Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
อินคิวเบเตอร์ ทางออกของธุรกิจดอทคอมไทย             
 

   
related stories

ใครมีไอเดียร้อนๆ มาขาย

   
search resources

เดอะ แวลลูซิสเต็มส์, บจก.
ไทยอินคิวเบเตอร์
เทคแปซิฟิกดอทคอม
ณรงค์ อิงค์ธเนศ
โสภณ บุณยรัตพันธุ์
ยุภา อุดมฤทธิรุจ
Incubator
thai incubator.com




อันที่จริงแล้วเงินทุน ที่ให้การสนับสนุนแก่บริษัทดอทคอมไม่ได้มีแค่ venture capital เท่านั้น แต่จะมีแหล่งเงินทุน ที่เรียกว่า Incubator หรือ แหล่งเพาะเลี้ยงธุรกิจ หรือ ศูนย์พัฒนาธุรกิจดอทคอม

ข้อแตกต่างระหว่างกองทุนแบบ venture capital และ incubator ก็คือ venture capital มักจะลงทุนในธุรกิจดอทคอม ที่เริ่มต้นธุรกิจไปได้พักใหญ่ มี สินค้า และบริการออกมาแล้ว เรียกว่ามองเห็นแล้วว่าจะมีอนาคตของธุรกิจ ไม่ใช่มีแค่ไอเดียเพียงอย่างเดียว

สำหรับ Incubator เกิดขึ้นมา เพื่ออุดช่องว่างเหล่านี้ เพราะการลงทุนของ Incubator จะลงทุนให้กับเจ้าของไอเดีย ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจ แต่ ไอเดีย นั้น จะต้องมีโอกาสทำเงินได้จริง

Incubator ที่จะสนับสนุนให้ทุกอย่างไม่ใช่เรื่องของเงินทุนอย่างเดียว แต่ให้ตั้งแต่สถานที่ ที่มีทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบ Infrastructure ที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้ทุกๆ ด้าน รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาในเรื่อง การจัดการด้านธุรกิจ ความเสี่ยงในเรื่องการลงทุนของ Incubator จะน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ venture capital เพราะโมเดลของเงินทุนประเภทนี้ คือ จะเข้าไปตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจด้วยกัน ผลักดันให้ไอเดียเกิดเป็นธุรกิจได้จริง จะเป็นเสมือนกับพี่เลี้ยงให้กับเจ้าของไอเดีย โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการด้านธุรกิจ ซึ่งเจ้าของไอเดียมักมีจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้

Incubator เหมาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และตลาดอินเทอร์เน็ตกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มเติบโต อย่างเช่น ใน เมืองไทยมากกว่าจะเป็น venture capital ที่เจอปัญหาไม่สามารถตัดสินใจลงทุนได้ ก็เพราะขนาดของโครงการที่เล็กเกินไปสำหรับกองทุน

ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้เอง บริษัทวีเน็ท แคปปิตอล ของณรงค์ อิงค์ธเนศ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเดอะแวลลู ซิสเต็มส์ ที่เห็นโอกาสของธุรกิจ ดอทคอม ควักเงินทุนส่วนตัวเปิดเป็นธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอล แต่หลังจากดำเนินการไปได้พักใหญ่ ก็ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ จัดตั้งเป็น บริษัทไทยอินคิวเบเตอร์ดอทคอม (Thai incubator dot com) เพื่อทำธุรกิจเป็น Incubator รองรับกับธุรกิจดอทคอม ที่เริ่มต้นจากไอเดียจริงๆ

"ธุรกิจดอทคอมส่วนใหญ่ยังอยู่ในจุดเริ่มต้น เป็นแค่ไอเดีย หรือบางคนก็ไอเดียดีมาก แต่ทีมงานไม่พร้อม ไม่รู้ว่าจะทำตลาดยังไง มีแต่ไอเดียอย่างเดียว ถ้าเราไปลงทุนกับเขาก็เสี่ยงเกินไป" ณรงค์ อิงค์ธเนศบอก

รูปแบบ ที่ให้การสนับสนุนของ บริษัทไทยอินคิวเบเตอร์จะเป็นศูนย์พัฒนาธุรกิจดอทคอม ที่ให้การสนับสนุน ทั้งสถานที่ เงินทุน สิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่ายให้คำปรึกษาในการจัดการด้านธุรกิจทั้งไอที บัญชี การเงิน และกฎหมาย แก่ผู้ที่มีไอเดียดีๆ แต่ขาดเงินทุน

