Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 ตุลาคม 2551
ปีหน้าคนไทยเผชิญวิกฤตแรงงานครั้งใหญ่ลอยแพทั่วหน้า-บัณฑิตใหม่เตะฝุ่น 7 แสนคน             
 


   
search resources

Economics




ส.อ.ท.ส่งสัญญาณ “ส่งออก”ปีหน้าสะดุด “ก่อสร้าง-สิ่งทอ”มีแนวโน้มกระทบหนัก “เลิกจ้าง-ลดพนักงาน-ลดโอที” รับต้นทุนพุ่ง สุดท้ายลอยแพพนักงานรับวิกฤต ขณะที่ TDRI หวั่นเกิดวิกฤตขั้นรุนแรง “ส่งออก”นิ่ง –GDPโตแค่ 2-3 % วิกฤตใหญ่กำลังมาเลิกจ้าง “แรงงาน”หนีไม่พ้น ขณะที่ผลสำรวจหอการค้าไทย-สถิติแห่งชาติ ระบุปีหน้าจบป.ตรีส่อตกงาน 7 แสนคน ขณะที่กทม.ครองแชมป์คนว่างงานมากที่สุด

จากปัญหาการเมืองภายในประเทศรวมทั้งภาวะของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวลดลง ทำให้เศรษฐกิจของไทยส่อเค้าไปไม่รอด และ หวั่นจะซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนปี 2540 ซึ่งหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเริ่มทยอยลดจำนวนพนักงานหรือเลย์ออฟพนักงานกันให้เห็นแล้ว และผู้ประกอบการไทยมีแนวโน้มจะเริ่มดำเนินการตามเพราะอัตราการส่งออกที่ลดลง การลดจำนวนพนักงานเพื่อลดต้นทุนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น อาทิ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และก่อสร้าง ที่ปีนี้อาจจะทรงตัวจนถึงสิ้นปีได้ แต่ปีหน้าหลายฝ่ายคาดว่าจะเกิดวิกฤตแรงงานอีกครั้ง

วิกฤตแรงงาน-ปีหน้าเผาจริง

สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ว่าจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไทยซึ่งพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯก็ได้รับผลกระทบไปเช่นกันแต่เชื่อว่าตั้งแต่นี้จนถึงปลายไตรมาส 4 ผู้ประกอบการน่าจะประคองตัวผ่านไปได้ แต่ในปีหน้า (2552 )มีแนวโน้มว่า การส่งออกชะลอตัวลงไปมากกว่านี้เห็นได้จากออเดอร์สั่งของที่ลดลงในกลุ่มผู้ส่งออกซึ่งปีหน้าอาจจะได้เห็นหลายบริษัทมีการทยอยลดคนงานลงเพื่อลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

“ผู้ประกอบการเริ่มลดจำนวนโอทีของพนักงาน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าปีหน้าอาจจะมีการลดจำนวนพนักงานเพื่อให้แรงงานได้มีการเตรียมตัวหากเกิดวิกฤตขึ้นมาจริงๆ”

นอกจากนี้แล้วกลุ่มธุรกิจก่อสร้างอาจจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่คาดว่าจะมีการลดคนงานลงจำนวนมากในปีหน้าเพราะโครงการใหญ่ๆของภาครัฐไม่เกิดขึ้นผู้รับเหมาต้องลดจำนวนพนักงาน หรือไม่รับคนงานเพิ่ม ขณะที่สิ่งทอและเสื้อผ้าก็เป็นอีกเซกเตอร์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้เพราะใช้แรงงานในภาคการผลิตจำนวนมากหากไม่สามารถส่งออกได้ตามกำลังการผลิตปีหน้าอาจจะได้เห็นการลดคนงานครั้งใหญ่ก็ได้

อย่างไรก็ดีขณะนี้ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการสำรวจว่ากลุ่มอุตสาหกรรมใดมีแนวโน้มลดคนงานหรือเลย์ออฟพนักงานในปีหน้าเพื่อให้ผู้ประกอบการ และแรงงานเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตดังกล่าวเพราะตลาดส่งออกหลักของไทยทั้งใน สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมกันกว่า 35 % ของการส่งออกทั้งหมด มีแนวโน้มขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในปีหน้า

“การส่งออกปี 2552 ขยายตัวที่ 13-15% ก็เก่งแล้วปีหน้าผู้ประกอบการจะลำบากมากกว่าปีนี้แน่นอน” ประธานส.อ.ท.ระบุ

คาด GDP โต 2-3% เลย์ออฟ‘แรงงาน’ บานแน่.!

