Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2551
จุดเปลี่ยน"สถาบันการเงิน"ลูกค้าทวงถามหาความมั่นคง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เมืองไทยประกันชีวิต

   
search resources

เมืองไทยประกันชีวิต, บจก.
สาระ ล่ำซำ
Insurance




"อาฟเตอร์ช็อก" วิกฤตการเงินอเมริกา ลุกลามทั่วโลก กลายเป็นบทเรียนและจุดเปลี่ยนสถาบันการเงิน ลูกค้าทวงถาม "ความมั่นคงทางการเงิน" กับภาคธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงภาคการธนาคาร ที่กำลังถูกจับตาความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะแบงก์ที่มีหุ้นส่วนใหญ่เป็นทุนอิมพอร์ตจากต่างชาติ ต้องยื่นหน้าออกมาชี้แจงฐานะการเงินและสภาพคล่องเป็นรายตัว ผ่านสื่อทุกแขนง...

" ต่อไป คนจะเลือกเฟ้นมากขึ้น ไม่ใช่แค่ว่าจะซื้อสินค้านั้นเพราะอะไร แต่จะตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะซื้อกับใคร บริษัทไหนด้วย"

สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ เมืองไทยประกันชีวิต สรุปบทเรียนจากวิกฤตภาคการเงินในอเมริกาที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก และไม่มีท่าทีจะจบลงง่ายๆ ว่า วิกฤตครั้งนี้คือ จุดเปลี่ยนผู้บริโภคจะต้องตัดสินใจ ถ้าจะต้องซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตจากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง สำคัญที่สุดคือ ทุกบริษัทจะต้องมีธรรมาภิบาล และบริหารจัดการดี มีฐานะการเงินมั่นคง แข็งแกร่ง

ทำให้ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนี้ ก็คือ รูปแบบการสื่อข้อมูลไปถึงลูกค้าจะเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน แทนการตลาดลักษณะเดิมๆ ที่เน้นโปรโมทสินค้า ผลตอบแทน กิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม

แทบทุกบริษัทประกันชีวิต จั่วหัวเรื่องแผนการตลาดไปในทิศทางเดียวกันคือ ความมั่นคงของเงินกองทุนที่แข็งแกร่งแบบรัวถี่ยิบผ่านสื่อทุกแขนง เพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมา

สาระบอกว่า โจทย์ของบริษัทประกันชีวิตที่จะต้องปรับตัวก็คือ ความใส่ใจ โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีการพัฒนาด้านการให้บริการ กิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้นๆ

" นี่คือยุคเปลี่ยน เช่น "การทำแบรนดิ้ง" ซึ่งก็คือ ตัวตนขององค์กร สามารถจับกระแสถูกรึปล่าว ถ้าบริษัทไม่มั่นคง หรือแข็งแกร่ง ก็ถือว่าไม่ครบแบรนดิ้ง"

สาระ ยกภาพ การทำแบรนดิ้งของ ค่ายเมืองไทยประกันชีวิต เริ่มต้นจากโลโก้ ความสุข ที่แตกต่างจากรายอื่น แต่ "หัวใจธุรกิจจริงๆ กลับกลายเป็น เรื่องความมั่นคง และโชคดีที่ธุรกิจประกันชีวิตเป็นอุตสาหกรรมค่อนข้างอนุรักษ์นิยมสุดขีด

" ถึงแม้จะเกิดวิกฤต ก็ต้องเดินต่อไป รักษาอันดับเอาไว้ให้ได้ เพราะทุกบริษัทก็ต้องวิ่งเหมือนกันหมด เชื่อว่าทุกคนวิ่งไม่รอจนถึงปีหน้า ปีนี้ถือว่าการแข่งขันแรงเหลือเกิน แทบทุกบริษัทหว่านงบทางสื่อทีวีเยอะมาก"

