|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2551
|
 |

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เร่งเครื่องกระตุ้นตลาดแสดงสินค้านานาชาติของไทย สานต่อโครงการ "กรุงเทพฯ : มหานครแห่งการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน" ล่าสุด นำทัพเอกชนเดินหน้าลุยตลาดเวียดนาม ประกาศความพร้อมและศักยภาพของประเทศ ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในภูมิภาค
ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า "โครงการ "กรุงเทพฯ : มหานครแห่ง การจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ และเพื่อเป็นการ สานต่อโครงการและผลักดันให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียนได้อย่างที่ตั้งใจไว้ เราจึงได้เดินหน้าจัดกิจกรรมโรดโชว์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติจากต่างประเทศเข้ามาจัดงานในเมืองไทยมากยิ่งขึ้น"
สำหรับแผนการตลาดในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 นี้ สสปน.ได้ขยายการจัดกิจกรรมโรดโชว์ไปยังประเทศเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพการเติบโตที่สูงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยที่ผ่านมานั้นประเทศไทยและประเทศเวียดนาม มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แนบแน่น ตลอดมา เห็นได้จากมูลค่าทางการค้า (Trade Value) ของทั้งสองประเทศ รวมมูลค่ากว่า 5,293 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 185,255 ล้านบาท (1 ดอลลาร์สหรัฐ = 35 บาท) โดยประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังเวียดนามมูลค่ากว่า 4,087 ล้านเหรียญสหรัฐ (143,043 ล้านบาท) ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 3,093 ล้านเหรียญสหรัฐ (108,255 ล้านบาท) เมื่อปี 2549 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งออก 32% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
มร.เหงียน ทานห์ ฮึง ทูตพาณิชย์สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นว่า "ประเทศเวียดนามและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ดีต่อกันมายาวนานกว่า 30 ปี
ในปี 2550 ประเทศไทยถือเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 6 ในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยประเทศไทยส่งออกและนำเข้าสินค้ากลุ่มปิโตรเลียมและพลังงาน และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากเวียดนาม
สำหรับประเทศเวียดนามนั้นถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพอย่างยิ่งสำหรับสินค้าและการบริการของไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) กว่า 8.48% เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจจากการรวมศูนย์เป็นระบบตลาดเสรี เอื้อต่อการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และการจัดกิจกรรมโรดโชว์การแสดงสินค้านานาชาติของ สสปน.ในเวียดนามครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรยากาศของการค้าและการลงทุน อันจะนำมาซึ่งรายได้แก่ประเทศแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย
การจัดกิจกรรมโรดโชว์ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการประกาศศักยภาพของประเทศไทยในการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติให้แก่กลุ่มนักลงทุนและผู้จัดแสดงสินค้าในประเทศต่างๆ เพื่อกระตุ้นกลุ่มนักธุรกิจผู้จัดแสดงสินค้าและสื่อมวลชนในประเทศเวียดนาม 130 คน จากกว่า 40 องค์กร ให้มาจัดงานแสดงสินค้า ในประเทศไทย โดย สสปน.ได้สนับสนุนทางการเงินจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน แก่หน่วยงานและสมาคมการค้าที่สามารถดึงผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างน้อย 15 คน ภายใต้แคมเปญ 100 A-HEAD พร้อมส่งเสริมรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในการประกาศศักยภาพของประเทศผ่านการจัดงาน Country Show ในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีนี้ สสปน.ได้ให้การสนับสนุน Country Show จาก 3 ประเทศ คือ อินเดีย เยอรมนี และเกาหลี ซึ่งต่างประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดเป็นอย่างสูง
สำหรับการจัดโรดโชว์ที่อินเดียและจีนที่ผ่านมานั้นถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีตัวแทนที่สนใจเข้าร่วมงานจากองค์กรต่างๆ ในอินเดียกว่า 200 องค์กร และจากประเทศจีนถึง 350 องค์กร ซึ่งนับว่า เป็นความสำเร็จและเป็นแนวโน้มที่ดีของประเทศไทยในการรุกตลาดแสดงสินค้านานาชาติในระดับภูมิภาคเป็นอย่างมาก
"สำหรับแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมโรดโชว์ในปี 2552 สสปน.ได้จะเน้นรุกตลาดการแสดงสินค้านานาชาติ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ไปพร้อมๆ กับการรุกตลาดในประเทศอินเดียและจีน โดยเราได้วางงบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรม โรดโชว์ในปีหน้าไว้ทั้งสิ้น 10 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มนักลงทุนและผู้จัดงานแสดงสินค้านานาชาติ ชาวต่างชาติให้เข้ามาจัดงานในประเทศไทยมากขึ้น" ศุภวรรณกล่าวเสริม
สำหรับกิจกรรมโรดโชว์ในครั้งนี้ที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) ได้จัดขึ้นที่เมือง โฮจิมินห์และฮานอยนั้น เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สสปน. สำนักงานกงสุลไทยในเวียดนามและวินิแซด (Vietnam National Trade Fair & Advertising Company-VINEXAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐซึ่งทำหน้าที่ในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านการจัดงานแสดงสินค้า โดยมีหน่วยงานภาคเอกชนทั้งผู้จัดงานแสดงสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า สมาคมการค้า อาทิ หอการค้าไทย-เยอรมัน บริษัท ซีเอ็มพี (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แสดง สินค้าและการประชุมอิมแพ็ค บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชีย บิสสิเนส ลิงค์ จำกัด สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน และศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สสปน.ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถดึงงานประชุมและการจัดแสดงสินค้านานาชาติสำคัญ เข้ามาจัดในประเทศไทยหลายงาน อาทิ งาน ITU Telecom Asia 2008 และงาน FESPA Asia Pacific นอกจากนี้ในปี 2551 สสปน.ได้เข้าร่วมสนับสนุนและดึงงานแสดงสินค้านานาชาติประเภท Trade Show รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 กว่างาน คาดว่าจะนำรายได้รวมเข้าสู่ประเทศกว่า 2,000 ล้านบาท
|
|
 |
|
|