Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
2nd Generation of Internet Banking             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Electronic Banking




ภาวะวิกฤติภาคการเงินโลกที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันและทองคำที่ขยับสูงขึ้น ผลกระทบจากปัญหา Subprime Loan ของสหรัฐอเมริกา เสถียรภาพของค่าเงินสกุลหลักหรือความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ดี ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของนักลงทุนภายในประเทศญี่ปุ่นไม่มากก็น้อย

นอกจากปัจจัยภายนอกดังกล่าวแล้วปัจจัยภายในอย่างเช่นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Internet Banking ก็มีส่วนดึงดูดใจให้นักลงทุนรายย่อยหันมาลดความเสี่ยงด้วยการปันเม็ดเงินลงทุนส่วนหนึ่งเก็บสำรองเป็นเงินออมเพิ่มมากขึ้น การเกิดขึ้นของ IY Bank เมื่อปี 2001 ซึ่งต่อมา rebrand และเปลี่ยนชื่อเป็น Seven Bank* นั้นกลายเป็นโมเดลต้นแบบของธนาคารที่ประยุกต์อินเทอร์เน็ตใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิวัติบริการของธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นซึ่งเดิมลูกค้าจำต้องเดินทางไปใช้บริการยังที่ตั้งของธนาคารภายในวันและเวลาทำการ

หากไม่นับรวมการฝาก-เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่อง ATM แล้ว Internet Banking นำเสนอทางเลือกใหม่ที่รวดเร็วสะดวกสบายและเชื่อถือได้ อีกทั้งยังประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทางและค่าธรรมเนียม ซึ่งลูกค้าของธนาคารรูปแบบใหม่นี้สามารถติดต่อธุรกรรมทางการเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 365 วัน ทุกหนแห่งทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 610,000 บัญชี, ยอดเงินฝากรวมประมาณ 9.8 หมื่นล้านเยนที่ตอบรับแนวคิดว่าด้วย Internet Banking ของ Seven Bank นอกจากนี้ยังมีธนาคารรูปแบบเดียวกันอย่าง Sony Bank ในเครือ Sony (650,000 บัญชี), Japan Net Bank ในเครือ Yahoo (1,860,000 บัญชี), eBANK ในเครือ Rakuten (2,800,000 บัญชี) และมียอดเงินฝากประมาณ 1.3, 0.43, 0.8 ล้านล้านเยนตามลำดับ (ข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2008)

กระนั้นก็ตามจังหวะการก้าวเข้ามาของผู้เล่น หน้าใหม่ทั้ง 3 ธนาคาร อันได้แก่ SBI Sumishin Net Bank, Aeon Bank และ Jibun Bank ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาได้พัฒนาบริการใหม่ๆ เติมเต็มช่องว่างที่ยังขาดพร่องไป ในขณะเดียวกันก็เข้าแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด Internet Banking ที่เติบโตอย่าง ต่อเนื่อง

SBI Sumishin Net Bank ก่อตั้งเมื่อ 30 กันยายน 2007 จากการร่วมทุนแบบ Joint Venture ระหว่าง SBI Holdings กับ Sumitomo Trust & Banking ถือหุ้นกันคนละครึ่งพัฒนา Unique Business Model ขึ้นมาใหม่จากประสบการณ์ตรงใน โลกธุรกิจซึ่งฉีกกฎเกณฑ์ Internet Banking ที่ให้บริการก่อนหน้านี้โดยมีบทบาทสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินลงทุนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่า พร้อมกันนั้นยังสร้างสีสันใหม่โดยเฉพาะการเปิด กว้างบริการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง สินเชื่อเพื่อการเคหะและสามารถดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศผ่าน Internet Banking เป็นรายแรก

ความชำนาญในเรื่องของ Brokerage จาก SBI รวมเข้ากับแบรนด์ Sumitomo สร้างความเชื่อมั่นที่สามารถระดมเงินฝากกว่า 4 แสนล้านเยนภายในระยะเวลา 10 เดือนแรกตั้งแต่เปิดทำการได้จากกลุ่มลูกค้าซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งมาจากฐานลูกค้าเดิมที่ซื้อขายหุ้นของ SBI Securities (ประมาณ 1.6 ล้านราย) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อยช่วงอายุ 20-40 ปีที่มีความคุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

การนำเสนอบริการใหม่นี้เอื้ออำนวยให้นักลงทุนซื้อขายหุ้นได้สะดวกรวดเร็วผ่าน "Money Look" ใน Yahoo Japan บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจากโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ของค่าย Softbank ซึ่งสามารถตรวจสอบบัญชีธนาคารและบัญชีหุ้นได้พร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังลัดขั้นตอนในการซื้อขายหุ้นผ่านบัญชีของ SBI Sumishin Net Bank ได้โดยตรง หลังจาก SBI Sumishin Net Bank เปิดตัวผ่านไปไม่ถึงเดือน Aeon Groups ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของญี่ปุ่นประกาศเริ่มดำเนินกิจการ Aeon Bank ซึ่งนับเป็น Retailer รายที่ 2 ที่เข้าสู่ธุรกิจการธนาคารรองจาก Seven & I Holdings ที่เปิดตัว Seven Bank

