|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประสานเสียงโบรกเกอร์ นักลงทุนต่างชาติยังมีแนวโน้มทิ้งหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องจากปัจจุบันที่คงเหลืออยู่แค่ 2 แสนล้านบาท หลังจากวิกฤตการเงินยังไม่คลี่คลาย พร้อมกำหนด 4 มาตรการกระตุ้นตลาดหุ้นไทย พร้อมเห็นพ้องเศรษฐกิจไทยปี 52 โตต่ำกว่า 4%
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในงานสัมมนา “ตลาดทุนไทย ฝ่าวิกฤต เศรษฐกิจโลกถดถอย” ว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่สหรัฐฯ ก่อน เพื่อไม่ให้ขยาววงกว้างสู่ยุโรป และเอเชีย ด้วยการเข้าไปดูแลลูกค้าผ่อนบ้านในสหรัฐฯ ไม่ให้ถูกบังคับจำนอง ทั้งการยืดอายุการชำระเงินและค้ำประกันวงเงินกู้
“ลูกค้าผ่อนบ้านในสหรัฐฯ ถือเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากได้รับการแก้ไขหรือเยียวยา จะทำให้ผลกระทบทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลกลดลง”
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักลงทุนต่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อตลาดหุ้นไทย โดยนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย 2 ลักษณะ คือ Strategic Pratner ที่ถือหุ้นระยะยาวคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 41% ที่เหลืออีก 59% เป็นการลงทุนชั่วคราว ซึ่งในปีนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นออกไปแล้ว 1.3 แสนล้านบาท ทำให้ยอดคงเหลืออยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หากปัญหาการเงินในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถแก้ไขให้คลี่คลายได้จะยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย โดยต่างชาติมีโอกาสขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่อง เพื่อนำเงินกลับไปเสริมสภาพคล่องภายในประเทศตนเอง
เข็น4มาตรการกระตุ้นตลาดหุ้น
จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินโลกดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดมาตรการ 4 แนวทาง เพื่อกระตุ้นตลาดทุทนไทย ประกอบด้วย 1. เปิดโครงการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน ที่ทางตลาดฯ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมามี 19 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว มูลค่าการซื้อคืนรวมกว่า 8 พันล้านบาท และได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว 2 บริษัท ขณะที่บางบริษัทยังติดข้อกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังเจรจาเพื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์ดังกล่าว
2. ตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ หรือกองทุนเพิ่มโอกาส เพื่อสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งได้จัดตั้งกองทุนแล้วในวงเงิน 8,250 ล้านบาท โดยให้บลจ. 5 แห่งบริหาร แต่คาดว่าวงเงินจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากต่างชาติยังมีโอกาสขายหุ้นได้อีกหลายหมื่นล้านบาท
3. สนับสนุนกองทุน RMF และ LTF โดยชี้ตัวเลขว่า ขณะนี้หุ้นในกลุ่ม set 50 จำนวน 20 ตัวที่มีค่าพีอี/เรโช ต่ำมาก และ 13 ตัว มีอัตราการจ่ายปันผลสูงกว่า 10% หากตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจะจะให้ผลตอบแทนที่ดี และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกทางหนึ่ง
4. เพิ่มสินค้า โดยการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้ธุรกิจขนาดกลางเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักลงทุน
ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับโครงสร้างบริหารภายในใหม่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 52 เป็นต้นไป โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่สร้างรายได้ จะรวมกันเป็นบริษัทจำกัด เพื่อให้มีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน เหมือนบริษัทเอกชนทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น ขณะที่งานด้านการศึกษา และบริการสังคม จะแยกออกมา โดยอยู่ภายใต้กองทุนพัฒนาตลาดทุน
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ใน เศรษฐกิจไทยในปี 52 น่าจะชะลอตัวลง โดยขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4 ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการส่งออกซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของ GDP จะเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและกำลังซื้อที่ลดลงตามไปด้วย
ต่างชาติมีแนวโน้มทิ้งหุ้นไทยต่อ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือASP ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงมากที่สุด โดยทำให้ดัชนีตลาดทุนไทยตกลงมาถึง 44% ซึ่งได้ทำลายความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอย่างรุนแรง รวมทั้งฉุดราคาหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าบัญชีอยู่มาก
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องรีบฟื้นความเชื่อมันของนักลงทุน และดึงเม็ดเงินใหม่ๆ ขณะที่แนวทางการพยุงราคาหุ้นนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องผ่อนปรนกฎเกณฑ์บางประการ โดยเฉพาะการกำหนดช่วงเวลาห้ามซื้อขายหุ้นหลังจากที่ซื้อหุ้นตัวเองคืน ทำให้บริษัทไม่สามารถเพิ่มทุนได้ ซึ่งต่างประเทศไม่มีกฎหมายดังกล่าว”
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยนั้น นายก้องเกียรติ กล่าวว่า ในระยะยาวจะยังมีแรงเทขายออกมาต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนทั่วโลกมีมุมมองต่อแนวโน้มการลงทุนไม่ดีนัก โดยกองทุนบางแห่งมีการเทขายหุ้นออกมา หรือนำเงินไปลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่า
ส่วนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนั้น ในปี 52 ไทยจะต้องรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และมีความเป็นไปได้ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์จีดีพีของไทยจะขยายตัวต่ำกว่า 4% ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งออกนโยบายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น การส่งเสริมภาคการส่งออกที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ รวมทั้งใช้โอกาสนี้ในการปรับระบบหรือโครงสร้างของภาครัฐที่ยังล้าหลังอยู่
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ข่าวร้ายจากวิกฤตสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นคาดว่าใกล้จะหมดแล้ว แต่ผลกระทบดังกล่าวจะเริ่มลุกลามมายังภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคภายในประเทศของสหรัฐฯ อาจลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อจีดีพีในปีหน้าของไทยให้เติบโตชะลอลงเหลือเพียง 3% ต้นๆ เท่านั้น
ส่วนผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยนั้น ทิศทางตลาดหุ้นยังถูกกำหนดโดยแรงซื้อขายจากต่างชาติ ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นไทยอยู่ประมาณ 30% ของมาร์เกตแคป และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติจะหมดลงเมื่อใด ดังนั้นนักลงทุนต้องติดตามมูลค่าความเสียหายจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|