ด้าน ดร.สมชัย จิตสุชน” ผู้อำนวยการวิจัยและด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ฝ่ายวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม สถาบันพัฒนาวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)ขยายให้เห็นภาพว่า หากภาคการส่งออกซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมีปัญหาไม่เฉพาะการส่งออกไปเฉพาะ 3 กลุ่มหลักอย่าง สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นเท่านั้นแต่คู่ค้าไทยอย่างประเทศจีน และเกาหลีก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้างแล้วซึ่งดูได้จากยอดส่งออกที่ลดลงอย่างมากในช่วงนี้ เมื่อการส่งออกมีปัญหาย่อมกระทบต่อทุกเซกเตอร์ในประเทศและการจ้างแรงงานก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยแต่จนถึง ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีการลดจำนวนพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมใด

อย่างไรก็ตามหากการส่งออกมีปัญหาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจจะโตไม่ถึง 2-3% ในปีหน้าเชื่อว่าจะเกิดวิกฤตขั้นรุนแรงได้ ซึ่งขณะนี้ยังประเมินไม่ได้เพราะยังผันผวนมากแต่หากเกิดวิกฤตขั้นรุนแรงเกิดขึ้นการลดจำนวนพนักงานหรือการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมากจะตามแน่นอน นอกจากปัญหาแรงงานที่อาจจะมีปัญหาแล้วตอนนี้ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงอาจจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ตามมาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้

ส่วนราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงย่อมส่งผลดีในทางเศรษฐกิจในเรื่องต้นทุนที่อาจจะลดลง และดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงตามมาด้วย

“ภาคการส่งออกปีหน้าจะสะดุด จะหวังพึ่งพาค่อนข้างลำบาก” ดร.สมชัย กล่าวยืนยัน หวั่นปี’52 บัณฑิตใหม่เตะฝุ่น 7แสนคน

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่มองว่า ปีหน้าหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ไตรมาสละ 3.5% เชื่อว่าจะกระทบต่อการจ้างงานอนาคตโดยแรงงานอุตสาหกรรมภาคก่อสร้าง หรือสินค้าฟุ่มเฟือย อาจต้องเผชิญการตกงาน ขณะที่แรงงานใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาปีละ 700,000 คนอาจต้องประสบปัญหาว่างงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีโอกาสการหางานที่ลดต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตามผลสำรวจขณะนี้ยังไม่พบธุรกิจใดมีปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ หรือปลดคนงานออก

ขณะที่ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติประจำเดือนสิงหาคม 2551 พบว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 1.3 แสนคน รองลงมาเป็นผู้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.2 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น1.1 แสนคน ระดับประถมศึกษา 6 หมื่นคน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3 หมื่นคน ตามลำดับ

“กทม.” แชมป์ว่างงานเพิ่ม

ขณะที่มีผู้ว่างงานประมาณ 4.5 แสนคนคิดเป็นอัตราการว่างงานในภาพรวมร้อยละ 1.2 โดยกรุงเทพมหานครมีอัตราการ ว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.9 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 1.4 ภาคใต้ร้อยละ 1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.0 และภาคเหนือร้อยละ 0.9 ตามลำดับ

หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว พบว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 และภาคกลางลดลงร้อยละ 0.1ในจำนวนผู้ว่างงานนี้ เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.9 แสนคน และเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน2.6 แสนคน สำหรับผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนเป็นผู้ว่างงานจากภาคการบริการ 1.3 แสนคน ภาคการผลิต 9 หมื่นคนและภาคเกษตรกรรม 4 หมื่นคน

สำหรับจำนวนผู้มีงานทำมีจำนวน 37.89 ล้านคน โดยเป็นผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 22.40 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 59.1 และภาคเกษตรกรรม 15.49 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 40.9 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ผู้มีงานทำในภาพรวมเพิ่มขึ้น 4.9 แสนคน แยกเป็นผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นในสาขาก่อสร้าง1.9 แสนคน สาขาขายส่ง/ขายปลีกเพิ่มขึ้น 1.8 แสนคน สาขาการขนส่งเพิ่มขึ้น 9 หมื่นคน สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้น 7 หมื่นคน สาขาการโรงแรม/ภัตตาคารเพิ่มขึ้น 4 หมื่นคน ส่วนสาขาการผลิตลดลง 2.9 แสนคน ที่เหลืออยู่ในสาขาอื่น ๆ สำหรับผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมลดลงประมาณ 7 หมื่นคน

จากนี้ไปจึงต้องติดตามเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิดเพราะส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้และเมื่อการส่งออกไม่ได้ตามเป้าผู้ประกอบการเองมีรายได้ที่ลดลงหนึ่งในทางออกคือการเลิกจ้างหรือเลย์ออฟพนักงานจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน ซึ่งวิกฤตครั้งนี้อาจจะกำลังหมุนกงล้อไปเหมือนวิกฤตปี’40 อีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us