การประชุมและสัมมนาภายใต้เอสเอ็มอี เวิร์ก กิ้งกรุ๊ป ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี
เน้นไปที่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กมากหรือ ไมโครเอ็นเตอร์ไพรส ซึ่งถูกละเลยมานานและไม่มีฐานข้อมูล
มากเท่ากับกลุ่มขนาดกลางและย่อม เผยตัวเลขประเทศไทยมีผู้ประกอบการรากหญ้าวัยรุ่นมาก
ที่สุด ในบรรดาเขตเศรษฐกิจทั้งหมด แต่ไม่นับเป็นสัญญาณที่ดีเพราะยังขาดคุณภาพ
ไทยรับหน้าเสื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลุ่มไมโคร
การประชุมเอเปก เอสเอ็มอี 2003 กำหนดจัดขึ้นระหว่าง 4-8 สิงหาคม 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่โดยมีสถานที่จัดประชุมและทำกิจกรรม
3 แห่ง คือ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง โรงแรมเวสทิน และหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ซึ่งใช้เป็นที่จัดแสดงสินค้าสุดยอดหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็ได้มีกิจกรรมล่วงหน้าก่อนการประชุม
เป็นการสัมมนาว่าด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการโดยมี นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน
สำหรับตัวแทนประเทศไทยได้เน้นการนำเสนอแนวคิดเรื่องการระดมทุน โดยดร.คณิศ แสงสุพรรณ
จากสำนักเศรษฐกิจการคลังเป็นผู้อภิปรายเพื่อชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย
มีปัญหาการเข้าถึงเงินทุน ในส่วนของไทยมีการพยายามแก้ปัญหานี้ โดยการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม
SME ตั้งธนาคารพัฒนา SME ธนาคารหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน
หัวข้อที่ประเทศไทยได้เลือกนำเสนอในการสัมมนาวันแรก ที่น่าสนใจอีกหัวข้อหนึ่ง
คือ แนวทางการระดมทุนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน นำเสนอโดยนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ
อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนปัญหาบางประการเช่นสินทรัพย์
ที่ยังไม่เคยเป็นที่ยอมรับว่าสามารถ แปลงเป็นทุนได้ เช่น สิทธิในที่ ทำกิน ทรัพย์สินทางปัญญา
ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียด กระบวนการแปลงสินทรัพย์กลุ่มดังกล่าวต่อไป
ด้านนายซัน เคว ไล เลขาธิการ การวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงการเศรษฐกิจไต้หวัน
เปิดเผยถึงกองทุนร่วม (venture capital) ว่า ในไต้หวัน กองทุนประเภทนี้ได้เติบโตอย่างมาก
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ไต้หวันเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจ ที่มีกองทุนร่วมทุนที่มีพลวัตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ทั้งนี้ กองทุนร่วมนี้เพิ่มมูลค่าขึ้นจาก 25,460 ล้านดอลลาร์ไต้หวันเมื่อปี 2539
เป็น 134,100 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในปี 2544 ซึ่งปัจจุบันกองทุนในลักษณะนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งทุนที่สำคัญของกิจการแรกตั้งในไต้หวัน
โดย 96% ของการลงทุนจากกองทุนประเภทนี้เป็น การลงทุนในกิจการไฮเทค
ขณะที่ นายคาร์ลอส เฟอราโร ผู้อำนวยการสำนักอุตสาหกรรมแห่งชาติ เปรู ได้กล่าวว่า
กองทุนร่วม (venture capital) เป็นเครื่องมือทางการเงินซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของผู้เริ่มก่อตั้งกิจการในระยะไม่กี่ปีมานี้
อย่างไรก็ตาม การที่กองทุนประเภทนี้เน้นการลงทุนในกิจการไฮเทค ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่
