Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532
คลาสสิก เคส ของ ป.ต.ท. คูรด้านกลับที่ศุกรีย์ต้องรู้ไว้             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

ปตท., บมจ.
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
Financing




สถานะทางการเงินของ ปตท. กับบรรษัทนอยู่ในสถานะที่เหมือนกันคือ ต่างก็ประสบปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนับพันล้านบาทปี 2530 ปตท.ได้รายงานว่าขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ตั้งไว้รอตัดบัญชีประมาณ 3,582 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของยอดขายทุนของบริษัท

ยอดขาดทุนจริงของ ปตท. คือ 382 ล้านบาทเทียบกับ 760 ล้านบาทของบรรษัท ก็อยู่ในสัดส่วนที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของบรรษัทเช่นเดียวกัน

และที่เหมือนกันอีกจุดหนึ่งคือทั้ง 2 หน่วยงานนี้ แม้จะประกอบปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งในสวนที่รอการตัดบัญชีและขาดทุนจริง ๆ แต่ก้ไม่มีผลกระทบด้านผลกำไรจากการดำเนินงานเลย

ทั้ง 2 หน่วยงานนี้มีผลดำเนินงานที่กำไรมาตลอด ปตท. มีกำไรจากการดำเนินงานปี 2530 ประมาณ 1,971 ล้านบาท บรรษัทมีกำไร 276 ล้านบาท

คำถามคือว่า ทำไม ปตท. จึงสามารถบริาหารหนี้เงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้โดยมีผลกระทบต่อฐานะการทำกำไรและ CREDIT RATING ของ ปตท. น้อยมากเพียง 0.04% ในปี 2530 ทั้ง ๆ ที่ ปตท.ก็มีแหล่งเงินกู้ OFFSHORE MARKET เหมือนกับบรรษัท

ปุจฉานี้มีคำตอบที่คลาสสิคที่สุดที่ศุกรีย์และสมหมายต้องเรียนรู้หรือรับทราบไว้

ย้อนหลังไปเมื่อ 5 ปีก่อน ปตท. อยู่ในช่วงของการใช้เงินเพื่อการลงทุนมากมายก่ายกอง เพื่อนำก๊าซธรรมชาติมาพัฒนาให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ เช่น สร้างคลังเก็บก๊าซ โรงแยกก๊าซ และผลิตก๊าซ โดยกระทรวงการคลังเป็นคนนำเงินกู้จาก OFFSHORE MARKET มาหใ

แหล่งเงินกู้ของ ปตท. ก็แหล่งเดียวกับบรรษัทนั่นแหละ คือพวก OECF, IBRD, LTCB, EXIM BANK OF JAPAN, ADB, CDC, MITSUI BANK

เงินกู้ที่กระทรวงการคลังนำมามีทั้งดอลลาร์และที่เป็นเงินเยนมาก เพราะกระทรวงการคลังเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจเวลานั้นเงินสกุลเยนยังมีน้อยเพียง 25% เท่านั้น ขณะที่ PORTFOLIO ของประเทศ มีเงินดอลลาร์ ดอยช์มาร์ก และปอนด์ มาก ทางคลังก็เลยต้องการเพิ่มเยนขึ้นมาเพื่อ SQUARE ความเสี่ยง อีกประการหนึ่ง เงื่อนไขเงินกู้เยนมันดีมาก ดอกเบี้ยก็ถูกเพียง 2% ระยะเวลานาน 20-30 ปี

แต่การมองของคลังกับ ปตท. มันสวนกัน ปตท. เวลานั้นมีเยนใน PORTFOLIO ประมาณเกือบ 40% แล้ว และเชื่อว่าเยนจะแข็งขึ้นเพราะเศรษฐกิจญี่ปุนแข็งแกร่งมาก การเอาเยนเข้ามาอีกจะเพิ่มภาระความเสี่ยงมาก

