Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 สิงหาคม 2546
การกลับมาอีกครั้งของ SSPORT             
 


   
search resources

สยามสปอร์ต ซินดิเคท, บมจ.
พัฒนสิน, บล
หลักทรัพย์กิมเอ็ง, บมจ.
วรรคสรโปรโมชั่น
ระวิ โหลทอง
News & Media




หลังจากกลุ่มสยามสปอร์ต (SSPORT) ปรับโครงสร้างหนี้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม และกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติอีกครั้ง ทำให้ตลาดจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าจะสามารถทวง บัลลังก์ความยิ่งใหญ่แห่งธุรกิจสื่อกีฬาได้หรือไม่ แต่ปัจจุบันนักวิเคราะห์หลักทรัพย์มั่นใจศักยภาพการดำเนินงานแนะนำซื้อลงทุน

สำหรับผู้ชื่นชอบกีฬาและไม่พลาดกับผลการแข่งขันอาจจะเคยเป็นลูกค้าหนังสือพิมพ์ สตาร์ซอกเกอร์, สปอร์ตพูล, สยามกีฬารายวัน, มวยสยาม, สแลมดั้ง หรือผู้ที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวโลกดนตรีต่างประเทศอาจจะเป็นสมาชิกนิตยสารมิวสิคเอ็กซ์เพรส และสำหรับนักท่องเที่ยวต้องเคยซื้อนิตยสารแค้มปิ้ง

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ บมจ. สยามสปอร์ตซินดิเคท (SSPORT) ที่มีกลุ่มนายระวิ โหลทอง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถือว่าเป็นเจ้าตลาดแห่งสื่อวงการกีฬาในประเทศไทย อย่างแท้จริงด้วยส่วนแบ่งตลาด 90%

ปีนี้ SSPORT ฉลองครบรอบการดำเนินธุรกิจปีที่ 30 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาดูเหมือนว่าต้องต่อสู้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการยอมรับจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์กีฬาซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ และท้าทาย

อย่างไรก็ตามภายใต้การนำของนายระวิ สามารถสร้างอาณาจักร SSPORT ได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมกับการขยายฐานธุรกิจออกไปอย่างกว้างขวางท่ามกลางการเติบใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ ในที่สุดด้วยเม็ดเงินที่จมไปกับการลงทุนขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มซวนเซและดำดิ่ง ส่งผลให้บริษัทล้มเหลวจากการดำเนินธุรกิจ

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา SSPORT ประสบภาวะขาดทุนในช่วงปี 2541-2543 เนื่องเพราะการขยายธุรกิจอย่างหนัก และเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้สถาบันการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

ตัวอย่างการลงทุนขยายธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร ได้แก่ การลงทุนในวรรคสรโปรโมชั่น ธุรกิจค้าปลีกโดยจัดจำหน่ายสินค้าที่ระลึกลิขสิทธิ์ของสโมสรฟุตบอลต่างประเทศผ่านร้านสตาร์ ซอกเกอร์ที่มีมากถึง 21 สาขา

กระนั้นก็ตาม SSPORT ได้ทำการขายหุ้นในบริษัทวรรคสรโปรโมชั่นทั้งหมดออกไปในปี 2542 เนื่องจากประสบปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบซึ่งมีราคาถูกกว่า รวมถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

อีกทั้งการลดค่าเงินบาทส่งผลให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ปิดตัวลง หนังสือพิมพ์ นิตยสารหลายฉบับหายไปจากแผงหนังสือ ขณะที่หนังสือพิมพ์ดำเนินการอยู่ต้องประสบปัญหายอดโฆษณาหดหาย และยอดจำหน่ายลดลง

ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ SSPORT เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมกับมุ่งเน้นธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน นั่นคือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารกีฬา ผลลัพธ์ คือ ความสำเร็จของการจัดการปัญหา

"ช่วงปี 2541-2543 ขาดทุนอย่างหนัก ทำให้สิ้นปี 2545 มียอดขาดทุนสะสมถึง 159.9 ล้านบาททำให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้" นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลักทรัพย์ บล. พัฒนสินเล่า "แต่ในไตรมาสแรกปีนี้พวกเขาได้ นำเงินสำรองตามกฎหมายและส่วนล้ำมูลค่าหุ้น จำนวน 167.5 ล้านบาท มาล้างขาดทุนสะสมออกทั้งจำนวนทำให้มียอดกำไรสะสม 26 ล้านบาท"

สะสางหนี้เก่า เริ่มฟื้นตัว

แม้ว่า SSPORT จะมีกลุ่มเจ้าหนี้มากราย แต่ก็ได้พยายามเจรจากับทุกรายเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ ทำให้ภาระหนี้ปรับลดลงจากกว่า 1,000 ล้านบาท ในปี 2541 เป็น 637.23 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปีนี้

โดยจำนวนหนี้ดังกล่าวเป็นเงินกู้ระยะยาว 282 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะครบกำหนดชำระคืนในปีนี้ และปีถัดไป "พวกเราเชื่อว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานและเงินจากการใช้สิทธิวอร์แรนต์บางส่วนมีมากเพียงพอในการชำระหนี้ได้" นักวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน กล่าว

