Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2551
ทุนนอกไล่ขย้ำ‘โลจิสติกส์’สัญชาติไทย‘ยุ่น-สิงคโปร์-มาเลย์’รอแบ่งชิ้นเค้ก..!             
 


   
search resources

Marketing




โลจิสติกส์ไทยง่อนแง่น “การเมือง”ฉุดจนกู่ไม่กลับ สหภาพฯปิด “สนามบิน-ท่าเรือ”กระทบหนักลูกค้าต่างชาติเซย์โน ขณะที่ “รถบรรทุกพืชผล”งานไม่เข้าราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลอยแพกว่า 5,000 คัน ด้านทุนนอกรุกหนักบีบ “ขนส่งสัญชาติไทย”แห้งตาย เหตุดั๊มราคาต่ำกว่าทุน อาศัยช่อง FTA-AEC พาเหรดยึดหัวหาดโลจิสติกส์ทั้งระบบ 8 แสนล้าน ส่วนสัญญาณปีหน้ายังเป็นลบ “3 ปัจจัยหลัก” ยังไม่กระเตื้อง.!

ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังหาทางออกไม่เจอ เพราะรัฐบาลมัวแต่แก้เรื่องการเมืองภายในมากกว่าจะหันมามองภาคเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเป็นเรื่องปาก-ท้องจับต้องได้มากกว่า และในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบตลอดปีที่ผ่านมาคือธุรกิจขนส่ง หรือโลจิสติกส์ที่เจอพิษราคาน้ำมันเล่นงานจนย่อยยับเจ๊งไปหลายราย แต่ในภาวะที่ราคาน้ำมันทรงตัวและยังลดลงน้อยกว่า 30 บาท/ลิตร ก็ไม่ใช่ว่าธุรกิจเหล่านี้จะโกยเพียงอย่างเดียว เพราะทุนข้ามชาติกำลังไล่ทำลายร้างธุรกิจขนส่งสัญชาติไทยอย่างมันมือ..!

เจ๊งยับ.! ปิดสนามบิน-ท่าเรือ

“ทองอยู่ คงขันธ์” นายกสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและการส่งออก และในฐานะเลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย (สขบท.) เปิดเผยผ่าน “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ภาพรวมธุรกิจโลจิสติกส์ขณะนี้ถือว่ายังทรงตัวแม้จะได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงก็ตาม แต่ก็ยังมีต้นทุนอย่างอื่นที่ยังไม่ลดลงตามราคาน้ำมันทำให้ภาคธุรกิจขนส่งยังต้องชะลอตัวต่อไป

โดยสาเหตุใหญ่ๆมาจากการปิดท่าเรือในช่วงที่ผ่านมาทำให้ต่างชาติที่ค้าขายกับผู้ประกอบการคนไทยไม่กล้าสั่งของอีก อีกทั้งผู้ประกอบการคนไทยยังต้องเสียต้นทุนเพิ่มจากการเปลี่ยนท่าเรือส่งของจากคลองเตยไปแหลมฉบังเพื่อให้ทันต่อเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้แล้วช่วงเดือนต.ค.-เม.ย.ถือว่าช่วงไฮซีซั่นเพราะประเทศไทยมีเทศกาลทั่วทุกภาคของไทยตั้งแต่ออกพรรษาเป็นต้นไป แต่การขนส่งขณะนี้กลับไม่คึกคักเท่าที่ควรเพราะคนจับจ่ายใช้สอยน้อยลงทำให้การขนส่งแม้จะอยู่ในช่วงพีคของปีก็ลดน้อยลงไปด้วย

“การเมืองจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ขอวิงวอนว่าอย่าปิดถนน อย่าปิดท่าเรืออย่าปิดสนามบิน เพราะประเทศเสียหายมาก การขนส่งของออกนอกประเทศไม่ได้ ผู้ประกอบการก็ตายกันหมด” เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ระบุ

ขนส่ง “พืชผลทางการเกษตร” กระอัก.!

ทองอยู่ ย้ำอีกว่าขณะนี้ 4 ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือภาคพืชผลการเกษตรที่ราคาตกต่ำทำให้ธุรกิจขนส่งทางการเกษตรขณะนี้มีรถบรรทุกในภาคอีสานที่ว่างงานมากถึง 4,000-5,000 คัน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหนักก็ยังไม่ขยายตัวเพราะยังไม่มีลงทุนโครงการขนาดใหญ่เพิ่มเติม และตามมาด้วยเรื่องท่องเที่ยวที่ซบเซาต่อเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สงบ ส่วนเรื่องการนำเข้า-ส่งออกถือว่ายังทรงตัวเพราะประเทศไทยนำเข้ามาผลิตและส่งออกไปจึงยังไม่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้

อย่างไรก็ดีแม้จะธุรกิจโลจิสติกส์ประสบปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้แต่ที่ยังปัญหาที่กำลังคุกคามอย่างหนักคือทุนใหญ่ข้ามชาติที่กำลังรุกเข้ามาทำลายร้างธุรกิจขนส่งของไทย “วชิรศักดิ์ เล้าประเสริฐ” นายกสมาคมขนส่งทางบกที่มีสมาชิกในสังกัดเขตภาคกลางและภาคเหนือมีรถยนต์รวมกันมากกว่า 70,000-80,000 คัน อธิบายเพิ่มเติมถึงสัญญาณร้ายธุรกิจขนส่งไทยว่า ในช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุดในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายเล็ก-ขนาดกลางปิดกิจการกันไปมากทีเดียวที่เหลือรอดอยู่ก็เป็นกิจกาจที่ขนาดใหญ่เท่านั้นเพราะธุรกิจนี้ต้องมีทุนหนาพอสมควรในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งธุรกิจดังกล่าวมีต่างชาติที่เข้ามาในเมืองไทยที่ทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผยตัวกว่า 200 ราย

