Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
4 แยกอินโดจีน (อีกแล้ว)             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Economics
International
East-West Economic Corridor




นับจากมีการพูดถึงโครงการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีแนวทางพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor: EWEC) ตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน

จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่า จุดตัด (Junction) ระหว่างเส้นทางเศรษฐกิจทั้ง 2 เส้นนั้น จะอยู่ที่จังหวัดใดกันแน่

จังหวัดพิษณุโลกได้พยายามแย่งชิงความเป็นจุดตัดดังกล่าวออกมาก่อน โดยการประกาศเปลี่ยนชื่อ 4 แยกถนนเลี่ยงเมือง ช่วงก่อนเข้าตัวเมืองพิษณุโลกประมาณ 10 กิโลเมตรให้เป็น "4 แยกอินโดจีน" มีการทำป้ายบอกทางจากจุดนี้ ขึ้นเหนือไปถึงคุนหมิง ไปทางตะวันออกถึงดานัง ทางตะวันตกถึงย่างกุ้ง และลงใต้สู่กัวลาลัมเปอร์

พิษณุโลกมองว่าเส้นทางสาย EWEC ซึ่งต้องผ่านพิษณุโลกอยู่แล้ว เมื่อมาตัดกับเส้นทางสายเหนือที่แยกออกมาจาก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ขึ้นมาถึงพิษณุโลก สามารถตรงขึ้นไปสู่อุตรดิตถ์ แพร่ พะเยา เชียงรายได้

เส้นทางเส้นนี้จึงน่าจะถูกใช้เป็นเส้นทางหลักของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้

การประกาศให้จังหวัดพิษณุโลกเป็น 4 แยกอินโดจีน จึงก่อให้เกิดการเก็งกำไรในที่ดินอย่างคึกคักตั้งแต่เมื่อกว่า 10 ปีก่อน

แต่พอทุกอย่างยังไม่มีความชัดเจน บรรยากาศการเก็งกำไรดังกล่าวก็กลับมาเงียบเหงาจนถึงปัจจุบัน

ยังไม่มีการก่อสร้างใดๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็น 4 แยกอินโดจีนเกิดขึ้น นอกจากป้ายชื่อ 4 แยก

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "สี่แยกอินโดจีน วันนี้มีเพียงป้ายบอกทาง" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนสิงหาคม 2550 หรือ www.gotomanager.com ประกอบ)

ปัจจุบันแนวคิดในการจัดตั้ง 4 แยกอินโดจีนเกิดขึ้นมาอีกครั้งที่ จ.ตาก

ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการลงมา หรือภาคเอกชน มีความมั่นใจว่าจุดตัดระหว่างเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ต้องอยู่ที่ จ.ตากแน่ๆ

โดยเฉพาะเส้นทางขึ้นเหนือ ซึ่งเส้นทางที่ผ่าน จ.ตาก ใช้เป็นเส้นทางหลักมานานแล้ว และมีการขยายถนนออกเป็น 4 เลนตลอดสายตั้งแต่กรุงเทพฯ จนถึงเชียงใหม่

มีการมองว่าเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย ที่ จ.เชียงราย จะวิ่งมาทาง จ.ลำปาง และต่อมาอีก 190 กิโลเมตร เพื่อเข้า จ.ตาก

เมื่อมาบรรจบกับเส้นทางสาย EWEC จุดตัดของทั้ง 2 เส้นทางนี้ต้องอยู่ที่ตากแน่ๆ

"พิษณุโลกคงไม่ใช่ เพราะที่นั่นถนนของเขายังไม่เป็น 4 เลน" เป็นความเห็นของบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้า จ.ตาก

"มันเป็นเรื่องของความเคยชิน ทุกวันนี้ถ้าคุณจะขับรถจากกรุงเทพฯ ขึ้นเชียงใหม่ คุณจะใช้เส้นพิษณุโลกหรือเปล่าล่ะ?" เป็นคำถามที่แสดงความมั่นใจของชุมพร พลรักษ์ อดีตผู้ว่าราชการ จ.ตาก

ในช่วงที่ชุมพรเป็นผู้ว่าราชการ เขาจึงให้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนา อ.เมือง จ.ตาก โดยศึกษาพื้นที่ตั้งจุดพัก และขนถ่ายสินค้า ซึ่งต้องมีเขตพาณิชยกรรมเกิดขึ้น

ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่โล่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำนาของเกษตรกร บริเวณตำบลหนองบัวใต้ ยาวไปจนถึง อ.วังเจ้า น่าจะเหมาะสมที่สุด

พื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ทางใต้ของตัวเมืองตากลงมา เยื้องกับโรงงานของบริษัทผาแดง อินดัสตรี้ ห่างจากทางแยกเข้า อ.แม่สอด ในรัศมีประมาณ 10 กิโลเมตร

บรรยากาศการเก็งกำไรในประเด็น 4 แยกอินโดจีน จะกลับมาอีกครั้งที่ จ.ตาก หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us