Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 ตุลาคม 2551
“ไทย”ปท.เสี่ยงสุดอันดับ2ในเอเชีย การเมืองภายในบวกวิกฤตเศรษฐกิจ             
 


   
search resources

Economics




รอยเตอร์ – ประเทศไทยมีความเสี่ยงทางด้านการเมืองและสังคมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิกในปี 2009 รองลงมาจากอินเดียเท่านั้น สืบเนื่องจากปัญหาความไร้เสถียรภาพภายในเป็นปัจจัยหลัก ทั้งนี้เป็นการจัดอันดับของ บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (เพิร์ก)

เพิร์ก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง ได้เผยรายงานการประเมินความเสี่ยงของประเทศในเอเชียแปซิฟิก 16 ประเทศ โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความวุ่นวายทางการเมือง การคุกคามจากพวกนักกิจกรรมทางสังคม และความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล จากนั้นให้ค่าคะแนนการประเมินซึ่งมีช่วงตั้งแต่ 0-10 คะแนน โดยค่าคะแนนศูนย์แสดงถึงสถานการณ์ทางสังคม-การเมืองที่ดีเยี่ยม ส่วนค่าคะแนน 10 แสดงถึงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด

ผลการประเมินปรากฏว่าอินเดียมีค่าคะแนนสูงสุดคือ 6.87 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านความมั่นคงและความไม่สงบในปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นยังมีความไม่มั่นใจต่อผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปีหน้า อีกทั้งในระยะหลังก็ยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและการถูกจู่โจมจากพวกก่อการร้ายบ่อยครั้งขึ้นด้วย

“อินเดีย ไทย และมาเลเซียไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินโลกมากนัก แต่ปัญหาความเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ” รอเบิร์ต แบรดฟุต กรรมการผู้จัดการของพีอีอาร์ซ๊ กล่าว

ทั้งนี้รายงานของพีอีอาร์ซีระบุด้วยว่า “สำหรับประเทศทั้งสามนี้ พายุเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะถล่มเข้ามาจะเข้าเสริมให้สถานการณ์เลวร้ายลงยิ่งขึ้น” อย่างไรก็ตาม “อินเดียยังเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนอยู่ดี ไม่ว่าจะใครจะชนะการเลือกตั้งปีหน้าก็ตาม”

ส่วนไทยนั้นรั้งอันดับสองของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียในปี 2009 ด้วยค่าคะแนน 6.28 เนื่องจากปัญหาความผันผวนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2009 โดยจะกระทบต่อสถาบันหลักๆ ของประเทศด้วย

สำหรับมาเลเซียมีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับสามในภูมิภาคนี้ ก็เพราะการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองได้ซ้ำเติมความตึงเครียดในเรื่องเชื้อชาติและศาสนาให้รุนแรงยิ่งขึ้น ในรายงานยังระบุด้วยว่า “สถานการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะได้เห็นการคัดค้านทางการเมืองที่รุนแรงกว่าในอดีต”

ส่วนประเทศในกลุ่มที่มีเสถียรภาพสูงสุดและมีความเสี่ยงทางการเมืองต่ำสุดในปีหน้าก็คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และออสเตรเลีย แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินโลกก็ตาม

ส่วนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวิกฤตการณ์ทางการเงิน ก็กำลังอ่อนแอลงทั้งทางเศรษฐกิจและจิตวิทยา ขณะที่ศักยภาพทางด้านการเมืองและการทหารก็จะลดต่ำลงจากเดิม อีกทั้งจะมีความกระตือรือร้นกับการผลักดันแนวคิดต่างๆ ของตนในต่างประเทศน้อยลงตามไปด้วย โดยจะหันไปพึ่งพาพันธมิตรอย่างญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลียมากขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับเอเชีย

ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้คะแนน 5.33 เนื่องจากรัฐบาลจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการรักษาระดับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจไว้ พร้อมไปกับการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศเพื่อรับมือกับตลาดส่งออกที่จะอ่อนตัวลงในปีหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us