Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 ตุลาคม 2551
เปิดบทเรียน ‘ไมเนอร์’สร้างความยั่งยืนธุรกิจ             
 


   
www resources

โอมเพจ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, บมจ.

   
search resources

Franchises
เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, บมจ.




6 ปีกับการนำกลยุทธ์แฟรนไชส์มาเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจกลุ่มอาหารของ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยมีเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ที่บริษัทได้พัฒนาโปรดักส์สร้างแบรนด์ขึ้นมาเอง และ สเวนเซ่นส์ แฟรนไชส์ไอศรีมสัญชาติอเมริกันที่กลุ่มไมเนอร์ซื้อแฟรนไชส์เข้ามาบริหาร

วันนี้พิสูจน์ได้ถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ดังกล่าว หากมองในแง่ของจำนวนสาขาของเดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่มี 188 สาขาแบ่งเป็นสาขาที่บริษัทลงทุนเอง 141 สาขา แฟรนไชซี 47 สาขา และสวเนเซ่นส์ จำนวน 203 สาขา บริษัทลงทุนเอง 108 สาขาและ สาขาของแฟรนไชซีที่ 95 สาขา

ส่งผลการเติบโตแฟรนไชส์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้น 24% เป็นการเติบโตของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี 14% และสเวนเซ่นส์ที่ 35% ขณะปัจจุบันยังคงสัดส่วนการลงทุนของบริษัทยังคงอยู่ที่ 70% และสาขาแฟรนไชซี 30% แต่เป้าหมายในอีก 3 ปีข้างหน้าสัดส่วนจะเปลี่ยนเป็น 50/50

ทั้งนี้ พบว่า อัตราการเติบโตของทั้ง 2 แบรนด์ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) ทะลุเป้าที่ตั้งไว้ทั้งปี เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ตั้งเป้า 4 สาขา แต่มีการลงทุนที่ 11 สาขา สเวนเซ่นส์ ตั้งเป้า 10 สาขา แต่มีการลงทุนแล้ว 29 สาขา และไตรมาสสุดท้ายหรืออีก 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม)นี้จะมีการลงทุนของสเวนเซ่นส์อีก 2-3 สาขา รวมถึงเป้าหมายการขยายสาขาแฟรนไชส์ในปี 2552 ของทั้ง 2 แบรนด์นี้อย่างละ 10 สาขา

เป็นที่สังเกตว่า ตัวเลขของจำนวนแฟรนไชส์ เป็นการขยายสาขาใหม่ไปยังภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดขนาดกลาง เช่น ศรีษะเกษ ระนอง เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ หรือ ขยายสาขาเพิ่มในจังหวัดหัวเมือง เช่น หาดราไวย์ จ. ภูเก็ต อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

การเติบโตของ 2 แบรนด์แฟรนไชส์เครือไมเนอร์ ณ วันนี้ ที่บริษัทได้เดินตามธงที่ปักไว้คือพื้นที่ในต่างจังหวัด วิเคราะห์กันถึงองค์ประกอบความสำเร็จที่เกิดขึ้นประกอบด้วย

1. เป็นกลุ่มคนที่เคยซื้อแฟรนไชส์มาก่อนแล้ว ปรากฏว่าแบรนด์นั้นไม่ประสบความสำเร็จจึงเปลี่ยนแบรนด์ใหม่โดยยังคงการลงทุนด้วยการซื้อแฟรนไชส์ หรือหมดสัญญากับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งแล้วมองหาโอกาสกับธุรกิจใหม่หรือที่เป็นเทรนด์ในขณะนี้

2.การเข้ามาของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ อายุเฉลี่ย 26-27 ปี ที่มีความรู้ ความเข้าใจต่อระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี

3. การเพิ่มขึ้นของจำนวนพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดพบว่าตลอดปี 2551 นี้มีการเกิดขึ้นของดิสเคาท์สโตร์ บิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้โลตัส เป็นจำนวนมากและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แน่นปึ๊กกับเครือไมเนอร์ หลังจากระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาชะงักไปเพราะเจอข้อกฎหมายว่าด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในท้องถิ่น

