Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2551
ซีลวาเนีย ไฟต์แบ็ก พานาฯ ส่ง “แรด” ชน “ช้าง”             
 


   
search resources

Battery
ปูมเทพ มาลากุล ณ อยุธยา
ฮาเวลส์ ซีลวาเนีย (ประเทศไทย), บจก.




ซีลวาเนีย สวนหมัดใส่ พานาโซนิค หลังถูกชิงเค้กในตลาดหลอดไฟ ด้วยการก้าวสู่สมรภูมิแบตเตอรี่ที่พานาโซนิคครองความเป็นผู้นำในตลาดมายาวนาน โดยซีลวาเนียผนึกสหพัฒนฯ เพื่อขยายช่องทางในต่างจังหวัด หวังสร้างยุทธวิธีแบบป่าล้อมเมือง พร้อมตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งในตลาดแบตเตอรี่ 20%

ปัจจุบันตลาดแบตเตอรี่มีมูลค่าตลาดโดยประมาณอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยมีพานาโซนิคเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งในตลาดที่สูงถึง 80% ในขณะที่เอ็นเนอร์ไจเซอร์และเอเวอร์เรียดี้ซึ่งเป็นผู้ผลิตเดียวกันมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันอยู่ที่ 10% โดยมีดูราเซลล์อยู่อันดับที่ 3 ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 7% และแบรนด์อื่นๆอีก 3% ทำให้ซีลวาเนียมองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจมาสู่สมรภูมิรบใหม่เนื่องจากมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งในตลาดไม่มากนัก

“ตลาดถ่านไฟฉายเป็นตลาดที่มีแนวโน้มความต้องการใช้งานสูงขึ้น ขณะที่คู่แข่งรายใหญ่ๆ ในตลาดยัง มีน้อย และฮาเวลส์ ซีลวาเนีย ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ได้อย่างมีศักยภาพ เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย วัสดุคุณภาพดีมีส่วนประกอบของผงแร่แมงกานีสสังเคราะห์ ที่มีความบริสุทธิ์สูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยืดอายุการใช้งานนานจนหมดก้อน อีกทั้งราคายังประหยัดลง 10 -15 % เมื่อเทียบกับ แบรนด์อื่นๆ ในสินค้ากลุ่มเดียวกัน” ปูมเทพ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไป ฮาเวลส์ ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) กล่าว

การเข้ามาของซีลวาเนียถือเป็นการสร้างสีสันให้กับตลาดถ่านไฟฉายหลังจากสงครามในตลาดดังกล่าวขาดสีสันมานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคของวิทยุทรานซิสเตอร์และเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล โดยอดีตในยุคที่วิทยุทรานซิสเตอร์ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไทย มีผู้เล่นในตลาดแบตเตอรี่ค่อนข้างมาก ซึ่งนอกจากแบรนด์เนชั่นแนลที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นพานาโซนิคในปัจจุบันแล้ว ยังมีโลคัลแบรนด์ของไทยที่ร่วมสมรภูมิอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ตราแพะ ตรากบ ตราแมว และอีกหลายแบรนด์ ทว่าหลังหมดยุคของวิทยุทรานซิสเตอร์ แบรนด์เล็กๆต่างๆก็ค่อยๆล้มหายไปจากตลาด ซึ่งนอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ทันแบรนด์จากญีปุ่นแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่แบรนด์เนชั่นแนลออกถ่านไฟฉายรุ่นไฟติ้งออกมาโดยมีสีแดง สีเขียว เป็นตัวตีตลาดโลคัล ซึ่งหลังจากที่มีคู่แข่งน้อยลงพานาโซนิคก็หันมาเน้นการทำตลาดแบตเตอรี่ก้อนสีดำซึ่งเป็นรุ่นลองไลฟ์มีมาร์จิ้นดีกว่าแบตเตอรี่ก้อนแดงและก้อนเขียว

ในขณะที่เซกเมนต์ของแบตเตอรี่อัลคาไลน์ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคหันมานิยมเครื่องเล่นซีดีแบบพกพา และเครื่องเล่นเอ็มพีสามมากขึ้น ทำให้พานาโซนิคมีการลอนช์เทคโนโลยีใหม่เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิตอลซึ่งไม่เพียงแต่เครื่องเล่นเอ็มพีสามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกล้องถ่ายรูปด้วยเพราะที่ผ่านมาถ่านอัลคาไลน์ไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการในยุคดิจิตอลได้ ในขณะที่แบตเตอรี่รุ่นใหม่คือ “ออกซิไรด์” ของพานาโซนิคมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงกว่าถ่านอัลคาไลน์ถึง 2 เท่า

