Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2551
สุชาติฟุ้งอัดอีก9หมื่นล้านหนุนอสังหา-SME-เกษตร             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
Economics




คลังเตรียมอัดฉีดเงิน 9 หมื่นล้านบาทผ่านแบงก์รัฐเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี อสังหาริมทรัพย์และภาคเกษตร ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้ พร้อมถกหน่วยงานตลาดเงินตลาดทุนสร้างยุทธศาสตร์รับมือวิกฤต ขณะที่ 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์เข้าพบยื่น 5 มาตรการขยายมาตรการด้านภาษีสร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและผู้บริโภค กรมที่ดินยอมรับจัดเก็บรายได้ปีงบ'51 พลาดเป้า

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้รัฐบาลจะเริ่มอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 9 หมื่นล้านบาท ให้กับภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคการเกษตร โดยจะดำเนินการผ่านสถาบันการเงินของรัฐทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์

"การดำเนินการเรื่องนี้เพื่อต้องการให้การดูแลสภาพคล่องในระบบเพียงพอและเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งจะใช้เงินในเบื้องต้น 8-9 หมื่นล้านบาทผ่านทางแบงก์รัฐ และยังได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงินไปดูแลเพื่อให้สภาพคล่องในระบบสมดุล ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลรับผิดชอบต่อประชาชนและรับใช้ประชาชน" นายสุชาติกล่าว

ถกวอรูมเศรษฐกิจ 30 ต.ค.นี้

นายสุชาติกล่าวว่า ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคมนี้จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดเศรษฐกิจจริง ประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เข้าหารือเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

"จะมีการประชุมยุทธศาสตร์เพื่อดูแลปัญหาเศรษกิจทั้งระบบในเช้าวันพฤหัสนี้ แต่ในตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะมีรูปแบบออกมาอย่างไรบ้าง" นายสุชาติกล่าว

3 สมาคมอสังหาฯ ยื่น 5 ข้อเสนอ

รมว.คลังกล่าวว่า ตัวแทนจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3 สมาคม ประกอบไปด้วย สมาคมบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาคมอาคารชุดไทย ได้เข้าหารือเพื่อให้รัฐบาลดูแลปัญหาสภาพคล่องในระบบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตัวแทนจาก 3 สมาคมได้ยื่น 5 ข้อเสนอเพื่อให้รัฐบาลใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินได้แก่ 1.ต้องการให้รัฐบาลส่งสัญญาณให้ภาคธนาคารพาณิชย์ดูแลการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากกำลังซื้อที่แท้จริงมีมากถึง 8 หมื่นยูนิตแต่คาดว่าทั้งปีมียอดขายเพียง 7 หมื่นยูนิตเท่านั้น

2.ให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนปรมมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ภาษีธุรกิจเฉพาะ และการจดจำนอง โดยกระทรวงการคลังจะรับไปพิจารณา 3.เสนอให้รัฐบาลเร่งรัดให้มีการประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการเมกกะโปรเจกต์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามแผน 300 กิโลเมตร เอกชนก็จะมีความเชื่อมั่นพัฒนาพื้นที่บริเวณแนวรถไฟฟ้า

4.ต้องการให้รัฐบาลพิจารณาอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภคและขยายกำลังการผลิดให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้น โดยจะให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินเข้ามาดูแลสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องในระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และ5.เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเนื่องจากปัจจุบันความเชื่อมั่นลดลงไปมากมีการชะลอการซื้อลงจึงต้องเร่งสร้างความมั่นใจในจุดนี้อย่างเร่งด่วน

อสังหาฯ หวั่นปีหน้ายอดขายทรุด

นายประสงค์ เอาฬาร นายกสมาคมบ้านจัดสรร กล่าวว่า สมาคมทั้ง 3 ได้หารือกันเพื่อหาวิธีเสริมเศรษฐกิจปีหน้าให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตั้งหลักและเตรียมแผนการดำเนินธุรกิจปีหน้าได้อย่างเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากในปีนี้เหลือเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคงไม่สามารถทำอะไรได้มาก

ทั้งนี้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่แท้จริงในแต่ละปีเฉลี่ยจะอยู่ที่ 8 หมื่นยูนิต แต่ในปีนี้หลังจากที่ประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกทำให้ยอดขายลดลงแล้วเหลือเพียง 7.4 หมื่นยูนิตเท่านั้น และหากสมาคมไม่ทำอะไรยอดขายในปีหน้าอาจลดลงต่ำกว่า 7 หมื่นยูนิตก็ได้ ทั้งที่กำลังซื้อที่แท้จริงยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ หากภาคอสังหาริมทรัพย์สามารถเดินหน้าไปได้ธุรกิจของประเทศก็จะเดินหน้าได้เช่นกัน

