เอสเอ็มอีแบงก์เดินหน้าหนุนผู้ประกอบการรากหญ้า "โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ" นั่งตำแหน่งรักษาการนายใหญ่
วางแนวทางพร้อมดันโครงการที่มีประสิทธิภาพสนองความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง สร้างเครื่องมือบริหารกำหนดทิศทางการให้บริการตามเศรษฐกิจนิยม ล่าสุดจับมือบสย.ประกันความเสี่ยงหวังขยายฐานลูกค้าในโครงการ
FAST TRACK ที่ 5,000 รายในสิ้นปี
โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ รักษาการกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์กล่าวถึงแนวทางในการดำเนินงานของเอสเอ็มอีแบงก์ในช่วงที่นั่งในตำแหน่งรักษาการ
กรรมการผู้จัดการว่าจะยึดนโยบายการทำงานเดินหน้าอย่างเต็มตัวโดยไม่รอให้มีกรรมการผู้จัดการคนใหม่แล้วจึงรุกหน้าอีกครั้ง โดยจะพยายามผลักดันโครงการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพออกมาอย่างสม่ำเสมอ
"นโยบายการให้บริการของเอสเอ็มอีแบงก์ที่มีต่อลูกค้าคือคัดเลือกผู้ประกอบการที่เป็นผู้ประกอบการจริงเป็นธุรกิจที่มีโอกาสมีความเป็นไปได้มาเป็นลูกค้า"
โชติศักดิ์ กล่าวว่า โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมีความพยายามในการสร้างเครื่องมือในการบริหารเพื่อทำให้เกิดความรัดกุม
สะดวก รวดเร็วแต่มีประสิทธิภาพหนึ่งในมาตรการนี้คือ PORT FOLIO MANAGEMENT COMMITTEE
เพื่อให้รู้ทิศทางการบริหารงาน รู้ว่าเป้าหมายการปล่อย สินเชื่อ 30,000 ล้านบาทนี้เราจะต้องเดินไปทางไหน
วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดได้ว่าในช่วงไหนควรปล่อยกู้ให้กับธุรกิจใดมาก ปล่อยกู้ให้ธุรกิจท่องเที่ยวเท่าไร
บริโภคเท่าไร ควรมีการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจคู่ไปกับการปล่อยกู้มิใช่ปล่อยกู้ไปตามสัดส่วนที่มีผู้ขอกู้มาเท่านั้น
แต่ควรดูทิศทาง ธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งด้วย
"อาจต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณากลุ่มธุรกิจที่เป็น กลุ่มเป้าหมาย
มีอนาคตว่าจะให้กู้กับธุรกิจนี้เท่าไร เมื่อมีผู้ขอกู้เข้ามาสอดคล้องกับนโยบายที่วางไว้ก็พร้อมให้กู้ได้ทันที
หรือบางครั้งจำเป็นก็ต้องเดินเข้าหาผู้ประกอบการว่าช่วงนี้ธุรกิจนี้น่าลงทุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเป็นรูปธรรมก็ต้องทำ"
โดยกลุ่มธุรกิจที่พร้อมให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่คือธุรกิจส่งออกไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์
ของเล่น ฯลฯ
ในส่วนแนวทางการปล่อยกู้ภายในโครงการ FAST TRACK ล่าสุด เอสเอ็มอีแบงก์ร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ลงนาม ความร่วมมือในโครงการสินเชื่อ FAST TRACK โดยทางบสย.จะเป็นผู้รับประกันความเสี่ยงของลูกค้าในโครงการสินเชื่อ
FAST TRACK ต่อจากธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่ธนาคารให้กับลูกค้าแต่ละรายภาย
ใต้วงเงินค้ำประกันรวมในเบื้องต้น ทั้งโครงการ 500 ล้านบาท
โชติศักดิ์ กล่าวว่า FAST TRACK เป็นสินเชื่อที่ภาครัฐมีนโยบายปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการในระดับรากหญ้าในวงเงินที่ขอกู้ได้ตั้งแต่
5 หมื่น-5 แสนบาท ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ผู้ประกอบการที่ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่ต้องมีหลักประกันเพียงมีบุคคลหรือ
นิติบุคคลค้ำประกันก็ขอกู้ได้ ซึ่งแม้จะมีวงเงินไม่มากนักแต่ก็เพียงพอในการใช้ประกอบการ โดยสินเชื่อ FAST TRACK นี้เป็นสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเท่านั้น ผู้กู้ไม่สามารถเอาไป
ใช้ในการบริโภคได้ ทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจสอบว่าผู้ประกอบการที่ขอกู้มีสถานประกอบการจริงเป็นหลักเป็นแหล่งจึงจะอนุมัติสินเชื่อนี้ให้