งานนี้ณรงค์ไปดึงเอาพันธมิตรรายใหญ่อย่าง ซันไมโครซิ สเต็มส์ ออราเคิล และซิสโก้ มาเข้าร่วมในโครงการ เป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกัน โดยอุปกรณ์หลักๆ ที่ใช้ในศูนย์พัฒนาฯ จะใช้ซอฟต์แวร์ของซิสโก้ ใช้ระบบ ดาต้า เบสของออราเคิล และใช้เครือข่ายของ ซิสโก้ ผู้ผลิตทั้ง 3 ราย จะขายอุปกรณ์เหล่านี้ให้ในราคาพิเศษ และจุดสำคัญก็คือ จะให้การสนับสนุนเรื่อง การถ่ายทอดความรู้ และฝึกอบรมให้ด้วย (อ่าน ล้อมกรอบ)

สถานที่ของศูนย์พัฒนาแห่งนี้จะตั้งอยู่ ที่ชั้น 10 อาคารสาธรธานี มีเนื้อ ที่ 600 ตารางเมตร ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกนอกเหนือจากอุปกรณ์ ข้างต้นแล้ว จะมีทั้งห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องอาบน้ำ ที่พักผ่อน เรียกว่า ให้ผู้อยู่ในโครงการใช้สำนักงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เพื่อให้งานเสร็จโดยเร็ว เขาตั้งธุรกิจนี้ขึ้นมาด้วยเงินทุนเริ่มต้น 50 ล้านบาท เนื่องจากเนื้อ ที่มีจำกัดรองรับได้เพียงแค่ 8-10 รายเท่านั้น ถัวเฉลี่ยแล้วบริษัทแต่ละแห่งน่า จะใช้เวลาไม่เกิน 6-9 เดือนก็น่าจะผลิตสินค้าหรือบริการออกมาได้แล้ว ถ้าเกินระยะเวลามากกว่านี้โครงการอาจเกิดปัญหา ซึ่งอาจจะมีการแก้ไข ปรับปรุงต่อ แต่ถ้าไม่ได้ก็จำเป็นต้องหยุดการลงทุน

ณรงค์ เชื่อว่า key success ของธุรกิจดอทคอมไม่ได้อยู่ ที่เงิน และ เทคโนโลยีเท่านั้น แต่รวมถึงทีมงานด้านจัดงาน "บริษัทดอทคอมส่วนใหญ่ จะล้มเหลวในช่วง 2-3 เดือนแรก เพราะเขาต้องมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการทำ business plan ทำเรื่องไฟแนนซ์ไม่มีเวลาไปพัฒนาบริการ"

การพิจารณาคัดเลือกจะเปิดกว้างให้กับเจ้าของไอเดีย จะเป็นบุคคล หรือบริษัท หรือเป็นแค่เด็กนักเรียน หรือ นักศึกษาอายุน้อยๆ ก็ได้ เพียงแต่ขอให้มีไอเดียแปลกใหม่ ต้องไม่ไปลอกเลียนแบบใคร และเจ้าของไอเดียนั้น จะต้องเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ใช่มีแต่เงินทุนแล้วให้ลูกจ้างมาทำ วิธีการรับข้อเสนอ หรือไอเดียจะให้ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ thai incubator.com ซึ่งบริษัทจะใช้เวลาพิจารณา และตอบรับภายใน 2 สัปดาห์ หากโครงการใดไอเดียไหนเข้าตาก็มีโอกาส

"จุดสำคัญ ที่เราให้ความสำคัญมากก็คือ ทีมงาน และไอเดียต้องคู่กัน เพราะถ้าไอเดียดี แต่ทีมงานไม่ดี ไม่สามารถเอาไอเดียมาทำให้เกิดธุรกิจได้ก็ไม่มีประโยชน์" โสภณ บุณยรัตพันธุ์ กรรมการบริหารกล่าวว่า มุมมองในจุดนี้ก็ไม่แตกต่างไปจาก venture capital อื่นๆ

สำหรับธุรกิจดอทคอม ที่มีอนาคตนั้น โสภณบอกว่า ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นธุรกิจ ดอทคอมประเภทใด แต่หากเป็น portal web ในเวลานี้ก็มาก และการแข่งขันก็สูง และถ้าเป็นธุรกิจประเภท b to c ก็จะต้องมองไป ที่กลุ่มลูกค้านอกประเทศด้วย ไม่ควรจะจำกัดอยู่แค่ในประเทศ เพราะตลาดไทยยังเล็ก และมีข้อจำกัดมากไป แต่ถ้าเป็นตลาดประเภท niche market ก็ควรจะเป็นประเภทของ b to b หรือ เป็นซอฟต์แวร์ หรือ แอพพลิเคชั่นในด้าน ที่เกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซ

