|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
วิกฤตการเงินสหรัฐฯ – ยุโรป ฉุดตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก หลังนักลงทุนต่างชาติทิ้งไม่หยุด ตั้งแต่ยอดขายสิทธิทะลุ 1.33 แสนล้านบาท มูลค่าตลาดรวมหายไปแล้วเฉียด 3 ล้านล้านบาท เหลือแค่ 3.75 ล้านล้านบาท หรือลดลงกว่า 43% บล.เอเซีย พลัส ชี้ต่างชาติถือหุ้นไทยลดลง 2%ของมูลค่าตลาดรวม พร้อมเตือนต่างชาติส่งสัญญาณขายเงินลงทุนที่ร่วมธุรกิจในบจ.ออก หลังเทขายเงินลงทุนในตลาดหุ้นเกือบหมดแล้ว ด้านบล.เคจีไอ แจงต่างชาติยังไม่หวนคืนตลาดหุ้นไทย เชื่อถึงสิ้นปีขายทิ้งอีก 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวน
วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามและกระทบต่อตลาดเงินทั่วโลกในปัจจุบันนี้ ได้ส่งผลให้กระทบต่อตลาดหุ้นปรับตัวลดลงทั่วโลก เพราะนักลงทุนต่างเทขายหุ้นเพื่อถือครองเงินสดไว้เสริมสภาพคล่องและลดความเสี่ยงจากการลงทุน ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองยังต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายสุทธิสูงถึง 1.33 แสนล้านบาท
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยตั้งแต่สิ้นปี 2550 กับล่าสุด (17 ต.ค. 51) พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงจากสิ้นปีที่ 858.10 จุด เหลือ 471.31 จุด ลดลงกว่า 386.79 จุด หรือคิดเป็นสัดส่วน 45.08% ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดรวมลดจาก 6.63 ล้านล้านบาท เหลือ 3.75 ล้านล้านบาท ลดลงกว่า 2.88 ล้านล้านบาท คิดเป็น 43.44%
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า ขณะนี้สัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศระยะยาวในตลาดหุ้นไทยคงเหลือประมาณ 28.2% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) ลดลงจากไตรมาส 1/2549 ที่มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ 30.5% ของมาร์เกตแคป หรือลดลงประมาณ 2% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ขณะที่สัดส่วนการลงทุนผ่านไทยเอ็นวีดีอาร์ยังคงมีสัดส่วนที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้ จากจากการรวบรวมข้อมูลการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ปี 2547 ถึงตุลาคม 2550 นั้นมียอดซื้อสุทธิ 3.17 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เข้าร่วมถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนจำนวน 1.2 แสนล้านบาท ในสักษณะเดียวกันกับกองทุนเทมาเส็กที่เข้ามาถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN และจีอี แคปปิตอล เข้ามาลงทุนในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นลักษณะร่วมทำธุรกิจ ส่วนที่เหลือเป็นเงินลงทุนในตลาดหุ้นอีก 1.97 แสนล้านบาท
“จากปัญหาสถาบันการเงินนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนระยะยาวในบจ. นั้น มีสัดส่วนลดลงประมาณ 2% ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ขณะที่เงินลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นได้เทขายออกมาเกือบหมดแล้ว ระยะต่อไปก็คงจะมีแรงเทขายจากในส่วนของเงินลงทุนระยะยาว หลังจากในช่วง 5- 6 เดือนที่ผ่านมา เริ่มมีแรงขายออกมาบ้าง”นายเทิดศักดิ์ กล่าว
สำหรับตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2550 ถึงขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิประมาณ 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าขายออกมาเกือบหมดแล้ว ในส่วนเม็ดเงินลงทุนที่เคลื่อนไหวในตลาดหุ้น ซึ่งแนวโน้มนักลงทุนต่างชาติยังคงมีการขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีหน้า จากปัญหาวิกฤตทางการเงินสหรัฐฯ และยุโรป จากปัญหาที่ยังไม่จบ
นายเทิดศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่สามารถที่จะประเมินได้ว่าจะขายออกมาอีกเท่าไร เพราะขึ้นอยู่ปัญหาต่างประเทศจะคลี่คลายแค่ไหน โดยแรงขายที่จะมีออกมานั้นจะเป็นลักษณะที่ชะลอตัว หลังจากทยอยขายเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นออกมาเกือบหมดแล้ว
เคจีไอคาดต่างชาติขายสุทธิทั้งปี 1.6 แสนล.