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดทอนลงเรื่อยๆ หลังวิกฤตการเงินสหรัฐ ก็ทำให้ธุรกิจประกันชีวิต และต้นสังกัด สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ต้องออกมาปกป้องความเชื่อมั่นที่หล่นหายไป ด้วยการประกาศกฎเกณฑ์ กติกาที่ค่อนข้างเข้มงวดในระยะหลังถี่ขึ้นเป็นเงาตามตัว

โดยเฉพาะคำถามที่ติดค้างอยู่ในใจของลูกค้ามาตลอด1เดือนที่ผ่านมา... "จะเชื่อมั่นได้แค่ไหนว่า ผู้ถือกรมธรรม์จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทและได้รับเงินคืนทุกบาททุกสตางค์"...

สาระ อธิบายว่า ในจุดนี้ กฎหมายใหม่ พรบ.ธุรกิจประกันชีวิต พรบ.ธุรกิจประกันภัย 2551 และการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัย มีคำตอบ...

เริ่มต้นจากการรองรับระดับความเสี่ยง จากกฎเกณฑ์ การดำรงเงินกองทุนให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงหรือ (RISK-BASED CAPITAL) คือ ธุรกิจจะถูกบังคับโดยทางการให้ต้องดำรงเงินกองทุนสูงเป็น 150%

จากที่กฎหมายกำหนดแค่ 100% แต่ส่วนเกิน 50%จะเข้ามารองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีเงินมากพอจะจ่ายผู้เอาประกันได้

กฎหมายยังกำหนดให้ ธุรกิจประกันชีวิตต้องดำรงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 2% ของเงินสำรองประกันภัย ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยจะต้องมีเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 10% ของเบี้ยประกันรับสุทธิในปีที่ผ่านมา

นอกจากนั้น ยังมี"เส้นกลาง"ที่จะรองรับความเสี่ยงอีกระดับต่อมาคือ ระบบเตือนภัยหรือ (EARLY WARNING SYSTEM) หรือกลไกที่ทางการจะเข้าแทรกแซงก่อนจะเกิดความเสียหาย (EARLY INTERVENTION) ทำนองว่า เตือนก่อน โดยการเข้าแทรกแซงตามระดับสีไฟ เช่น สีส้มเข้าใกล้อันตราย สีแดงอันตรายมาก และสีเขียวอยู่ในระดับปลอดภัย

จุดเส้นกลางนี้ ทางการหรือ คปภ.จะตรวจจับฐานะการเงิน จนพบว่ารายใดผิดปรกติ ก็จะเข้าแทรกแซงเป็นลำดับขั้นตอนไป เช่น ห้ามลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ห้ามขยายธุรกิจเพิ่มเติม ห้ามอนุมัติกรมะรรม์ หร้ารับประกันภัยเพิ่ม หรือสั่งระงับกิจการชั่วคราว เพื่อแก้ไขฐานะการเงิน โดยต้องเตรียมแผนเพิ่มทุน และหาพันธมิตรใหม่ ภายในระยะเวลา และแจ้งต่อ คปภ.ทุกเดือน

ขณะที่ "เส้นล่าง" คือ ถึงที่สุด ถ้าต้องล้มละลายหรือเจ๊งขึ้นมาจริงๆ ก็จะมีกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่อยู่ระหว่างการกระบวนการจัดตั้ง เป็นตัวรองรับด้านล่างสุด

สำหรับกองทุนนี้ บริษัทประกันภัยจะต้องส่งเงินสมทบในอัตราไม่เกิน 0.5% และกำลังของบประมาณรัฐบาลเป็นทุนจัดตั้ง 10,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่ต้นทาง และผู้ประกอบการก็จะถูกตักเตือนก่อนความเสียหายจริงจะเกิดขึ้นเป็นการตอบคำถามคาใจเจ้าของกรมธรรม์ไม่ให้แห่แหนไปยกเลิกกรมธรรม์ ซึ่งจะมีแต่เสียกับสูญผลประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคต หลังจากเริ่มจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กับบริษัทไปแล้ว