ทุนนอกไล่ขย้ำ “ขนส่ง”สัญชาติไทย

“ตอนนี้ต้องบอกว่าเหนื่อย (มาก) เพราะธุรกิจขนส่งของคนไทยไม่สามารถสู้ต่างชาติได้ เพราะเขามีทั้งเงินทุนที่มากกว่า และเทคโนโลยีที่สูงกว่า” นายกสมาคมขนส่งทางบก ระบุ และว่าโรงงานต่างชาติที่เข้ามาเปิดกิจการในเมืองไทยก็นิยมใช้บริการขนส่งจากประเทศเดียวกันอาทิ นักลงทุนจากญี่ปุ่นก็นิยมใช้บริการขนส่งจากญี่ปุ่นด้วยกัน หรือที่พบมาคือโรงงานจากฝรั่งเศสแม้จะไม่มีบริการขนส่งของฝรั่งเสศในประเทศไทยแต่เขาก็หันไปใช้บริการขนส่งในเครือสหภาพยุโรป (EU) แทนซึ่งผู้ประกอบการคนไทยจะอยู่ในตัวเลือกลำดับท้ายๆ

อย่างไรก็ดีมูลค่าในระบบโลจิสติกส์ในไทยปีหนึ่งๆประมาณ 800,000 ล้านบาทแต่ขณะนี้ต่างชาติกำลังรุกคืบเข้ามาเรื่อยๆจนมีส่วนแบ่ง 1/3ของมูลค่าทั้งหมดคือ 100,000-200,000ล้านบาททั้งๆที่ไทยยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้ามาอย่างเป็นทางการ ก็ตาม

“เพราะ FTA ที่เราทำกับประเทศต่างๆทำให้เขารุกคืบในธุรกิจขนส่งของไทยได้มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการในภาคธุรกิจนี้ต้องบอกว่าแค่ประคับประคองให้อยู่รอดได้นานแค่ไหนเท่านั้น”

“ญี่ปุ่น-สิงคโปร์-มาเลย์”รอฮุบ.!

ขณะเดียวกันหากไปดูรายชื่อต่างชาติที่พาเหรดกันเข้ามาแล้วคือนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่อาศัยเจเทปป้า (JTEPA) ที่เปิดช่องให้เข้ามาลงทุนได้ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นนี่เองคือกลุ่มทุนใหญ่อันดับหนึ่งในธุรกิจใหญ่ในเมืองไทย ขณะที่อีก 2 ประเทศที่กำลังจะกระโจนตามมาคือ สิงคโปร์และมาเลเชีย ที่รอให้ AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2558 ที่จะเปิดในสมาชิกในอาเซียนด้วยกันสามารถไปลงทุนในประเทศสมาชิกอื่นๆได้ไม่เกิน 70%

“ ขณะนี้สิงคโปร์และมาเลเชียกำลังสนใจจะมาลงทุนกิจการขนส่งชายฝั่งทางเรือจำนวนมากรอแต่เพียง AEC มีผลบังคับใช้เท่านั้น” สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอเรชั่น อินเตร์เนชั่นแนล จำกัด (EBCI) ผู้เชี่ยวชาญวางระบบและปฏิบัติการโลจิสติกส์และวิเคราะห์ระบบโลจิส ติกส์ ระบุและว่า รัฐบาลน่าจะทบทวน พ.ร.บ.การแข่งขันที่ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการตัดราคาที่ไม่เป็นธรรม เพราะทุนต่างชาติสามารถลดราคาขนส่งต่อเที่ยวได้มากกว่าคนไทยอยู่แล้วจึงน่าจะมีการหยิบพ.ร.บ.การแข่งขันขึ้นมาทบทวนกันอีกที เหมือนอย่างที่กรมการค้าภายในคุมห้างสรรพสินค้าลดราคาเกินจริงเพราะให้ผู้ประกอบการคนไทยอยู่รอดได้

ชี้ “3ปัจจัย”ฉุดโลจิสติกส์ไทย

โดยตั้งแต่ปีนี้จนถึงกลางปีหน้า (2552) ธุรกิจโลจิสติกส์ยังไม่สดใสมาจาก 3สาเหตุด้วยกันคือ

1 .การส่งออกที่จะขยายตัวลดลงทำให้การขนส่งก็ลดลงตามไปด้วย 2. การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจะลำบากมากขึ้นเพราะเกรงว่าผู้ประกอบการจะมีความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น 3. ท่องเที่ยวยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ยอดจองโรงแรม,ยอดจองทัวร์ตามแหล่งท่องเที่ยวลดลง ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยล้วนจะทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงกลางปีหน้ายังอยู่ในภาระตั้งรับมากกว่าจะรุกเดินหน้าค้ากำไร

คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า “ธุรกิจขนส่ง” ของไทยที่ตกอยู่ภายใต้การแข่งขันของตามข้อบังคับ FTA ธุรกิจของคนไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรเพราะเอฟทีเอมีได้-มีเสีย ขึ้นอยู่ว่าใครจะเสียอะไรให้ใคร และสิ่งที่ประเทศจะได้กลับมาคุ้มค่าหรือไม่ต้องใช้เวลาพิสูจน์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us