นอกจากทยอยชำระคืนหนี้เดิมแล้วก็ไม่มี การก่อหนี้ใหม่เพิ่ม และในปีที่ผ่านมาบริษัทได้เพิ่มทุนด้วยการวอร์แรนต์จำนวน 10.5 ล้านหน่วยให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม มีอายุ 5 ปี อัตราการใช้สิทธิ 1:1 ที่ราคา 10 บาท

อีกทั้ง ได้ออกวอร์แรนต์อีก 1.05 ล้านหน่วยให้แก่กรรมการและพนักงาน โดยกำหนด อัตราใช้สิทธิ 1:1 ราคาใช้สิทธิ 15 บาท เนื่อง จากราคาหุ้นในปัจจุบันสูงกว่าราคาใช้สิทธิอยู่ประมาณ 43% ประเมินว่าผู้ถือวอร์แรนต์บางส่วนจะทยอยใช้สิทธิ

"ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นปรับตัวสูงขึ้น และหนี้สินสุทธิต่อทุนของบริษัทลดลง"

นอกเหนือจากสถานะทางการเงินเริ่มแข็ง แกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย สังเกตได้จากยอดขายหนังสือและยอดโฆษณาเริ่มทยอยปรับตัวสูงขึ้น

จากผลสำรวจยอดโฆษณาของสมาคมโฆษณาคาดการณ์การใช้จ่ายงบประมาณปี 2546 ว่าจะขยายตัวสูงกว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) โดยงบโฆษณาจะเพิ่มขึ้น 15% เป็น 70,393.9 ล้านบาท โดยครึ่งหลังของปีจะมีการเร่งใช้จ่ายงบดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง

"จากการเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินโฆษณาและการฟื้นตัวของการจับจ่ายของผู้บริโภค และการ แข่งขันของสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นประโยชน์ต่อ SSPORT" สุทธาทิพย์ พีรทรัพย์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้ความเห็น

ปัจจุบัน SSPORT ผลิตหนังสือพิมพ์กีฬารายวัน 5 ฉบับ โดยมียอดจำหน่ายก่อนหักรับคืนประมาณ 400,000 ฉบับต่อวัน อีกทั้งยังผลิตนิตยสารกีฬาและบันเทิงหลายฉบับ และผลิตรายการโทรทัศน์ 3 รายการ

"พวกเขามีรายได้หลัก 61% มาจากการขายหนังสือซึ่งแตกต่างจากค่ายสิ่งพิมพ์อื่นที่มีรายได้หลักจากค่าโฆษณา" สุทธาทิพย์ บอก

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ SSPORT เริ่มเข้าที่เข้าทางและพร้อมกลับมาอยู่ในเส้นทางที่ตนเองเชี่ยวชาญอีกครั้ง ซึ่งหากพิจารณาในภาพรวมแล้วพบว่าเป็นจังหวะที่เหมาะสมต่อการทวงบัลลังก์ความยิ่งใหญ่

เนื่องเพราะธุรกิจสิ่งพิมพ์กีฬามีคิกออฟรายวัน ในเครือฐานเศรษฐกิจ และถือเป็นคู่แข่งรายเดียวในขณะนี้ ดังนั้น SSPORT มีความได้เปรียบอย่างยิ่งในแง่ประสบการณ์และความโดดเด่นของเนื้อหา ประกอบกับการเข้ามาคู่แข่งรายใหม่เป็นไปได้ยากทำให้บริษัทโดดเด่นพอสมควร

คาดกำไรโต

การที่ SSPORT มีการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้อัตราหนี้สินสุทธิต่อทุน (D/E Ratio) ลดลงอย่างมากจาก 14.34 เท่าในปี 2543 เป็น 4.16 เท่าในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะลดลงเหลือ 3.19 เท่าในปีนี้ และ 1.74 เท่าในปีถัดไป

จากเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับการหยุดขยายกิจการและการฟื้นตัวธุรกิจสิ่งพิมพ์ทำ ให้ไตรมาสแรกปีนี้บริษัทมียอดขาย 256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) 20.9% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา

กระนั้นก็ดี SSPORT ยังโชว์กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.33% จากงวดเดียวกันของ ปีก่อนหน้า ที่อยู่ระดับ 12 ล้านบาท

"ถ้าไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ กำไรจะมีจำนวน 16 ล้านบาท และจากการปรับโครงสร้างทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดลง 37% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว" สุทธาทิพย์ กล่าว

สำหรับปีนี้เธอประเมินว่ารายได้ของ SSPORT จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย 2% เป็น 1,154 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโต 12% ในปีหน้า จากการที่มีการปรับราคาขายหนังสือพิมพ์สปอร์ตพูล 25% และการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการจัดรายการที่เกี่ยวเนื่องกับฟุตบอลยูโร 2004

ด้านนักวิเคราะห์ บล.พัฒนสินคาดว่า ยอดโฆษณาของ SSPORT จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 3.5% เป็น 421.6 ล้านบาทในปีนี้ และจะบันทึกกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้อีกประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะมีรายการพิเศษเช่นนี้

เมื่อรวมกับกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 71.6 ล้านบาทในปีนี้ และเชื่อว่าปีถัดไปจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 136.4 ล้านบาท "เป็นผลมาจากฤดูกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร และกีฬาโอลิมปิค"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us