กระทั่งทำเลพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑลเองก็ตาม พบว่า ยังมีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ใหม่ๆ ด้วยการรีโนเวทพื้นที่ใหม่ เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เช่าสำหรับธุรกิจอาหารให้ได้เข้าไปจับจอง เช่น ดิสเคาท์สโตร์ เทสโก้โลตัส ศรีนครินทร์ ที่ยังไม่มีธุรกิจอาหารของเครือไมเนอร์ไปเปิดให้บริการ

4. การปรับลดเงื่อนไขการลงทุน ในส่วนของเงินลงทุน ในต้นปี 2551 เดอะพิซซ่า คอมปะนี จากเดิม 14-15 ล้านบาทปรับเหลือ 11 ล้านบาท สเวนเซ่นส์ จากการลงทุนเดิม 7 ล้านบาทปรับลดลงทุนเพียง 5-6 ล้านบาทเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าเม็ดเงินการลงทุนสอดรับกับความสนใจของกลุ่มผู้เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัดที่คำนวณยอดขายต้องเป็นไปได้กับเม็ดเงินที่ลงทุน ซึ่งตรงจุดนี้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของกลุ่มผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี

นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว ยังพบว่า พฤติกรรมลูกค้า (ผู้บริโภค) ในพื้นที่ต่างจังหวัดนั้น จากมีมุมมองต่อการรับประทานพิซซ่า ในโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ปัจจุบันความรู้สึกนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว รับประทานพิซซ่าไม่ใช่รอโอกาสพิเศษเพียงอย่างเดียว และผู้บริโภคต่างจังหวัดมีอำนาจการจับจ่ายสูง

ทั้งนี้ “อรรถ ประคุณหังสิต” ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจแฟรนไชส์ ได้สรุปผลสำรวจความพึงพอใจต่อการเข้ามาลงทุนกับ 2 แบรนด์แฟรนไชส์เครือไมเนอร์ ไว้ว่า

1. แบรนด์มีความแข็งแกร่ง เชื่อมั่นว่าแบรนด์สามารถสร้างผลกำไรและมียอดขายดี

2. มั่นใจต่อบริษัทไมเนอร์ และพร้อมปรับตัวตามวัฒนธรรมองค์กร ที่จะเป็นตัว Drive ธุรกิจ นั้นคือทุกคนต้องเป็น “ตัวจริง” นอกจากจะมีเงินลงทุนแล้ว ยังต้องเป็น Business Operator ด้วย

และความพึงพอใจที่ว่า หากแปลงออกมาเป็นความพึงพอใจต่อรายได้ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยยอดขายของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ที่ 2 ล้านบาทต่อเดือนได้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 15% ส่วนสเวนเซ่นส์ ยอดขายที่ 8-9 แสนผลตอบแทนเฉลี่ย 15-20% ในด้านของสัญญาแฟรนไชส์ 10 ปี 5 ปีแรกแฟรนไชซีต้องสามารถคืนทุนได้ จากนั้นอีก 5 ปีคือช่วงของการเก็บเกี่ยวผลกำไร

แต่ในโลกธุรกิจการแข่งขันกับตนเอง เดินไปสู่เป้ามหมายที่ตั้งไว้ และสามารถทำได้นั้น ไม่ใช่ความสำเร็จทั้งหมด ตราบใดที่ยังมีคู่แข่ง ปัจจัย ภายนอก สถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง เข้ามาเป็นตัวแปร

ดังตอนหนึ่งในการเปิดงานสัมมนา โดย “วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้” ประธานบริษัท กล่าวว่า

“เราทุกคนกำลังเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองและจากสภาพเศรษฐกิจที่สับสน เราไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ และสร้างการเติบโตของธุรกิจไปด้วยกัน

ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่เก่งจะสามารถประคองตัวอยู่ได้ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมตนเองและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อฝ่าฟันช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก”

ทำให้การจัดสัมมนาแฟรนไชซีทั่วประเทศกว่า 200 คนในปีนี้ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ใช้ธีมว่า “พุ่งเร็วกว่าใคร ก้าวไกลสู่ความสำเร็จ”

