Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532
ซีพี ลงทุนร่วม โซลเวย์ การขยายธุรกิจแนวนอนที่ฉลาด             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ประเสริฐ พุ่งกุมาร
Investment




มีผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ข้อสังเกตกับ "ผู้จัดการ" ว่าถ้าจะวิเคราะห์องค์กรธุรกิจขนาดยักษ์อย่างซีพีไม่ต้องไปดูอะไรมากนัก ให้ดูแต่เพียงแต่คน 5 คน เท่านั้นที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ซีพีคือ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประเสริฐ พุ่งกุมาร มิน เธียรวร วีรวัฒน์ กาญจนกุล และอาชว์ เตาลานที่ว่าผู้ใหญ่ 5 ท่านนี้มีแนวคิดการทำธุรกิจอย่างไร และชีวิตที่ผ่านมาในการทำธุรกิจเป็นอย่างไรเท่านั้นพอ เป็นอันรู้กันหมดไส้หมดพุงซีพีกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร เหตุผลเพราะทุกอย่างก้าวในเวทีธุรกิจของซีพีที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวเชิงกิจกรรมทางยุทธศาสตร์ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขยายธุรกิจ การร่วมลงทุน การเปิดประตูสู่ตลาดโลก ที่ปรากฎเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน หรือรายสัปดาห์ ทำนองว่าเดี๋ยวซีพีขยายทำโน่นทำนี่ทั้งหมด โดยเนื้อแท้ที่อยู่เบื้องหลังข่าวมาจากการตัดสินใจของผู้ใหญ่ 5 ท่านนี้เท่านั้น ไม่ใช่ใครอื่น

ปีที่แล้ว (2531) ซีพีทำธุรกิจร่วมลงทุนกับค่ายยุโรปหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันทำสยามแม็คโคร ซูเปอร์มาร์เก็ตขายส่ง การเช่าลิขสิทธิ์กับ 7-ELEVEN เพื่อขายปลีกหน้าร้านทั่วประเทศ การทำเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำขนาดใหญ่ ซึ่งโครงการทั้งหมดนี้ อยู่ในสายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับฐานธุรกิจอาหารสำเร็จดั้งเดิมของซีพีทั้งสิ้น

โครงการทั้งหมดปีนี้ (2532) จะต้องลงทุนกันจริง ๆ ไม่ใช่อยู่เฉพาะบนกระดาษสัญญา

ในจำนวนโครงการขยายธุรกิจใหม่ ๆ ดังว่า มีอยู่โครงการหนึ่งที่ออกจะผิดแปลกไปมากจากความคาดหวังของนักวิเคราะห์ข่าวทั่วไป คือโครงการร่วมลงทุนกับโซลเวย์ แห่งเบลเยียมผลิต PVC

ถ้าวิเคราะห์หลังจากได้ตรวจสอบโครงข่ายธุรกิจของซีพีจะพบว่า ซีพีมุ่งเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปเป็นหลักใหญ่ การขยายธุรกิจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อรองรับธุรกิจหลัง

การกระโดดข้ามจากธุรกิจอาหารไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ไม่มีโครงการร่วมลงทุนกับโซลเวย์เพื่อผลิต PVC ที่กำลังจัดเตรียมร่างสัญญาเพื่อให้ผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายได้เซ็นกันในอีกเดือน 2 เดือนข้างหน้านี้ จึงเป็นเรื่องที่ซีพีทำ SURPRIZE ให้กับวงการจริง ๆ

สำหรับที่ว่าทำไม โซลเวย์จึงไปจับมือลงทุนร่วมกับซีพีที่ไม่เคยรู้เรื่องธุรกิจอื่นใดนอกเหนืออาหาร ก็เป็นปุจฉาที่น่าคิด เพราะเป็นไปไม่ได้ที่โซลเวย์จะไม่รู้มาก่อนว่า ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ของบ้านเรามีใครบ้าง กลุ่มใดบ้างที่พอจะคุยกันรู้เรื่องในธุรกิจผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

และก็เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน ที่โซลเวย์จะได้รู้ประวัติศาสตร์ความชอกช้ำที่แวนฮูล กลุ่มธุรกิจเพื่อนร่วมชาติได้ถูกกระทรวงคมนาคมไทยเบี้ยวสัญญาเอาดื้อ ๆ เพียงเพราะมีการเปลี่ยนตัว รมต. เจ้ากระทรวงกัน ในโครงการเช่าและซื้อรถโดยสารสำหรับวิ่งในกทม. ที่สมัคร สุนทรเวช เจ้ากระทรวงคนก่อนได้ไปตกลงทำสัญญาไว้กับแวนฮูลเรียบร้อยแล้ว และถูกบรรหาร ศิลปอาชา เจ้ากระทรวงคนต่อมาสั่งยกเลิกตามมติครม.