แม้ว่า Seven Bank จะได้เปรียบในแง่ที่เริ่มต้นธุรกิจประเภทนี้มาก่อนหลายปีผ่านช่องทาง ATM ที่ติดตั้งในร้านสะดวกซื้อ Seven-Eleven กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศก็ตาม Aeon Bank วางวิสัยทัศน์โดยเล็งเป้าหมายไปยังตลาดผู้บริโภคที่อาศัยช่องทางศูนย์การค้าในเครือ Aeon โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านซึ่งเป็นเค้กชิ้นใหญ่ในระดับรากหญ้า

ยิ่งไปกว่านั้น Aeon Bank กำหนดกลยุทธ์ดำเนินการแบบ Full Service ในลักษณะเดียวกับธนาคารทั่วไปแต่ขยายเวลาทำการของธนาคารซึ่งเปิด-ปิดพร้อมกับศูนย์การค้าแบบไม่มีวันหยุด ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการฝาก-ถอนเงิน กู้เงินเพื่อการเคหะ รวมถึงซื้อประกันภัยได้จากเคาน์เตอร์ธนาคาร ภายในศูนย์การค้าเมื่อมาจับจ่ายซื้อของหรือใช้บริการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วย Internet Banking หรือ Mobile Banking ก็ได้

ความโดดเด่นของ Aeon Bank อยู่ที่บัตร ATM ซึ่งรวมบัตรเครดิต บัตรลดราคาซื้อของในศูนย์ การค้า Aeon บัตร Electric Money สะสมคะแนน WAON ไว้ในใบเดียวซึ่งช่วยให้แม่บ้านยุคใหม่วางแผนการจับจ่ายในชีวิตประจำวันอย่างคุ้มค่าซึ่งเท่ากับเป็นการออมเงินและเก็บคะแนนสะสมที่มีสภาพคล่องเทียบเท่ากับเงินตรา

ล่าสุด Jibun Bank ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการร่วมทุนแบบ Joint Venture ระหว่าง KDDI ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ AU กับ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ โดยเนื้อหาแล้วดูเหมือนว่าบริการของ Jibun Bank ไม่ได้มีรายละเอียดต่างไปจาก Internet Banking รายอื่นมากนัก หากแต่กำหนดยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความหมายของคำว่า "Jibun" ซึ่งแปลตามตัวอักษร ได้ว่า "ตนเอง" โดยดึงอรรถประโยชน์ของ Application ของโทรศัพท์มือถือ 3G ทั้งหมดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งทำให้ Jibun Bank มี feature ที่เป็น Mobile Banking ที่ใช้งานได้ตามความสะดวกของตัวเองมากกว่า Internet Banking บนหน้าจอคอมพิวเตอร์

อันที่จริงแล้วบริการของ Jibun Bank ไม่ได้จำกัดเฉพาะโทรศัพท์มือถือค่าย AU เท่านั้น โทรศัพท์ มือถือของค่าย Docomo และ Softbank ที่มี 3G content BREW3.1 ขึ้นไปก็สามารถเปิดบัญชีได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือค่าย AU จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นตัวเงินได้ง่ายกว่า

แม้ว่าศักยภาพของ Internet Banking ในญี่ปุ่นขณะนี้จะยังเทียบไม่ได้กับ Megabank หลายแห่งของญี่ปุ่นก็ตาม แต่สถิติตัวเลขของผู้ใช้และจำนวนเงินฝากรวมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจการธนาคารของญี่ปุ่นซึ่งเป็นไปได้ว่า Internet Banking อาจจะพลิกผันขึ้นแทนตำแหน่งของธนาคารพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้

ยุทธศาสตร์ของธนาคารใหม่ทั้ง 3 แห่งนี้มีความแตกต่างทั้งในแง่ของบริการและกลุ่มเป้าหมาย แต่มีจุดร่วมที่คล้ายกันอย่างหนึ่งคือการบริการเต็มรูปแบบทั้งการออมเงินและบทบาทที่กลมกลืนเข้าเป็น ส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นความเหมือนที่แตกต่างที่ก่อเกิดการออมเงินวิธีใหม่ในญี่ปุ่น

อ่านเพิ่มเติม :
* นิตยสารผู้จัดการฉบับธันวาคม 2548 คอลัมน์ Japan Walker เรื่อง 7-Bank   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us