อย่างไรก็ดีภายหลังการเข้ามารุกตลาดแบตเตอรี่ของซีลวาเนีย ก็ปรากฏว่าพานาโซนิคเริ่มนำแบตเตอรี่ก้อนสีเขียวกลับเข้ามาทำตลาดเพื่อตีกันน้องใหม่ ในขณะที่ซีลวาเนียซึ่งได้ลอนช์แบตเตอรี่อัลคาไลน์ และคาร์บอนซิงก์ (ถ่านไฟฉายธรรมดา) โดยได้ตั้งระดับราคาต่ำกว่าพานาโซนิค 10-15% ทว่าบางรุ่นก็มีราคาที่แตกต่างกันไม่มากนัก แต่หากเทียบกับแบตเตอรี่ก้อนเขียวของพานาโซนิคแล้ว ซีลวาเนียก็จะมีราคาแพงกว่าประมาณ 10% ทว่าหากเทียบแบตเตอรี่ก้อนดำของพานาโซนิคด้วยกันแล้ว แบตเตอรี่ก้อนเขียวก็จะมีราคาถูกกว่าเกือบ 30% แม้อาจจะมีการกินตลาดกันเองแต่ก็เพียงแค่การย้ายเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวาเท่านั้น อย่างไรก็ดี ทางซีลวาเนียเองก็มีแผนที่จะลอนช์แบตเตอรี่ราคาถูกออกมาชนกับพานาโซนิคในอนาคตอันใกล้นี้เช่นกัน

ซีลวาเนียอาศัยช่องทางการจัดจำหน่ายของค่ายสหพัฒนพิบูล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายหลอดไฟซีลวาเนียในต่างจังหวัดมาแล้ว ทั้งนี้การใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองของซีลวาเนียก็เนื่องมาจากช่องทางในเมืองโดยเฉพาะโมเดิร์นเทรดมักมีการเซ็นสัญญากับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งโดยเฉพาะทำให้ช่องว่างในเมืองใหญ่มีน้อย ซึ่งซีลวาเนียเองก็พยายามอาศัยช่องทางหลอดไฟของตัวเองในการขยายตลาดแบตเตอรี่ พร้อมกันนี้ก็มีแผนที่จะดิวกับช่องทางจำหน่ายอย่างร้านเซเว่นอีเลฟเว่นซึ่งกำลังจะหมดสัญญากับพานาโซนิค ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะทำให้ซีลวาเนียสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ด้วยจำนวนสาขาที่มีเกือบ 5,000 สาขา ซึ่งพานาโซนิคก็คงไม่ยอมที่จะเสียช่องทางดังกล่าว

สำหรับการทำตลาดแบตเตอรี่ในปีแรกของซีลวาเนียได้วางงบการตลาดไว้ที่ 20 ล้านบาท โดยมีทั้งการทำโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การไทอินไปกับการทัวร์คอนเสิร์ตของนักร้องลูกทุ่งอย่าง อาภาพร นครสวรรค์ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายในต่างจังหวัดได้ 75% ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีสัดส่วน 25% และเพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภคโดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยคุ้นกับชื่อภาษาอังกฤษมากนัก ดังนั้นจึงมีใช้โลโก้เป็นรูป แรด เพื่อสื่อถึงความทนทานในการใช้งานภายใต้สโลแกนที่ว่า “พลังแรด...แรงสุด สุด” เช่นเดียวกับพานาโซนิคที่มีการใช้โลโก้รูปช้างควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้บริโภคจดจำและสามารถเรียกเป็นชื่อเล่นได้ว่า ถ่านตราช้าง ถ่านตราแรด นอกจากนี้ซีลวาเนียยังมีการส่งสินค้าดังกล่าวไปจำหน่ายที่ ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย

ทั้งนี้ ซีลวาเนีย ตั้งเป้ายอดขายในปีนี้ว่าจะสามารถจำหน่ายได้เดือนละ 10 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็นเดือนละ 20 ล้านบาทในปีหน้า และจะขยับขึ้นจนสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้ 20% โดยในปีหน้าบริษัทจะมีการเพิ่มงบเป็น 60 ล้านบาท เพื่อสื่อสารไปสู่ผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยจะมีการโฆษณาผ่านสื่อทีวีด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us