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนของนักลงทุนต่างชาตินั้นยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง และคงเป็นเรื่องยากที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิจากปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ และยุโรปที่เกิดขึ้น แต่จากที่ผ่านมาได้มีการขายสุทธิหุ้นไทยออกไปจำนวนมากแล้วที่ 1.33 แสนล้านบาท และราคาหุ้นปรับตัวลดลงมา ทำให้ขายออกยากขึ้น ขณะที่ยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ปี 2548- 2550 มียอดซื้อสุทธิประมาณ 2.6 แสนล้านบาท ทำให้ยังมีเม็ดเงินของต่างชาติคงเหลือที่จะสามารถขายได้อีกประมาณ 1.3 แสนล้านบาท
“หากจะมีการขายออกมาทั้งหมดนั้น เชื่อว่าจะต้องใช้เวลานาน เพราะขายลำบากขึ้นจากที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามาก ทำให้คาดว่าแรงขายน่าจะชะลอตัวลง โดยเชื่อว่าจากนี้ถึงสิ้นปีน่าจะมีการขายหุ้นออกมาอีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดขายสุทธิปีนี้อยู่ที่ประมาณ 1.5-1.6 แสนล้านบาท และการที่ตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นจะเกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก”
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติมีแต่ขายออกมากกว่าเข้าซื้อ และแนวโน้มปีหน้าคงยังไม่กลับเข้ามา จากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ยุโรป ที่ขายสินทรัพย์ออกมาต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของตนเอง ส่วนจะมีเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติกลุ่มใหม่ในเอเชียเข้ามาลงทุนแทนนั้นก็เป็นไปได้ยาก เพราะตลาดหุ้นในประเทศได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
“จากต้นปีถึงเดือนกันยายนนั้น สัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศเฉลี่ยลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดลงเหลือ 31.7% จากปี 2550 ที่มีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประมาณ 33% จากที่มีการขายหุ้นไทยออกมาเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และนำเงินไปคืนแก่ผู้ถือหน่วย”
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงเกิดวิกฤตสถาบันการเงินที่ยังไม่คลี่คลายนั้น ในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้า ให้นักลงทุนลงทุนในหุ้นสัดส่วน 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้ถือเป็นเงินสด ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น
ตลาดหุ้นไทยยังมืดมน
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมีการขายหุ้นไทยต่อเนื่องอีกสักระยะ จากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย หากสถาบันการเงินยังประสบปัญหาขาดทุนจะทำให้มีแรงเทขายหุ้นออกมามากขึ้น บวกกับปัญหาการเมืองในประเทศยังมีคลี่คลาย หากทั้ง 2 ปัจจัยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
จากข้อมูลการขายของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีการขายสุทธิออกมา 2. แสนล้านบาท ทำให้ยอดเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติคงเหลืออีก 2 แสนล้านบาท จากยอดการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่กลางปี 2547- กรกฎาคม 2550 อยู่ที่ 4 แสนล้านบาท
“ขณะนี้การถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก จากที่เพิ่งขายออกมา 2.1 แสนล้านบาท แต่เชื่อว่าการถือครองที่ลงทุนในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจที่มีการลงทุนมาแล้ว 10 ปีนั้น เชื่อว่าจะไม่มีการขายออกไปแน่นอน”
แนวโน้มตลาดหุ้นยังผันผวน
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ SYRUS กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สัปดาห์ที่ผ่านมา(17 ต.ค.) ยังคงผันผวน ตามทิศทางตลาดในต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่ยังอึมครึม ขณะที่แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวนตลาดทิศทางตลาดในต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ยังมืดมน โดยมีแนวรับ 460 จุด และแนวต้านที่ 480 จุด
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงไร้ทิศทาง และมีความผันผวน โดยนักลงทุนจะต้องจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศที่จะทยอยประกาศออกมา รวมถึงตลาดหุ้นต่างประเทศ ให้แนวรับที่ 450 จุด และแนวต้านที่ 480 จุด
|
|
|
|
|