ดังนั้นรูปแบบงานในปีนี้จึงได้แตกต่างจากปีที่ผ่านมา โดยได้มือดี บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กร จัดสัมมนาในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ จำลองสถานการณ์เพื่อให้แฟรนไชซีได้เผชิญและแก้ไขปัญหาจากโจทย์ในเกมธุรกิจ ซึ่งเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์แก้ไขอุปสรรคปัญหาทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ

พร้อมรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ผ่านวิทยากร ในหัวข้อ Change Management โดย “จันทนา สุขุมานนท์” รองประธานบริหาร (ลูกค้าสัมพันธ์) บริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด และ “ประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์” ผู้ก่อตั้งบริษัท แบรนด์คอนเนคชั่น ในหัวข้อ “คิดให้เป็นแกะดำ”

รวมถึงการมอบรางวัลแฟรนไชซีดีเด่น (The Best Franchise Award) เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการ (อ่านตารางประกอบ)

“อรรถ” บอกถึงเป้าหมายของการจัดงานในปีนี้ว่า

1. เสริมสร้างความรู้ ศักยภาพในการทำธุรกิจ

2.สร้างความสัมพันธ์ของการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี

3.เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ให้ได้ผลตอบแทนของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

“เชื่อมั่นว่าความรู้ และการทำเวิร์คชอป แฟรนไชซีจะนำไปพัฒนาธุรกิจทำให้ return on vesment เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญคือลดอัตราเสี่ยงต่อความล้มเหลว หากนำความรู้นี้พัฒนาธุรกิจจะทำให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน

รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ จะส่งผลต่อระบบแฟรนไชส์ของไมเนอร์ที่เข้มแข็ง เพราะต้องการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งในเมืองไทย”

สำหรับในปี 2552 นั้น ไมเนอร์ ได้วางธีม Year of Operation Excellent ปีแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการร้าน QSC (Qulity Service Cleanness)

เท่ากับว่าเป็นการ Black to basic หรือกลับไปสู่พื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจร้านอาหารอีกครั้ง ที่มองว่าภายใต้การแข่งขันสูง และสถานการณ์เศรษฐกิจที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้ QSC เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง !

7 กลยุทธ์สร้างความสำเร็จแฟรนไชซี

1.ตั้งเป้าที่ท้าทายและเฉพาะเจาะจง หมั่นทบทวนเป้าหมาย อยู่เป็นประจำ
2.ผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแฟรนไชซอร์
3.สื่อสาร ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมุ่งไปยังความต้องการที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งแนวทางการแก้ไข
4.มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ และรับผิดชอบในผลการดำเนินงาน
5.ทำงานอย่างมีความสุขและเป็นกันเองกับเพื่อนร่วมงานทุกคน
6.เสริมสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง โดยรักษามาตรฐานของคุณภาพสินค้าและการบริการ
7.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนแฟรนไชซีและเข้าร่วมประชุมแฟรนไชส์เป็นประจำ

7 ยุทธวิธีสร้างความสำเร็จแฟรนไชซอร์
1.ตอกย้ำความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง โดยสื่อสารเป้าหมายค่านิยม และภารกิจที่ชัดเจนขององค์กร
2.เข้าใจในแรงจูงใจและความต้องการของแฟรนไชซีอย่างแท้จริง เพื่อเสนอความช่วยเหลือและการสนับสนุนได้อย่างถูกต้อง
3.ติดต่อสื่อสารกับแฟรนไชซีเป็นประจำ รวมทั้งให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะประเด็นปัญหาสำคัญ
4.ทุ่มเทเวลาในการทำงาน โดยรับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่างๆของแฟรนไชซีอย่างเข้าใจ
5.สร้างแรงบันดาลใจแห่งความสำเร็จให้กับผู้อื่นโดยอาศัยประสบการณ์ตัวอย่างที่ดีและทัศนคติ “เราทำได้” ในตัวท่าน
6.ยึดมั่นในคำสัญญาของท่าน และดำเนินการในทุกเรื่องด้วยความยุติธรรม
7.ค้นหาแนวทางในการเพิ่มความสามารถการทำกำไรให้กับแฟรนไชซี ผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us