Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ตุลาคม 2551
ธปท.เกาะติด กำลังจ่ายคืน หนี้ครัวเรือน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติเกาะติดความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน ในภาวะที่เศรษฐกิจเปราะบาง ชี้ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อสภาพคล่องและคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในอนาคต

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ล่าสุดฉบับเดือนตุลาคมของธปท.ได้ระบุว่า เสถียรภาพของสถาบันการเงินในภาพรวมยังคงแข็งแกร่งและสามารถรองรับความเสี่ยงได้ดี โดยความสามารถในการทำกำไรยังคงดีอยู่จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยตามการขยายตัวของสินเชื่อ

อย่างไรก็ตามในภาวะที่สินเชื่อขยายตัวค่อนข้างมาก ขณะที่เงินฝากขยายตัวต่ำ สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจึงค่อนข้างตึงตัวขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับตัวโดยการออกตราสารทางการเงินอื่นเพิ่มเติม เช่น ตั๋วแลกเงิน เพื่อเสริมสภาพคล่อง

สำหรับในระยะต่อไป คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ไทยบ้าง เพราะถึงแม้ว่าการลงทุนในตราสารที่ด้อยค่าลงจากปัญหาดังกล่าวมีไม่มากนักเนื่องจากเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศมีเพียงประมาณ 1.3% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ไทย และตราสารที่มีปัญหายังเป็นส่วนน้อยของสินทรัพย์ต่างประเทศ แต่การไหลออกของเงินทุนนาภาวะที่ตลาดการเงินของสหรัฐฯและประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายประเทศตึงตัวขึ้นมาก ประกอบกับนักลงทุนมีความเสี่ยงด้านลบ (Risk Aversion) เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีความต้องการโยกย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคกลับไปถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินของไทยรวมถึงระบบธนาคารพาณิชย์อาจตึงตัวในระยะต่อไป นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่เปราะบางอยู่แล้ว อาจส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของภาคครัวเรือน ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แม้ว่าค่าครองชีพของภาคครัวเรือนสูงขึ้นมากตามภาวะเงินเฟ้อ แต่ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนั้น อัตราการผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่ 1-3 เดือน ของสินเชือ่บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเริ่มปรับลดลง เนื่องจากการเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในภาวะที่ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อเบิกเงินสดล่วงหน้าและเพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปแม้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับลดลงบ้าง จะช่วยลดความเสี่ยงของภาคครัวเรือนจากปัจจัยค่าครองชีพ แต่อุปสงค์ในประเทศที่ยังคงเปราะบางและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ภาวะการจ้างงาน และรายได้ครัวเรือน ซึ่งอาจทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนลดลงได้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ บทวิเคราะห์เรื่อง “ เสถียรภาพภาคธุรกิจจากความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้” ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ของธปท. ยังระบุว่า จากการประมวลเครื่องชี้ที่เรียกว่า ความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้ (Probability of Default : PD) ซึ่งเป็นตัววัดความเปราะบางของภาคธุรกิจได้ชัดเจนขึ้น พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา การผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจมีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ซึ่งถือว่ายังต่ำ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งสะท้อนระดับความเป็นหนี้และสภาพคล่องของภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น และสะท้อนความเข้มแข็งทางการเงินของภาคธุรกิจไทย

รมช.คลังสั่ง ธอส.รับมือซับไพรม์เข้ม

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากวิกฤตการเงินโลกและปัญหาซับไพรม์ ซึ่งหวั่นว่าจะลามมาถึงไทย ตนจึงได้สั่งการให้คณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เร่งติดตามการดำเนินงาน สถานการณ์สินเชื่อหดตัวและดูแลฐานะทางการเงินของธนาคารอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดปัญหาและได้รับผลกระทบ ล่าสุด ธอส.ไม่ได้รับพิจารณาให้เพิ่มทุนจึงอาจส่งผลต่อการดำเนินงานของธนาคารได้

"แม้ว่าธอส.จะไม่ได้รับผลโดยตรงและกลัวว่าจะโดนหางเลขด้วย ซึ่งก็พบว่าแผนจะทำแปลงสินทรัพย์เป็นทุน หรือ ซีเคียวริไทร์ ของ ธอส. ต้องระงับไปแล้ว เพราะตลาดซีเคียวริไทร์ในต่างประเทศตกต่ำมาก หาก ธอส.จะทำก็อาจขายไม่ออกและอาจสร้างปัญหาต่อเนื่องทางการเงินต่อธนาคารได้"

นายประดิษฐ์ยังกล่าวถึงควบรวมกิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กับ บรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ว่า อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษากฎหมายโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ซึ่งปลายเดือน ต.ค.นี้จะได้ข้อสรุปทั้งหมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us