Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2551
“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เปิดตลาดเพลงไทยในเอเชีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Musics




“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เปิดตลาดเพลงไทยในเอเชีย ลุยขายเพลงแนวป๊อป ส่ง “เป๊ก-ออฟ-ไอซ์ / บี้ / ชิน / เจมส์ / กอล์ฟ-ไมค์” เจาะคนท้องถิ่นที่ชื่นชอบเมืองไทย และขายเพลงลูกทุ่ง ส่ง “เสก โลโซ / พี สะเดิด / ต่าย อรทัย / ตั๊กแตน ชลดา” เจาะคนไทยทำงานต่างแดนแล้วคิดถึงบ้าน ชี้ญี่ปุ่นเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโตสูงสุดในเอเชีย เผยเป้าหมายต้องการเป็นผู้ให้บริการเพลงแบบครบวงจร ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนทั่วเอเชีย คาดสิ้นปีนี้ “หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์ฯ” โกยรายได้ 40 ล้านบาท

นายสุรชัย เสนศรี กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนเข้าไปทำตลาดเพลงไทยในภูมิภาคเอเชีย 9 ประเทศที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโตทางธุรกิจสูง ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเน้นจับมือกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในประเทศนั้นๆ อาทิ เอเว็กซ์, โอเชียน บัตเตอร์ฟลาย, มิวสิก้า ฯลฯ ร่วมบริหารจัดการศิลปินและคอนเทนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้มีรายได้จากหลายช่องทางมากที่สุด เช่น รายได้จากธุรกิจขายซีดี วีซีดี และดีวีดีเพลง รายได้จากธุรกิจขายเพลงดิจิตอล รายได้จากธุรกิจโชว์บิซ เพื่อเป้าหมายการเป็นผู้ให้บริการเพลงแบบครบวงจร (Total Music Business) ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคทั้งคนไทย และคนท้องถิ่นแต่ละประเทศทั่วเอเชีย

ทั้งนี้ บริษัทฯ แบ่งรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.ขายเพลงแนวป๊อป เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ที่ชื่นชอบเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมไทย อาหารไทย คนไทย หรือเคยมาเมืองไทย เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะรู้สึกคุ้นเคยกับเพลงไทย และ 2.ขายเพลงลูกทุ่ง เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนไทยที่ไปทำงานต่างแดนแล้วคิดถึงบ้าน (Home Sick Business) ซึ่งถือเป็นปีแรกที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจเพลงไทยในภูมิภาคเอเชียอย่างจริงจัง โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ “หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล” จะมีรายได้ประมาณ 40 ล้านบาท

สำหรับแผนดำเนินธุรกิจเพลงป๊อปในภูมิภาคเอเชีย ได้เข้าไปทำตลาดในญี่ปุ่น ด้วยการจับมือกับบริษัท เนสท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ค่ายเพลงในญี่ปุ่น เพื่อร่วมทำตลาดให้กับ “ไอซ์ ศรัณยู วินัยพานิช” ในญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นปี 2550 เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายคนญี่ปุ่นที่ชื่นชอบเมืองไทย โดยนำ 2 อัลบั้ม (คือ อัลบั้ม Ice และอัลบั้ม Party On Ice) และ 1 ซิงเกิ้ล (คือ เพลงอย่าเล่นตัว) เข้าไปวางจำหน่าย ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก ล่าสุดเตรียมนำอัลบั้มใหม่ Ice with U ซึ่งวางจำหน่ายในไทยแล้ว ไปจำหน่ายที่ญี่ปุ่นประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ จากนั้นเตรียมขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาแมนดาริน ได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาบาฮาซา ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ขณะที่แผนดำเนินธุรกิจเพลงไทยในญี่ปุ่นปี 2552 แบ่งออกเป็น ช่วงครึ่งปีแรกเตรียมทำตลาดให้กับ “เป๊ก-ออฟ-ไอซ์” และช่วงครึ่งปีหลังเตรียมทำตลาดให้กับ “บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว”

