Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
บทเรียน ยุทธศาสตร์ และโอกาสบนสถานการณ์วิกฤติ             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

 
Charts & Figures

Sovereign Wealth Fund (SWF)

   
related stories

ยุคใหม่ของทุนนิยมโลก เริ่มต้น ณ บัดนี้
การล่มสลายของ America Inc.
ดูไบ มหานครแห่งความมั่งคั่ง
เอไอจีและเอไอเอความเชื่อมั่นที่ซื้อไม่ได้
ไอเอ็นจีสะเทือน
สโกเทียแบงก์พลิกวิกฤติเป็นโอกาส
Shinsei Bank และ Tokyo Star Bank โอกาสบนซากผุพัง

   
search resources

Economics




ความปั่นป่วนในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุน ที่ก่อตัวขึ้นในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะขยายวงไปสู่ยุโรป และลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่หนักหน่วงและร้ายแรงอีกครั้งหนึ่งของโลกในปัจจุบัน นอกจากจะสะท้อนความเสื่อมถอยของกลไกในระบบทุนนิยมเสรีที่เชื่อถือกันมานานแล้ว

กรณีดังกล่าวได้เน้นย้ำให้เห็นถึงกฎแห่งการวิวัฒน์ ชี้ให้เห็นว่าไม่จำเป็นที่ผู้มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงเท่านั้นที่จะมีโอกาสอยู่รอด หากแต่ผู้ที่สามารถปรับแต่งคุณสมบัติภายในให้สอดคล้องกับการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปต่างหาก ที่จะเป็นผู้กำหนดวิวัฒนาการครั้งใหม่

วิกฤติครั้งนี้สะท้อนปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้งและกำลังจะกลายเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดรูปแบบและยุทธศาสตร์ใหม่ๆ สำหรับการก้าวย่างต่อไปในอนาคต

Francis Fukuyama ซึ่งครั้งหนึ่งเคยระบุไว้ในหนังสือ The End of History and the Last Ma โดยสะท้อนความเป็นไปของโลกในยุคหลังสงครามเย็นว่า ยุคสมัยของประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางอุดมการณ์ได้สิ้นสุดลงแล้ว และเสรีนิยมประชาธิปไตย รวมถึงทุนนิยมเสรีแบบตะวันตกจะกลายเป็นมาตรฐานของยุคสมัยนับจากนี้

What we may be witnessing is not just the end of the Cold War, or the passing of a particular period of post-war history, but the end of history as such...That is, the end point of mankind's ideological evolution and the universalization of Western liberal democracy as the final form of human government.

แต่ในวันนี้แนวคิดดังกล่าวกำลังถูกท้าทายและ Francis Fukuyama ได้เสนอข้อเขียนชิ้นใหม่ที่วิพากษ์วิจารณ์ การล่มสลายของ America Inc. ซึ่งหมาย รวมถึงแนวความคิด ค่านิยม และวิถีปฏิบัติของโลกตะวันตกทั้งมวลด้วย

ประเด็นที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง จากปรากฏการณ์การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันอยู่ที่ หากระบบที่ เป็นอยู่ล้มเหลวและไม่สามารถนำพากลไก เศรษฐกิจให้ก้าวหน้าต่อไปได้ แล้วระบบใดเล่าที่จะเป็นที่พึ่งพิงของประชาคมโลกในห้วงเวลานับจากนี้

แม้ว่าจะเป็นการด่วนสรุปเกินไปว่า ทุนนิยมโลกได้เดินทางเข้าสู่จุดสิ้นสุดและกำลังจะพบกับจุดจบในอีกไม่ช้า แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธได้ยากและน่าสนใจยิ่งอยู่ที่บทบาทของมหาอำนาจใหม่ในระบบทุนนิยมโลกกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว

ชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ (emerging market) ที่หมายรวมตั้งแต่จีนและบรรดาชาติเศรษฐีน้ำมันในตะวันออกกลางกำลังทวีบทบาทขึ้นแทนที่ศูนย์กลางอำนาจเดิมในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ถึงขนาดที่ Henry Paulson รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สหรัฐอเมริกา ระบุว่า จีนจะเป็นผู้ค้ำจุนและบรรเทาสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจของโลกในอนาคต

ขณะที่ Rana Foroohar เสนอว่า ภายใต้บริบทของการล่มสลายของทุนนิยม แบบอเมริกัน นี่คือโอกาสของทุนนิยมแบบ เอเชียและยุโรป ที่จะเบียดแทรกเข้ามาแสดงบทบาทบนเวทีเศรษฐกิจโลก

ข้อสังเกตดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นอย่าง เลื่อนลอย หากแต่ในความเป็นจริง ด้วยปัจจัยในด้านมิติของขนาด ความยิ่งใหญ่ของจีนคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธ

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign wealth fund: SWF) โดยเฉพาะกองทุนระดับนำ 5 ใน 7 แห่งหรือที่เรียกว่า Super seven ซึ่งมีทุน สำรองรวมกันมากกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ สหรัฐ ล้วนเป็นชาติในเอเชียเป็นหลัก

ไม่ว่าจะเป็น Abu Dhabi Investment Authority, Government of Singapore Investment Corporation, Kuwait Investment Authority, China Investment Corporation และ Temasek Holdings

ขณะที่ Dubai World ซึ่งถือเป็น SWF ที่เกิดขึ้นใหม่กำลังขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์การ พัฒนาโดยรวมของ Dubai ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

กระนั้นก็ดีการก้าวขึ้นมามีบทบาท ทางเศรษฐกิจของประเทศในตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลพวงที่ได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นในช่วงก่อนหน้า ซึ่งยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า กองทุนความมั่งคั่งเหล่านี้จะยั่งยืนยาวนานไปสักเพียงไหน

นอกจากนี้ปริมาณเงินสดที่กองทุน ความมั่งคั่งมีอยู่ อาจไม่มีค่าไม่มีความหมายเลยในห้วงเวลาที่ความเชื่อมั่นต่อระบบถูกสั่นคลอนเช่นนี้

เพราะความพยายามของชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ที่จะเรียกคืนความเชื่อมั่นด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ รวม ถึงเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน เพื่อพยุงไม่ให้วิกฤติทรุดหนักในช่วงก่อนหน้านี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการกระทำที่สูญเปล่า และไม่อาจหยุดยั้งวิกฤติครั้งนี้ได้

บทบาทที่น่าสนใจของกองทุนความมั่งคั่งเหล่านี้จึงพ้นจากการกอบกู้วิกฤติ หากแต่อยู่ที่พวกเขาจะใช้โอกาสจากสถานการณ์ที่ว่านี้สร้างเสริมความมั่งคั่งต่อไปอย่างไรมากกว่า

ซึ่งหากเปรียบวิกฤติการณ์ครั้งนี้ เป็นประหนึ่งเพลิงที่ลามรุกไหม้ตลาดและบ้านเรือนเป็นบริเวณกว้างแล้ว สิ่งที่สังคมไทยควรตระหนักย่อมไม่ใช่การพึงพอใจที่จะถอยตัวเองออกไปเป็นมนุษย์ถ้ำ และตัดขาดจากความเป็นไปของโลก

หากแต่บทเรียนที่สังคมไทยควรสังเคราะห์จากปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่ที่เราจะใช้โอกาสนี้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา วางผังเมือง และกฎเกณฑ์สำหรับสังคมใหม่นี้ร่วมกันอย่างไรมากกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us