วิไล จ๋วงพาณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ ปตท.ฝ่ายการเงิน กับปลิวมังกรกนก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ก็พยายามชักจูงให้คลังคล้อยตาม ปตท. แต่ไม่สำเร็จ เพราะคลังมองในภาพใหญ่ ขณะที่ ปตท.มองเพียงตัวเอง "CREDIT STANDING ของ ปตท. เวลานั้น ไม่แข็ง กำไรน้อยต่างประเทศก็ไม่รู้จัก การกู้เงินต้อง พึ่ง คลัง เมื่อคลังเห็นเป็นอย่างนั้นปตท.ไม่มีทางเลือก เพราะต้องการเงินทุนมาทำโรงแยกก๊าซ หน่วยที่ I และโครงสร้างคลังเก็บก๊าซ LPG ทั่วประเทศ ก็เลยต้องกู้มา" ปลิว มังกรกนก เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

กล่าวกันว่า ผลการกู้เงินเยนเข้ามาช่วงระหว่างปี 2526-2529 PORTFOLIO ของ ปตท. มีเงินเยนพุ่งจาก 40% เป็น 70%

ยอดหนี้เงินกู้สูงถึงเกือบ 17,000 ล้านบาท ขณะที่เยนเมื่อเทียบกับบาทก็แข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ จาก 100 เยนต่อ 9.46 บาท เป็น 16.49 บาทในปี 2929 หรืออีกนัยหนึ่งเงินเยนแข็งตัวขึ้นมาเกือบ 100% เพียง 3 ปี เท่านั้น

"ความจริงเวลานั้น ปตท.มียอดขายทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ตั้งไว้รอตัดบัญชีประมาณ 3,249 ล้าน่บาท การทำ PREPAYMENT ก็เท่ากับต้องจ่ายหมดทั้งก้อนทีเดียว การขาดทุนอัตราแกลเปลี่ยนจำนวนนี้ก็จะหมดไปจากบัญชี ซึ่งความจริงวิธีนี้ก่อนหน้าปี 2529 ก็ทำไปแล้ว แต่กระทรวงคลังมีนโยบายบัญชีใหม่ออกมาให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนสามารถทยอยตัดบัญชีขาดทุนได้ตามส่วนเฉลี่ยของอายุหนี้ที่เหลือของเงินกู้ ทาง ปตท.ก็เลย ทยอยตัดปีละ 10% หรือ 300 ล้านบาทเศษ" ปลิวเล่าให้ฟัง

สิ้นปี 2529 ปตท.ต้องมีภาระจ่ายคืนหนี้เงินกู้ ซึ่งมีผลให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 406 ล้านบาท

ทั้งศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ รองผู้ว่าการ ปตท. ฝ่ายการเงิน และปลิว ผู้อำนวยการฝ่ยการเงินเวลานั้น ก็นั่งไม่ติด พยายามหาทางบรรเทาปัญหาความเสี่ยงจากหนี้นี้ให้ได้

เป้าหมายเวลานั้น ปตท.ต้องการลดเงินเยนใน PORTFOLIO จาก 70% ให้เหลือเพียง 30%

ศิรินทร์กับปลิวเจรจากับธนาคารโลก เจ้าหนี้รายหนึ่งขอทำ REFINANCE และ PREPAYMET บางส่วน ทางธนาคารโลกเวลานั้นอยู่ในสมัยของนายคลอสเช่น (ปัจจุบันเป็น CEO ธนาคารแห่งอเมริกา) ก็ยอม แต่พอมาขออนุมัติจากคลังในขณะนั้นคือ อรัญ ธรรมโน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่ยอมด้วย เพราะการจ่ายหนี้คืนก่อนกำหนด ต้องเอาเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ในตลาด เพื่อชำระหนี้ธนาคารโลก ระบบการคลังของประเทศไม่อยู่ในฐานะที่จะรับได้

แต่ปลิวกับศิรินทร์ก็ไม่ถอย เขาชี้ให้กระทรวงคลังได้รู้ว่าเงินกู้ที่กู้ในอัตราดอกเบี้ย 11% จากธนาคารโลกในปี 2525-26 จำนวนทุก 1 ดอลลาร์ที่กู้มา เวลาจ่าย อัตราแลกเปลี่ยนจะปรับเปลี่ยนไปจน ปตท. มีภาระจ่ายคืนเพิ่มขึ้นเป็น 1.74 ดอลลาร์ช่วงปี 2529 เพราะเวลาที่ธนาคารโลกคิดดอกเบี้ย 11% ไม่ได้คิดจากต้นเงินกู้ แต่คิดจากต้นเงินที่ต้องชำระคืน ซึ่งก็หมายถึงภาระการชำระหนี้จากดอกเบี้ยไม่ใช่ 11% ต่อปี แต่เป็น 40-50% ต่อปี

