|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นักวิเคราะห์ชี้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนกอดบอนด์ระยะสั้น โดยเฉพาะที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี รอจังหวะตลาดหุ้นฟื้นตัว ชูผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่แห่ออกหุ้นกู้เพิ่มเหตุระดมทุนต่างประเทศยากกว่า-ต้นทุนสูงกว่าในประเทศ ส่งผลดีให้นักลงทุนมีหุ้นกู้คุณภาพดีให้เลือกมากขึ้น
เผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง เปิดเผยว่า ในช่วงที่การลงทุนหุ้นผันผวนมีความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจจะปรับตัวลงได้ ส่งผลให้ผลตอบแทนที่ได้รับมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากยังมีแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งต้องการเงินทุนจำนวนมากกลับไปช่วยเหลือประเทศตนเอง
อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว 3-10 ปีจะปรับตัวลดลงจากช่วงกลางปี 2551 เนื่องจากราคาปรับสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 วัน(อาร์/พี) ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% มาอยู่ที่ 3.75%ในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนคำแนะนำให้ลงทุนในตราสารอายุสั้นต่ำกว่า 1 ปีจากเดิมแนะถือตราสารหนี้ระยะยาว
ส่วนผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น 1-2 เดือนอยู่ที่ระดับ 2.9-3.1% ส่วนกองทุนประเภทซื้อขายหน่วยลงทุนเป็นรอบ (โรลโอเวอร์) ระยะเวลา 3-6 เดือนจะมีผลตอบแทนอยู่ที่ 3.4-3.5% ขณะที่กองทุนเพื่อไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ (FIF) เช่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยหลังจากหักค่าปิดความเสี่ยงแล้วประมาณ 3.7-3.8%
“ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศคงอยู่ในเกณฑ์ดี และสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ของแบงก์ ทำให้นักลงทุนมีแหล่งพักเงินที่ดีกว่า ซึ่งตลาดหุ้นมีโอกาสรีบาวนด์จากแรงซื้อนักลงทุนในประเทศอยู่ ดังนั้นควรเลือกลงทุนในตราสารอายุต่ำกว่า 1 ปีจะเหมาะสมกว่า”
สำหรับพอร์ตการลงทุนในตราสารหนี้ ควรแบ่งเงินลงทุนในกองทุนรวมที่สามารถไถ่ถอนเงินลงทุนได้ทุกวันเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และนำเงินมาลงทุนในหุ้นเมื่อตลาดฟื้นตัวดีขึ้นได้ เช่น กองทุนตลาดเงิน(Money Market) 40% และลงทุนในตราสารหนี้ประเภทโรลโอเวอร์ระยะสั้น 3-6 เดือน 30% ส่วนที่เหลือลงทุนในกองตราสารหนี้ต่างประเทศอีก 30%
“การเลือกลงทุนในกองทุนที่ถือตราสารของต่างประเทศที่มีอันดับความเชื่อมั่นดี(เครดิต) และจะต้องมีการปิดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน100% ด้วย แต่ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงสามารถแบ่งเงินลงทุนในหุ้นปันผลสูง 20% และตราสารหนี้ 80% แต่หากรับความเสี่ยงได้มากกว่าควรให้น้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ 70% ตราสารอนุพันธ์ 20% และหุ้น 10% ”
ธวัชชัย อัศวพรไชย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก กล่าวว่า ปริมาณตราสารหนี้ภาคเอกชน(หุ้นกู้) เริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเนื่องจากการออกพันธบัตรในต่างประเทศจะมีราคาสูงกว่าภายในประเทศ ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียน(บจ.)ขนาดใหญ่ เช่น บมจ.ปตท.(PTT), บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC), บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บมจ.การบินไทย(THAI), บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH)เป็นต้น เริ่มหันกลับมาออกหุ้นกู้ในประเทศมากขึ้น และส่งผลให้การซื้อขายมีความคล่องตัวขึ้น
“นโยบายผ่อนปรนด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติเริ่มมีมากขึ้น ทำให้มีโอกาสอาจปรับลดดอกเบี้ยได้อีก ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนหันมาออกหุ้นกู้ในประเทศเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะดึงดูดนักลงทุนได้ดี โดยแนะนำว่าช่วงนี้ควรให้สัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้ 40%ของพอร์ต”
|
|
 |
|
|