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมขยายธุรกิจขายเพลงแนวป๊อปไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตลอดปี 2552 ดังนี้ เตรียมทำตลาดให้กับ “ชิน ชินวุฒิ อินทรคูสิน” ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาแมนดาริน และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาบาฮาซา / เตรียมทำตลาดให้กับ “เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์” ในมาเลเซีย หลังจากประสบความสำเร็จในการทำตลาดเกาหลี / เตรียมทำตลาดให้กับ “กอล์ฟ-ไมค์” ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาแมนดาริน หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับการทำตลาดในญี่ปุ่นและเกาหลี / เตรียมจัดโชว์บิซให้กับ 2 ศิลปินในสิงคโปร์ คือ ดา เอ็นโดรฟิน และแคลช ประมาณ 5 ครั้งต่อศิลปินต่อปี

ส่วนแผนดำเนินธุรกิจเพลงลูกทุ่งในภูมิภาคเอเชียในปี 2551 ได้เข้าไปทำตลาดในไต้หวัน โดยนำศิลปิน “เสก โลโซ” และ “พี สะเดิด” เข้าไปเจาะกลุ่มเป้าหมายคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านอาศัยในไต้หวันประมาณ 1 แสนคน ขณะเดียวกันเข้าไปทำตลาดในสิงคโปร์ โดยนำศิลปิน “ต่าย อรทัย” และ “ตั๊กแตน ชลดา” เข้าไปเจาะกลุ่มเป้าหมายคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานอาศัยในสิงคโปร์ประมาณ 5 หมื่นคน และในปี 2552 เตรียมเข้าไปทำตลาดในฮ่องกง เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านอาศัยในฮ่องกงประมาณ 50,000 คน และเตรียมเข้าไปทำตลาดในเกาหลีใต้ เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวโรงงานอาศัยในเกาหลีใต้ประมาณ 150,000 คน

“ผมคิดว่าคีย์ ทู ซัสเซสของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ทางด้านการทำตลาดเพลงไทยในเอเชีย น่าจะอยู่ที่บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการเพลงแบบครบวงจร (Total Music Business) ที่มีคอนเทนต์และทาเลนต์ ทั้งแข็งแกร่งและใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ผนวกกับการหาพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อร่วมบริหารจัดการศิลปินและคอนเทนต์ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าเราวางโพซิชั่นนิ่งเพลงไทยดีๆ และเจาะตรงกลุ่มเป้าหมายจะมีโอกาสเป็น นิช มาร์เก็ต อิน เดอะ บิ๊ก เพราะคนเอเชียส่วนใหญ่ชื่นชอบความเป็นไทยอยู่แล้ว” นายสุรชัย กล่าว

สาเหตุที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเพลงไทยในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโตสูง เพราะปัจจุบันตลาดเพลงในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าประมาณ 127,821 ล้านบาท คิดสัดส่วนเป็น 17.8% ของตลาดเพลงทั่วโลกที่มีมูลค่าประมาณ 717,086 ล้านบาท โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เพราะมีมูลค่าตลาดประมาณ 16 หมื่นล้านบาท (เทียบจาก 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 34 บาท) จัดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ตามด้วยเกาหลีใต้ ไทย ไต้หวัน จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

“ผมมองว่าเทรนด์ตลาดเพลงเอเชีย ส่วนใหญ่นิยมฟังเพลงเอเชียด้วยกัน เพราะช่วงหลังเพลงตะวันตกค่อนข้างนำเสนอแนวเพลงเดิมๆ ขณะเดียวกันศิลปินตะวันตกอยู่ห่างไกลจับต้องยาก คือ ไม่ค่อยเข้ามาโปรโมตในเอเชียเหมือนในอดีต ขณะที่คนฟังสามารถหาดาวน์โหลดเพลงตะวันตกที่ตัวเองชื่นชอบบนอินเตอร์เนตได้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้เล่นรายใหญ่ๆ ในเอเชีย ได้แก่ เอเว็กซ์ (Avex) เป็นผู้นำตลาดในญี่ปุ่น และครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวัน ฮ่องกง จีน และเกาหลี/ โอเชียน บัตเตอร์ฟลาย (Ocean Butterflies) ครองส่วนแบ่งตลาดภาษาแมนดาริน ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย/ มิวสิก้า (Musica) เป็นผู้นำลำดับต้นๆ ในตลาดอินโดนีเซีย และมาเลเซีย” นายสุรชัย กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us