เงื่อนไขการลงทุนข องไทยอินคิวเบเตอร์มีอยู่ว่า บริษัทจะเข้าถือหุ้นส่วนน้อย สัดส่วนตั้งแต่ 10-40% ให้เจ้าของไอเดียถือหุ้นใหญ่ โดยสัดส่วนการถือหุ้นจะเป็นเท่าใดนั้น ณรงค์บอกว่าขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุน และความต้องการใช้บริการในศูนย์พัฒนาว่ามีมากน้อยเพียงใด จะถูกตีเป็นสัดส่วนการถือหุ้น

แน่นอนว่า เป้าหมายสูงสุดของไทยอินคิวเบเตอร์ ก็ไม่แตกต่างจาก เวนเจอร์แคปปิตอล ก็คือ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็อาจจะเป็นได้ทั้งการขายหุ้นให้กับ venture capital หรือ การขายหุ้นให้กับบริษัทดอทคอม หรือลิขสิทธิ์จากสินค้าหรือ บริการร่วมกับเจ้าของไอเดีย

หากโครงการไหนประสบความสำเร็จด้วยดี บริษัทจะขยายการลงทุนต่อ ซึ่งการลงทุนในช่วงต่อไปจะเป็นของ venture capital ที่อาจจะเป็นการลง ทุนจากบริษัทวีเน็ทเอง รวมทั้งการไปดึงเอา venture capital เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จะว่า ไปแล้วแนวคิดของโมเดลธุรกิจของไทยอินคิวเบเตอร์ ไม่แตกต่างไปจากเทคแปซิฟิก เวนเจอร์ แคปปิตอลจากฮ่องกง ที่กำลังเข้ามาขยายสาขาในไทยในลักษณะธุรกิจ Incubator

ยุดา อุดมฤทธิรุจ M3 director บริษัทเทคแปซิฟิก.คอม ร่วมกับสามีของเธอ ที่เป็นชาวฮ่องกง ตั้งบริษัทเทค แปซิฟิก.คอม เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ในช่วงธุรกิจดอทคอมในฮ่องกงกำลังบูม ก่อนหน้าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง เทคแปซิฟิก ได้ซอฟต์ แบงก์ จีอี แ คปปิตอล และโซรอส เข้ามา ร่วมลงทุน

"เราตั้งขึ้นมา เพื่อช่วยธุรกิจดอทคอม ที่เริ่มต้น เราไม่ได้เป็น match maker อย่างเดียว แต่เราจะเป็นผู้ที่ลงทุนด้วย และดึงกลุ่มผู้ลงทุน ที่เหมาะสมเข้ามาด้วย"

การไม่เน้นการลงทุนในโครงการ ขนาดใหญ่ จึงเป็นช่องว่างอย่างดีให้ เทคแปซิฟิก ได้รับความร่วมมืออย่าง venture capital ที่ไม่เน้นโครงการ ขนาดเล็ก

"อันนี้คือ จุดที่เราทำงานดีมาก กับ vc เพราะ vc ระดับโลกเขามองว่า ขนาดธุรกิจเล็กไป ดังนั้น เมื่อมีโครงการที่ขนาดเล็ก vc จะส่งมอบมาให้เรา อย่าง โกลด์แมนแซคส์ บางครั้งเขาเห็นว่า โครง การดีมาก แต่มันเล็ก เขาก็ จะส่งมาให้เรา เพราะเขาไม่มีคนมากพอท ี่จะดูแลโครงการ" ยุดาเล่า

เทคแปซิฟิก เองเริ่มเข้ามาดูลู่ทางการลงทุนในไทย ตั้งแต่กันยายนปีที่ แล้ว ซึ่งการมาเมืองไทยในครั้งนั้น ยุดาก็ได้โครงการธุรกิจดอทคอมของ ไทยติดไม้ติดมือไป 6 โครงการ และ อยู่ระหว่างการพิจารณา

และการมาเมืองไทยครั้งล่าสุด มีเป้าหมาย ที่จะมาจัดตั้งเป็น Incuba- tor ขึ้นในเมืองไทย ระหว่างนี้เทคแปซิฟิกก็ได้ ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน จากเคเอสซี เป็นผู้ประสานงานให้

เทคแปซิฟิก จะเป็นหนึ่งในทาง เลือกของธุรกิจดอทคอมในไทยขึ้นอยู่ กับว่า ไอเดียจะทำเงินได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us