคารและบริษัทลูกที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน อาทิ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และธุรกิจประกันภัย
การเร่งดำเนินการนี้เพื่อสยบข่าวลือ ที่แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็วถึงความไม่มั่นคงของธนาคารทำให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรต้องทำงานอย่างหนักเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านทั้งงานแถลงข่าวและเอกสาร ข่าวไปยังสื่อสารมวลชนทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย
ไอเอ็นจีเข้ามาลงทุนธุรกิจในเมืองไทยหลายประเภท ธุรกิจหลักทรัพย์จัดการ กองทุน ธุรกิจประกันชีวิต ล่าสุดได้เข้าไปถือหุ้นในธนาคารทหารไทยในฐานะผู้ถือหุ้น ใหญ่ จำนวน 26.4%
ในเอกสารข่าวได้เปิดเผยคำพูดของ Michel Tilmant CEO ของไอเอ็นจี กรณีภาครัฐเข้ามาเพิ่มทุน เขาบอกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มสำรองเงินทุนเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันของธนาคารภายใต้สภาพตลาดที่เปลี่ยน แปลงไป
พร้อมกันนี้ในเอกสารข่าวยังได้ชี้แจงถึงจำนวนเงิน 1 หมื่นล้านยูโรจะไปอยู่ ณ จุดใดบ้าง และไอเอ็นจีได้วางแผนนำเงินจำนวนดังกล่าว โดยเงินจำนวน 5 พันล้านยูโรจะนำไปเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้นในธนาคารไอเอ็นจี ส่วนเงินอีก 2 พันล้านยูโรจะเพิ่มในงบดุลธุรกิจประกันชีวิตและอีก 3 พันล้านยูโรจะนำไปลดสัดส่วนของหนี้รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในไอเอ็นจี กรุ๊ป จาก 15% ให้เหลือประมาณ 10%
ฮานส์ แวนเดอร์ นอร์ดา ผู้บริหารไอเอ็นจีที่ดูแลธุรกิจประกันชีวิตในเอเชียแปซิฟิกบอกว่ายังเชื่อมั่นในการทำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและถ้ามีโอกาสจะขยายการลงทุนเพิ่มเติม
การรับมือกับข่าวที่แพร่กระจายออกไปทั่วโลกเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาของผู้บริหารไอเอ็นจีจากสำนักงานใหญ่และผู้บริหารที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยยืนยันถึงความแข็งแกร่งของไอเอ็นจีที่ยังคงมีอยู่และการที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือกลับกลายเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าและถือเป็นความเท่าเทียม ที่ได้รับความช่วยเหลือเฉกเช่นสถาบันการเงินอื่นๆ
ราเจช เสฐฐี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด ประจำประเทศ ไทย พยายามชี้ให้เห็นรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ไม่ได้เข้ามาถือหุ้นแต่เงินช่วยเหลือเปรียบเหมือนกับเป็นเกราะป้องกันไอเอ็นจี
ส่วนสถานภาพธุรกิจประกันในประเทศไทย เขายืนยันว่าไทยมีเงินทุน สำรอง 300% มีความแข็งแกร่งแต่ก็ยอมรับ ว่ามีความกังวลเช่นเดียวกันแต่หลังจากชี้แจงจะทำให้ลูกค้าเกิดความผ่อนคลายและบริษัทก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการตลาดที่กำหนดไว้รวมทั้งการตลาดจะร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้นโดยเฉพาะร่วมทำตลาดกับบริษัทในเครือของไอเอ็นจี
ยิ่งกว่านั้นบริษัทยังกำหนดเป้าหมาย อัตราการเติบโตปีละ 20-40% เช่นเดิม โดยในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 6 พันล้านบาทจากปี 2550 มีรายได้ 5 พันล้านบาทและปัจจุบันที่มีลูกค้า 225,000 ราย
ในส่วนของธนาคารทหารไทยที่มีไอเอ็นจีถือหุ้นหลักยังไม่มีความเคลื่อนไหวกรณีเรื่องดังกล่าวมากนัก และรามากริชนาน สุบรามาเนียน ประธานเจ้าหน้าที่บริการลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ยังยืนยันในความมั่นคงของไอเอ็นจี และการทำธุรกิจธนาคารภายใต้โมเดล Universal Banking ยังเหมาะสมกับสภาวะวิกฤติในปัจจุบันโดยเน้นให้บริการพื้นฐานผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคารโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ส่วนวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากสถาบันการเงินที่เน้นให้บริการในรูปแบบ Universal Banking แต่การล่มสลายเกิดจากบริการวาณิชธนกิจ หรือ Investment Banking (IB)
อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากวิกฤติ ครั้งนี้ไอเอ็นจีจะได้รับมากน้อยเพียงใดอาจยังไม่สามารถบอกได้ในเวลานี้เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นไม่นาน แต่ต้องดูผลในอีกสักระยะหนึ่งเพราะนักวิเคราะห์ต่างประเทศมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะซึมนานถึง 2 ปี
แต่ที่แน่ๆ ผู้ถือหุ้นได้รับผลไปแล้วเพราะไอเอ็นจีได้ตัดสินใจงดจ่ายเงินปันผลงวดสิ้นปี 2551 นั่นหมายถึงในปีนี้ไอเอ็นจีจ่ายเงินปันผลรวม 0.74 ยูโรต่อหุ้นตามที่ได้จ่ายไปแล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทของไอเอ็นจีทุกคนตัดสินใจงดรับเงินโบนัสประจำปีที่มาจากผลการดำเนินงานปีนี้ไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินสด option หรือหุ้นก็ตาม และกำหนดการชดเชยหากผู้บริหารลาออกก็จะได้เงินชดเชยไม่เกินเงินเดือน 1 ปีเท่านั้น
|
|
|
|
|