ขณะที่ภาคสถาบันการเงิน แบงก์ส่วนใหญ่ก็กำลังถูกจับตาอย่างใกล้ชิด ในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อและผู้ระดมเงินฝาก ท่ามกลางความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่หล่นหายลงเกือบทุกวัน นับจากวิกฤตซัพไพร์มเป็นต้นมา

จนในระยะหลัง โดยเฉพาะแบงก์สาขาต่างประเทศ และแบงก์ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นทุนต่างชาติ ต้องเรียงหน้ากระดานออกมายืนยันว่าจะไม่ถอนหุ้นไปไหนแทบจะเรียกว่ารายสัปดาห์

เริ่มตั้งแต่ จีอี ผู้ถือหุ้นใหญ่ 33% ในแบงก์กรุงศรีอยุธยา ที่ตอกย้ำถึงการลงทุนในแบงก์กรุงศรีฯไปแล้ว 3 หมื่นล้าน ซึ่งถือเป็นเงินกองทุนในธนาคาร

ขณะที่แบงก์สายเลือดผู้ดีอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น HSBC ประเทศไทยและสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ประเทศไทย ก็เข้าแถวออกมายืนยันสถานภาพความแข็งแกร่งของสภาพคล่องทางการเงิน ในช่วงที่แบงก์ในยุโรป กำลังร่วงล้มแทบจะเรียกว่ารายสัปดาห์

โดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ ร่วมตัวกับ 8 แบงก์ใหญ่ประกาศมาตรการช่วยเหลือธนาคารในอังกฤษที่กำลังแสดงอาการขาดสภาพคล่อง โดยการปล่อยกู้ระยะสั้น ค้ำประกันระหว่างธนาคาร และซื้อหุ้นธนาคารรวมเป็นเงิน 5 แสนล้านปอนด์

ล่าสุด แบงก์ขนาดใหญ่ อาร์บีเอสหรือ รอยัลแบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ก็เพิ่งล้มละลายไปอีกราย

แบงก์ใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งแบงก์สาขาต่างประเทศจึงต้องพาเหรดออกมาอวดฐานะการเงินและสภาพคล่องกันอย่างอึกทึกครึกโครมรวมถึงการยื่นหน้าออกมาระดมเงินฝากกันเป็นแถวยาวเหยียด ยั่วใจด้วยดอกผลค่อนข้างน่าสนใจทั้งแบงก์เล็ก แบงก์ใหญ่

ในหนังโฆษณาทางสื่อแทบทุกประเภทก็กำลังกลายเป็นสนามรบเพื่อช่วงชิงพื้นที่ การกล่าวอ้างถึงความมั่นคงทางการเงินและสภาพคล่องของสถาบันการเงินไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าแบงก์เล็กหรือใหญ่หรือแม้แต่สถาบันการเงิน สาขาต่างประเทศ

ทั้งนี้ก็เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาคสถาบันการเงินกำลังลดน้อยถอยลง

เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหรือนักลงทุน เจ้าของเงินออมกำลังหมดไปจากหน้า "นิตยสาร" ฟอร์บส์ หรือ แม้แต่ "ฟอร์จูน"นิตยสารจัดอันดับ สถาบันการเงินชื่อก้อง ติดอันดับโลก 100 หรือ 500 อันดับแรก มาตั้งแต่ วิกฤตซัพไพร์ม มาจน เลห์แมน บราเธอร์สล้มละลาย และขยายวงกว้างจนไม่มีจุดจบ

ทุกวันนี้หลายคนจึงเลือกที่จะกอดเงินสดไว้กับตัว หลายคนนำเงินไปลงทุนในทองคำ แม้จะผันผวนอยู่บ้าง ในขณะที่บางส่วนหันไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นกำลังหันหน้าเข้าสู่ยุคตกต่ำ...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us