นอกจากนี้ เงินกู้ที่คลังกู้มาจากธนาคารโลกมาให้ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 1 จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ ทั้ง ๆ ที่เงินลงทุนจริงเพียง 270 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือ 130 ล้านคอลลาร์ ประมาณ 3,000 ล้านาบาท ทาง ปตท. ต้องนำไปฝากกินดอกเยกับแบงก์กรุงไทยปีละ 6% ขณะที่ ปตท.ต้องเสียดอกเบี้ยจากเงินกู้ส่วนนี้ถึงปีละ 40-50%

มันชัดเจนว่า ปตท.ขาดทุนป่นปี้

ทางกระทรวงคลังเมื่อเจอเหตุผลของปลิวและศิรินทร์เข้า ก็ยอมให้ทำ PREPAYMENT และ REFINANCE หนี้ทันที

ช่วงขณะนั้นคือต้นปี 2531 ปลิวกับศิรินทร์ทำ REFINANCE กับแหล่งหนี้ EXIM BANK ญี่ปุ่น 3,000 ล้านบาท โดยเอาเงินจากการออกพันธบัตร ปตท.โดยให้คลังค้าปีละ 1,000 ล้านบาท ทำ REVOL VING CREDIT มา 350 ล้าน โดยกู้จากกระทรวงคลังก็ทั้งหมดมาเป็นทุนเพื่อทำ REFINANCE EXIMBANK ประมาณ 3,200 ล้านบาท จะหมาดกับแหล่งหนี้ MIT SUI BANK อีก จำนวน 1,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ปตท. ยังทำ PREPAYMANT จำนวน 1,000 ล้านบาทโดยเอาเงินส่วนหนึ่งจากส่วนเกินที่กู้ธนาคารโลกมา 130 ล้านเหรียญที่ฝากไว้กับแบงก์กรุงไทย เพื่อกินดอกเบี้ย มาจ่ายหนี้คืนก่อนกำหนดแก่ธนาคารโลก

การทำ PREPAYMENT กับ REFINANCE ในแหล่งเงินกู้เยนและดอลลาร์ ช่วงปี 2531 นับว่าเป็นมาตรการคุ้มครองความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ ปตท.ใช้ความอดทนอย่างสูงในการชักจูงให้กระทรวงคลังอนุญาตให้กระทำ แม้จะใช้เวลาถึง 1 ปีเต็ม ๆ กว่าจะสำเร็จก็ตาม แต่ผลที่ได้ก็นับว่าคุ้มค่าต่อฐานะการเงินของ ปตท. เพราะสัดส่วนเงินเยนใน PORTFOLIO ของ ปตท.ได้ลดลงจาก 70% ในปี 2529 เหลือเพียง 30% ในปี 2531

ซึ่งแน่นอนว่า ปตท.สามารถปรับ PORTFOLIO หนี้เงินกู้ที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ และเงินบาทให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม จนไม่เป็นอันตรายต่อความเสี่ยงจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน คือ เงินเยน 30% ดอลลาร์ 3.% และบาทประมาณ 27%

"เราต้องทำ PREPAYMENT และ REFINANCE เงินดอลลาร์กับเยนส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าในอนาคตเยนเทียบกับดอลลาร์จะแข็งขึ้นจะใกล้ 100 เยนต่อดอลลาร์ แน่นอน จึงต้องดิ้นรนกันไว้ก่อนทุกอยางจะสายไปที่จะแก้ไข" ปลิว มังกรกนก กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงการบริหารหนี้เงินกู้ระดับคลาสสิคของ ปตท. และ….

ตัวอย่างนี้ก็คือ ครูด้านกลับของบรรษัทนั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us