ดบ.ลดกระตุ้นการลงทุน-จ้างงานเพิ่ม

นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ข้อเสนอที่สนับสนุนให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 1ใน5ข้อเสนอ ที่3สมาคมยื่นต่อกระทรวงการคลัง ซึ่งเห็นด้วยกับแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และธนาคารกลางของเกาหลี ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดใน 2 ส่วนคือ ในส่วนแรกคือ เป็นการเพิ่มกำลังซื้อของลูกค้า ส่วนที่สอง กระตุ้นให้เกิดการลงทุนของผู้ประกอบการในภาคการผลิต ช่วยเร่งให้เกิดการจ้างงานต่อเนื่อง

" แต่หากไม่มีการลดดอกเบี้ยการลงทุนไม่เกิด จะส่งผลให้การจ้างงานลดลง แรงงานว่างงานเพิ่มขึ้น กระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จากการหยุดลงทุนของผู้ประกอบการธุรกิจโดยรวม"นายอิสระกล่าว

ส่วนข้อเสนอให้รัฐฯส่งเสริมให้สถาบันการเงินสังกัดหน่วยงานรัฐฯ เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)เข้ามาสนับสนุนการปล่อยกู้นั้น เนื่องจากกังวลว่าธนาคารพาณิชย์จะเข้มงวดปล่อยกู้มากขึ้นจากภาวะเงินฝืดในขณะนี้ สำหรับข้อเสนอให้มีการยืดระยะเวลามาตรการด้านภาษีอสังหาริมทรัพย์โดยให้เพิ่มการลดภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการทำให้มีต้นทุนที่ลดลง และกล้าตัดสินใจพัฒนาโครงการใหม่ได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มกำลังซื้อประชาชนในทางอ้อม

นอกจากนั้น ยังส่งผลต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แม้ว่าการลดภาษีดังกล่าวจะส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีให้มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการก็ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้เต็มจำนวนอยู่ การลดลงของรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่หายไปนั้น จะส่งผลต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้ขยายตัว

คาดกรมที่ดินปีงบ'51พลาดเป้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการลดภาษี ค่าธรรมเนียมอสังหาริมทรัพย์ มีผลไปเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดวันที่ 28 มี.ค. 2552 นั้น ในส่วนของกรมที่ดินซึ่งทำหน้าในที่ในการจัดเก็บรายได้นำส่งกรมสรรพากร รวมถึงท้องถิ่นต่างๆ ปรากฎว่าตัวเลขล่าสุดของการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50- ส.ค.51) ตัวเลขจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 42,165.70 ล้านบาท มีประชาชนมาใช้บริการและทำธุรกรรมประมาณ 5.08 ล้านคน ขณะที่เป้าหมายของกรมฯปีงบ'51 (ต.ค.50- ก.ย.51) วางไว้ 50,000 ล้านบาท ซึ่งสถิติในการจัดเก็บรายได้ในแต่ละเดือนของกรมฯเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3,000 - 4,000 ล้านบาท ดังนั้น คาดว่าในปีงบ'51 การจัดเก็บรายได้จะพลาดเป้าประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 52 (ก.ย.51-ต.ค.52) วางเป้าจัดเก็บรายได้ 50,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเปรียบเทียบของปีงบ'51 กับปีงบ'50 (ต.ค.49-ก.ย.50) จะพบว่า ในปีงบประมาณ50 ทางกรมฯสามารถจัดเก็บรายได้ประมาณ 51,123 ล้านบาท มีประชาชนมาใช้บริการและทำธุรกรรม 5.3 ล้านคน

จี้ อปท.เบิกจ่ายสิ้นปี 7 หมื่นล้าน

นายสุชาติกล่าวหลังการประชุมร่วมกับโครงการกองทุนหมู่บ้าน โอทอปและเอสเอ็มแอลว่า จะกระตุ้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท โดยเป็นงบประจำและงบลงทุนอย่างละ 2 แสนล้านบาทให้ได้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา อปท.มีความกังวลว่าเงินไม่ได้อยู่ในมือจึงไม่กล้าเปิดประมูลจึแก้ปัญหาโดยการใช้เครดิตของรัฐบาลเปิดประมูลไปก่อนแล้วค่อยประสานด้านการจ่ายเงินต่อไป โดยช่วงที่เหลืออีก 3 เดือนก่อนสิ้นปีนี้ ท้องถิ่นน่าจะเบิกจ่ายได้ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท

ในขณะที่การดูแลกองทุนหมู่บ้าน โอทอปและเอสเอ็มแอลนั้นจะให้บุคคลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือโครงการทั้ง 3 เท่าที่จะทำได้ทั้งในเรื่องการเงิน การบริจาคและการช่วยเหลือ โดยจะให้เจ้าหน้าที่ประสานไปยังสมาคมหลักๆ เช่น สมาคมธนาคารไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างอยู่ดีมีสุขได้ รมว.คลังกล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ (28 ต.ค.) กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายเวลาการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน ให้กับผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ จาก 1 ปี เป็น 3 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us