การที่บสย.เข้าร่วมในโครง การนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐเพื่อให้บริการลูกค้าเอสเอ็มอีในการรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยทั้งบสย.และเอสเอ็มอีแบงก์เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจอยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเช่นกัน
การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นไปตาม นโยบายของภาครัฐที่ต้องการ ให้เกิดความร่วมมือกันในการดำเนินงานเพื่อให้บริการผู้ประกอบการในการปล่อยสินเชื่อได้อย่างรัดกุม และมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยหลักเกฎฑ์การเป็นผู้ค้ำประกันของบสย.ในโครงการนี้จะให้กับลูกค้าทุกประเภทของเอสเอ็มอีแบงก์โดยไม่มีเงื่อนไขในการพิจารณาจากบสย.และยกให้เป็นหน้าที่ของเอสเอ็มอีแบงก์ในการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อพ่วงการค้ำประกัน
"เราเชื่อมั่นในการพิจารณาของเอสเอ็มอีแบงก์ในการพิจารณาการปล่อยกู้ ถือเป็นการค้ำประกันโดยอัตโนมัติที่บสย.เข้ามา
ร่วมในโครงการนี้ โดยลูกค้าที่ขอกู้จะเสียค่าค้ำประกัน โดยคิดรวม อยู่ในดอกเบี้ยที่ต้องเสียให้เอสเอ็มอีแบงก์อยู่แล้วคือ
8% สำหรับลูกค้าที่ผ่านมาทางหน่วยงานพันธมิตรของเอสเอ็มอีแบงก์ และ 10% สำหรับคู่ค้าทั่วไปที่มาขอกู้ในอัตราดอกเบี้ยนี้เอสเอ็มอีแบงก์จะส่งให้บสย.
1.75% โดยลูกค้าที่มาขอกู้จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม"
การได้บสย.เข้ามาเป็นผู้ประกันความเสี่ยงจะส่งผลดีกับเอสเอ็มอีแบงก์ทำให้เกิดความมั่นใจในการปล่อยกู้มากยิ่งขึ้น
กระจายสินเชื่อได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในส่วนการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ในการ ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการทั้งหลายในรูปแบบการลดดอกเบี้ยเพื่อดึงผู้ประกอบการให้มาเป็นลูกค้า
ในส่วนของโครงการ FAST TRACK ผู้บริหารกล่าวว่าคงยังไม่มีนโยบายในการลดอัตราดอกเบี้ยที่จัดเก็บอยู่ในขณะนี้
8% และ 10% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่หนีตลาดมากนัก อยู่ในระดับเดียวกัน แต่ก็ไม่มีนโยบายลงมาแข่งขันเรื่องดอกเบี้ยอย่างแน่นอนแต่จะเน้นเรื่องการบริการให้เกิดความรวดเร็ว สะดวกมากยิ่งขึ้น
ในส่วนการจัดตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาทเพื่อร่วมทุนกับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานทางธนาคารคิดว่ากองทุนนี้จะไม่มีผลกระทบกับโครงการ
FAST TRACK ที่เน้นผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อให้ไม่ต้องไปหาเงินทุนนอกระบบเสียดอกเบี้ยแพง
ขณะที่กองทุน 5,000 ล้านบาทเท่าที่ทราบกองทุนนี้เพื่อธุรกิจที่มีการสร้างนวัตกรรม
มีการส่งออก มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ขนาดของกลุ่มเป้าหมายจะต่างกัน"
โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารสามารถปล่อยให้บริการสินเชื่อ FAST TRACK กับผู้ประกอบการแล้วกว่า
1,058 ราย โดยมีผู้สนใจเข้ามาติดต่อใช้บริการอย่างต่อเนื่องวันละ 30-40 ราย โดยมีเป้าหมายในการปล่อย
สินเชื่อ FAST TRACK ในปีนี้ 5,000 รายทั่วประเทศ หรือเป็นวง เงินประมาณ 2,000
ล้านบาท ขณะ ที่เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของแบงก์คือ 30,000 ล้าน บาททั้งปี
โดยในช่วงที่ผ่านมาแบงก์ สามารถปล่อยกู้รวมแล้วกว่า 9,500 ล้านบาท
ในส่วนเป้าหมายการร่วมลงทุนของธนาคารในกิจกรรมที่มีแนวโน้มดี จากเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้
500 ล้านบาท ยังเหลืออีก 200 ล้านที่จะลงทุนได้ คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้