เพราะถ้าประวัติศาสตร์เรื่องราวเหล่านี้ ทางโซลเวย์ไม่ทราบมาก่อน ก็เป็นอันว่า เป็นความบกพร่องของสถานทูตเบลเยียมกรุงเทพฯเอามาก ๆ

แต่ความจริงก็รู้กันอยู่ว่าโซลเวย์นั้นมีข้อมูลพร้อมและรู้ดีว่า การเจรจาร่วมทุนกับกลุ่มนักธุรกิจไทยและรัฐบาลไทยนั้นจะต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวอย่างไร

โซลเวย์มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเคมีชั้นสูงมานานกว่า 125 ปี มาเมืองไทยด้วยเจตจำนงใช้ฐานผลิตเมืองไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการวางเครือข่ายผ่านแปซิฟิกริม ในเวทีธุริจแข่งขันด้านเคมีภัณฑ์ในตลาดโลก เพราะอะไร ก็เพราะประเทศไทยมีวัตถุดิบปิโตรเลียมและาฐานผลิตผลิตภัณฑ์ชั้นกลาง ที่ได้จากวัตถุดิบปิโตรเลียม ประกอบกับฐานตลาดที่นำเข้าอยู่ปีละหลายพันล้านบาท

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่จูงใจให้โซลเวย์มองเมืองไทยด้วยเหตุผลดังว่านั้น

กับซีพีก็เช่นกัน แม้ประเสริฐพุ่งกุมาร ผู้ใหญ่คนหนึ่งในซีพีจะเคยบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าอุตสาหกรรมอาหารของซีพีเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของซีพพีแต่ในอนาคตข้างหน้า ธุรกิจอื่นใดที่ซีพีสามารถทำกำไรได้โดยมีผลประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ซีพีจะไม่มุ่งไปสู่ธุรกิจนั้น

กับโซลเวย์แห่งเบลเยียมผลิต PVC ก็เช่นกัน แม้ซีพีจะไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่พาร์ตเนอร์อย่างโซลเวย์ก็เข้มแข็งในวิทยาการที่ซีพีสามารถเรียนรู้ได้ แต่เมื่อหันมาพินิจพิเคราะห์กับคำพูดของธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งของซีพีที่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "หัวใจสำคัญของซีพียังอยู่ที่ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ที่บ้านเรามีทรัพยากรอยู่เป็นจำนวนมากที่พร้อมให้เขาใช้วิทยาการสมัยใหม่ไปพัฒนาเลี้ยงประชากรโลก" ก็ย่อมเห็นจุดที่แตกต่างกันของแนวคิดของผู้ใหญ่ในซีพีอยู่บ้าง

หลักฐานยืนยันถึงคำพูดที่มีความหมาสะท้อนถึง ยุทธศาสตร์การลงทุนของซีพีในโลกธุรกิจนี้ของธนินทร์ ก็คือ โครงการลงทุนในสยามแม็คโคร และ 7-ELEVEN ที่โครงการทั้ง 2 อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของธนินท์เพียงผู้เดียว

คำถามคือเพราะอะไรธนินท์ถึงให้ความสำคัญมากเพียงนี้ทั้ง ๆ ที่โครงการทั้ง 2 นี้มันไม่ใช่การผลิต แต่เป็นการค้าธรรมดา ๆ

คำตอบก็คือ ทางสยามแม็คโครและ 7-ELEVEN ซีพีต้องการใช้เป็นช่องทางจดัจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทุกตัวของซีพีสู่ตลาดโลกที่ทั้ง 2 มีอยู่อย่างกว้างขวางทั่วโลก นั่นเอง

"เพราะซีพีมุ่งผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก ไม่ใช่แต่เพียงคนไทยเท่านั้น" นี่คือยุทธศาสตร์ใหม่ของซีพีในคริสต์ศักราช 1990

ด้วยเหตุผลด้านยุทธศาสตร์เดียวกันนี้ การร่วมลงทุนกันโซลเวย์ก็เช่นกัน การร่วมมือกันระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซีพีกับยักษ์ใหญ่ของเบลเยียม และประชาคมยุโรปอย่างโซลเวย์ประสานเข้ากับบริษัทการค้าสาขาของซีพีในบรัสเซลย์ ก็ย่อมเป็นหมากสำคัญในการรุกคืบธุรกิจอาหารของซีพี ที่ผลิตจากฐานผลิตต่าง ๆ ทั่วโลก เข้าสู่ตลาดประชาคมยุโรป ก่อนร่วมเป็นหนึ่งเดียว (SINGLE MARKET) ในปี 1992 ได้โดยง่าย โดยมีบารมีของบริษัทโซลเวย์เป็นหลักผิงที่แข็งแกร่ง

ความจริงหมากลของซีพีวิธีนี้เป็นหมากที่ซีพีเคยใช้มาแล้วในตลาดญี่ปุ่น โดยผ่านกลไกการลงทุนร่วมกับบริษัทมินิแบในเมืองไทยเพื่อผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และตลับลูกปืน

ประเสริฐ พุ่งกุมาร ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า เหตุที่ต้องลงทุนร่วมกับมินิแบ ก็เพราะหวังว่าจะอาศัยบารมีของผู้ใหญ่ในมินิแบคุยกับมิติญี่ปุ่นให้เปิดตลาดหมูของซีพีเข้าญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หมากกลของซีพีในการลงทุนร่วมกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอย่างโซลเวย์เพื่อผลิต PVC นี้ จึงฉลาดเฉียบแหลมมาก ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us