Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551
ปัญหาของการเป็นเจ้าของบ้าน             
 


   
search resources

Economics




เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
นิวสวีค 20 ตุลาคม 2551

การเป็นเจ้าของบ้านอาจดีต่อความเป็นสังคม แต่ไม่ใช่การลงทุนที่ฉลาดที่สุด

ในสหรัฐฯ การสามารถที่จะเป็นเจ้าของบ้านกับการเป็นพลเมืองที่ดีมีส่วนสัมพันธ์กัน สหรัฐฯ ได้พัฒนาตัวเองจากสังคมศักดินา ซึ่งเป็นยุคที่ใครที่ไม่มีที่ดินก็จะมีสถานะเกือบไม่ต่างกับทาส มาสู่สังคมที่เจ้าของบ้านมีบทบาทเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคมรวมถึงการปฏิบัติตามหน้าที่ของพลเมือง ในปี 1835 Alexis de Tocqueville ได้เขียนไว้ว่า สหรัฐฯ "เป็นเพียงประเทศเดียว" ที่มีความเท่าเทียม กันในการกระจายความมั่งคั่ง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ต่างไม่กล้าคิดจะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของการเป็นเจ้าของที่ดินที่ไม่เท่าเทียม เนื่องจากมีการสะสมที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวกันมากขึ้น และจำนวนของคนที่เป็นเจ้าของที่ดินก็ยังเพิ่มขึ้น

เป็นความจริงที่ผลการศึกษาหลายครั้งอย่างเช่นที่ทำโดย Edward Glaeser แห่งมหาวิทยาลัย Harvard และ Bruce Sacerdote จากมหาวิทยาลัย Dartmouth บ่งชี้ว่า ผู้ที่มีโอกาส ได้เป็นเจ้าของบ้านจะเป็นพลเมืองที่ดีกว่าจริงๆ พวกเขามักจะไม่นอนหลับทับสิทธิ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น และรู้จักแม้กระทั่งชื่อของผู้รับผิดชอบระบบโรงเรียนในท้องถิ่นของพวกเขา สถาบัน สินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่าง Fannie Mae ซึ่งแม้ขณะนี้กำลังย่ำแย่จากวิกฤติการเงิน แต่สิ่งที่สถาบันการเงินแห่งนี้ได้ทำไว้ต้องนับว่าเป็นคุณแก่อเมริกา และมีส่วนช่วยสร้างความรู้สึกดีๆ ให้เกิดขึ้นโดยทั่วไปในระหว่างคนอเมริกันด้วยกัน

แต่ก็ช่างน่าขันที่การเป็นเจ้าของบ้านนั้น ที่จริงแล้วหาได้เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมไม่ หากมองจากแง่มุมของการลงทุน วิธีที่ดีกว่าควรจะเป็นการกระจายการลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร และอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป แล้วจึงค่อยนำรายได้ซึ่งเป็นผลตอบแทนการลงทุนเหล่านั้น ไปเช่าทุกอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งจะทำให้คุณมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูง ส่วนที่มีคนชอบแย้งว่าการเช่าเปรียบเสมือนการโยนเงินทิ้งไปเฉยๆ นั้น ความจริงแล้วนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด เพราะว่าเงินที่คุณเก็บออมเอาไว้โดยไม่นำไปใช้ซื้อบ้านนั้น เป็นเงินที่คุณสามารถจะนำไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดดอกผล แล้วจึงนำเพียงดอกผลนั้นมาใช้จ่าย แทนที่คุณจะเป็นเจ้าของบ้านแล้วต้องมาลำบากซ่อมโน่น ปะนี่ภายในบ้านหรือตัดหญ้าที่สนามหญ้าเอง ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านที่คุณเช่าหรือคนที่ชำนาญกว่าไป ซึ่งทำได้รวดเร็วและดีกว่าที่คุณจะทำเองเสียอีก

อย่างไรก็ตาม เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมบอกเราว่า ความเย้ายวน ใจของความรู้สึกในการได้เป็นเจ้าของบ้านนั้นแรงนัก และยากที่จะทำลายลงได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นจริงๆ สำหรับในขณะนี้จึงน่าจะเป็นการปรับโครงสร้างของโมเดลการได้เป็น เจ้าของบ้าน ปล่อยให้คนอเมริกันยังคงสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ต่อไป แต่หา วิธีใหม่ที่ดีกว่านี้ในการบริหารความเสี่ยง ที่อยู่รอบๆ การลงทุนประเภทนี้ บางทีเราอาจจำเป็นต้องทบทวนมาตรการจูงใจทางภาษีที่กระตุ้นให้ทุกคนอยากเป็นเจ้าของบ้าน และอาจจะต้องสร้างสินเชื่อซื้อบ้านชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา โดยให้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และเราอาจจะยกระดับสถานะของการเช่าบ้านด้วยการเพิ่มสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าไม่ให้น้อยหน้าเจ้าของบ้าน

การที่คนอเมริกันได้เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของหุ้นอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกสหรัฐฯ เป็นเรื่องดี แต่จำเป็นต้องมีการจำกัดเพื่อให้วัฒนธรรมแห่งความเสมอภาคในการเป็นเจ้าของบ้านและหุ้นนี้นำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการ การลงทุน และการสร้างความมั่งคั่ง ระบบทุนนิยมก็ไม่ต่างกับเกม เราจำเป็นต้องแน่ใจว่า เราได้วางกฎของการเล่นเกมอย่างรัดกุมพอที่จะไม่ทำให้เราเองต้องบาดเจ็บในขณะที่กำลังเล่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us