ซึ่งมีศักยภาพทางด้านอื่นๆ เช่น สิ่งทอ อาหาร หรือเครื่องใช้ทั่วไปยากที่จะเข้าถึงแหล่งทุนประเภทนี้ได้
ซึ่งเห็นว่าจะต้องมีการกำหนดกรอบเกณฑ์ทางกฎหมายใหม่ ให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถนำสินทรัพย์ในสังคมมาแปลงเป็นหลักทรัพย์
ที่สามารถใช้เป็นทุนหรือค้ำประกันเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนได้
ไทยทำแผนปฏิบัติการ Micro- Enterprise
ส่วนการประชุมกลุ่มย่อย เรื่องธุรกิจรายย่อยครั้งที่ 1 (1st Sub-Group on Micro-
Enterprise) ริเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้กรอบเอเปก SME จัดขึ้นเมื่อวานนี้
(4 ส.ค.) ซึ่งถือเป็นกิจกรรมก่อนหน้าการประชุมระดับคณะกรรมการและระดับรัฐมนตรีที่จัดขึ้นในวันที่
5-6 สิงหาคม และ 7-8 สิงหาคม ตามลำดับ
การประชุมกลุ่มย่อยนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากมติการประชุมคณะทำงานเอเปกเอสเอ็มอี
(APEC SME Working Group) ครั้งที่ 16 ที่มาเลเซีย ซึ่งมีมติให้เน้นการพูดคุยเรื่องการพัฒนาผู้ประกอบการเรื่องการพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย
(Micro Enterprise) การประชุมนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของ APEC SME Working Group ครั้งที่
17 ที่จังหวัดเชียงใหม่
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานการประชุมเรื่องธุรกิจรายย่อยครั้งที่
1 แถลงว่า ความสำคัญของการประชุมนี้ คือ การหยิบยกประเด็นเรื่องธุรกิจรายย่อยมาหารือ
เนื่องจากว่าธุรกิจประเภทนี้ถือว่า เป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจที่มองไม่เห็น และทุกๆ
ประเทศต่างมีปัญหาในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจประเภทนี้เหมือนๆ กัน จึงเห็นควรให้มีการหาข้อมูลที่ชัดเจน
เกี่ยวกับธุรกิจรายย่อยเพื่อป้องกันการเสียเปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า
พร้อมทั้งมีการพัฒนาให้ยั่งยืน
นอกจากนี้ ในการประชุมเรื่องธุรกิจรายย่อยครั้งที่ 1 นี้ยังจะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจรายย่อยด้วย
โดยไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศต่างๆ ให้เป็นผู้จัดทำแผนดังกล่าว ที่เพิ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก
ซึ่งจะได้มีการนำเสนอ เพื่อพิจารณาเบื้องต้น 6 ประเด็น ได้แก่ 1.ให้มีการรวบรวมข้อมูลธุรกิจรายย่อย
2.จัดทำนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจรายย่อย
3.เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรการเงินสำหรับธุรกิจรายย่อย 4.เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีของธุรกิจรายย่อย
เพื่อช่วยพัฒนาและให้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต 5.ช่วยเพิ่มความสามารถ ในการบริหารจัดการให้ธุรกิจรายย่อย
และ 6.มีโครงการเพิ่มความสามารถแก่ธุรกิจรายย่อยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ศาสตราจารย์เดนิส แมคนารามา แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าวในการประชุมธุรกิจรายย่อยว่า
ธุรกิจรายย่อยหรือระดับไมโคร จำเป็นต้องอาศัยการจัดการในระดับท้องถิ่นที่ดี ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
รัฐจะต้องเข้าไปจัดการและดูแลธุรกิจระดับนี้ให้มากขึ้น
ไทยแหล่งธุรกิจรายย่อย
ศาสตราจารย์เดนิส กล่าวต่ออีกว่า ประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยจำนวนมากและก็เป็นกลุ่มที่มีข้อมูลน้อยที่สุด
เมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดกลางและย่อม ตัวเลขบ่งชี้คือ การเติบโตของกลุ่มเอสเอ็มอี
เติบโตสูงกว่ากลุ่มธุรกิจระดับไมโครเป็นสองเท่าทุก ๆ ปี
ข้อมูลที่หยิบขึ้นมาพิจารณา ในระหว่างการประชุมเอเปกเอสเอ็มอีครั้งนี้ ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
คือ ได้สำรวจกลุ่มประชากรรุ่นหนุ่ม สาววัยระหว่าง 18-21 ปี และพบว่ามีถึง 8% ของ
ประชากรที่สำรวจเป็นเจ้าของธุรกิจเอง และเมื่อจำแนกเป็นรายประเทศ พบว่าประเทศไทยมีเด็ก
วัยหนุ่มสาว เป็นเจ้าของกิจการระดับไมโครเอ็นเตอร์ไพรส์ถึง 18% ถือเป็นสัดส่วนมากที่สุด
ขณะที่เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นมีเด็กวัยนี้เป็นเจ้าของกิจการเพียง 2% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจากผลสำรวจบ่งบอกว่า ประเทศไทยมีเด็กวัยหนุ่มสาวเป็นเจ้าของกิจการระดับไมโครเอ็นเตอร์ไพรส์สูงกว่าค่าเฉลี่ย
2 เท่า แต่จากผลสำรวจเดียวกันนี้ก็ได้ชี้ว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางด้านนี้
ในแง่ของปริมาณเท่านั้น เพราะในด้านคุณภาพแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก
ขณะที่นายตรงใจ ทรรพวสุ นายกสมาคมไทยผู้ประกอบการธุรกิจแฟคตอริ่ง แถลงว่า ภาคการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจรายย่อย
ทั้งนี้ทุกประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างนิเวศ ทางการเงินที่เหมาะสม และเปิดกว้างเพื่อให้ความ
ช่วยเหลือแก่ธุรกิจประเภทนี้ ขณะเดียวกันควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยเกิด
การรวมตัวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจด้วย
ด้าน ดร.รุ่งเรือง ทิพยศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า
กระทรวงการคลังมีนโยบาย ที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีโดยตรง
โดยการลดต้นทุนในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถทำการแข่งขันกับสถาบันการเงินเอกชนได้
การกีดกันทางการค้า /แข่งขันสูงอุปสรรคสำคัญเอสเอ็มอีส่งออก
ในการสัมมนาเรื่องการส่งเสริมประชาคมของ SME ผู้ส่งออกในเอเปก มุมมองจากธุรกิจ
ที่ประชุมร่วมกันชี้ชัดว่า วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ที่มีอุปสรรคในการส่งออกอย่างมากนั้น
เกิดจากข้อจำกัด ที่เกิดขึ้นภายในแต่ละกิจการเองและอุปสรรคจากภายนอก
นายคายยา อาหมัด ประธานบริหารเครือ Iryas Group ของมาเลเซีย กล่าวว่า SME มีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังเจออุปสรรคจากภายนอก ได้แก่ การกีดกันทางการค้า โดยมาตรการต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษี
รวมทั้งการแข่งขันอย่างรุนแรง ที่ทำให้ต้องตัดราคา การทำความตกลงการค้าเสรีต่างๆ
ยิ่งเร่งสถานการณ์ดังกล่าว ให้กดดัน SME มากขึ้น
ด้านนายเหงียน ว่า เกือง จากกระทรวงวางแผนของเวียดนาม กล่าวว่า SME กำลังพบอุปสรรคด้านการแข่งขันอย่างรุนแรง
จากบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมทั้งมาตรการการกีดกันทางการค้า ที่ไม่ใช่ภาษีและปัญหาค่าใช้จ่ายสูง
ในการวิจัยตลาดหรือแสวงหาคู่ค้าในต่างประเทศ
รัฐบาลสมาชิกเอเปกควรจะเร่งดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือSME รวมทั้งลดอุปสรรคขั้นตอนเอกสารต่างๆ
และเพิ่มการบริการข้อมูลทางเว็บไซต์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