Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 ตุลาคม 2551
ไฟเขียวเพิ่มวงเงินRMF-LTFรัฐยอมสูญรายได้900ล้าน/ปี             
 


   
search resources

Investment




ครม.สมชายใจใหญ่ ยอมหั่นรายได้รัฐ 900 ล้านบาท/ปี เพื่อปั๊มเม็ดเงินเข้าตลาดหุ้น ล่าสุดไฟเขียวขยายวงเงินหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจาก 5แสน เป็น 7 แสนบาท นายกฯสมาคมชี้ช่วยเพิ่มเม็ดเงินใหม่ แต่หลายเสียงตำหนิเอื้อคนรวย แก้ปัญหาไม่ถูกจุด

นายสาธิต รังคสิริ ที่ปรึกษาด้านยุทธ์ศาสตร์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า วานนี้ (14ต.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยการขยายวงเงินหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) จากปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปี ให้หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 7 แสนบาทต่อปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ได้มีมติขยายวงเงินการหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จากปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้หักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปี ให้หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 7 แสนบาทต่อปี โดยการขยายวงเงินการยกเว้นภาษีข้างต้นเห็นสมควรว่าควรกำหนดเป็นมาตรการชั่วคราวโดยมีผลสำหรับหน่วยลงทุนที่ได้มีการซื้อระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2551 ถึง 31 ธ.ค. 2551

"การขยายวงเงิน RMF และLTF จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีรายได้ประจำนำเงินออมไปลงทุนในกองทุนทั้ง 2 มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯขยายตัวตามมา ส่วนผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรนั้นยอมรับว่ารัฐบาลได้รับผลกระทบต่อรายได้ แต่ไม่มากนัก" นายสาธิต กล่าว

ก่อนหน้านี้ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าว่าการเพิ่มวงเงินหรือการหักลดหย่อนภาษี RMF และ LTF รัฐจะได้รับผลกระทบต่อรายได้ถึง 900 ล้านบาทต่อปี

สมาคมบลจ.ชี้ช่วยกระตุ้นนักลงทุน

ด้าน นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สมาคม บลจ.) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวถึงมติครม.ที่ออกมาว่า เรื่องนี้จะช่วยกระตุ้นนักลงทุนได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากว่าปัจจุบันราคาหุ้นมีราคาที่ถูกลง และตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำการประเมินและคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปีนี้จะมีเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 10,000 ล้านบาท ส่วนการจัดตั้งกองทุนร่วมทุนหรือแมทชิ่งฟันด์นั้น ในความเห็นส่วนตัวมองว่าถ้าเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ น่าจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น

โดนติช่วยกระตุ้นแต่คนรวย

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญหลายว่า การขยายวงเงินดังกล่าว สามารถช่วยผู้ลงทุนได้เพียงระดับหนึ่ง หรือคนเพียงกลุ่มเล็กที่มีฐานรายได้สูงเท่านั้น และไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนจากกลุ่มคนได้หมด เพราะจากวงเงินดังกล่าว คนที่จะลงทุนได้จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 3,300,000 บาทต่อปี ซึ่งก็คือ 15%ของรายได้ โดยนักลงทุนที่มีรายถึงระดับ 3,300,000 บาทต่อปี นั้นมีอยู่น้อยมาก ดังนั้นจึงมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่าควรที่จะมีการปรับเพดานการลงทุนแทนการเพิ่มวงเงิน

"หากเป็นการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี จาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ 600,000 บาท สามารถที่จะลงทุนในกองทุนรวม LTFหรือRMF ได้ 90,000 บาทเท่านั้น และหากมองดูให้ดีแล้วจะพบว่าไม่ได้เป็นการออมเงินเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด"แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง ให้ความเห็น

วอนขยายเพดานวงเงินลงทุน

ส่วนเรื่องการเพิ่มเพดานการลงทุนโดยปรับเพิ่มขึ้นจาก 15%ของรายได้มาเป็น 30% ของรายได้แทนนั้น แหล่งข่าวเชื่อว่าเรื่องนี้จะสามารถเพิ่มฐานการลงทุนได้มากกว่าการปรับเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพราะหากมีการปรับเพิ่มเพดานการลงทุนเป็น 20% จะสามารถระดมเม็ดเงินจากนักลงทุนได้ ทั้งในระดับกลางถึงระดับล่างให้เข้ามาร่วมลงทุนได้มากขึ้น

"การเพิ่มวงเงินลงทุนของกองทุน LTFและRMF จะทำให้กองทุนทั้ง 2 โตขึ้นจากเดิมที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 30% เพราะเมื่อมาเปรียบเทียบกับรายได้ของนักลงทุนไทยจะพบว่า คนที่เสียภาษีมีไม่เกิน 10% คือกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 500,000 บาท ขณะที่ คนที่มีราย 500,000-1,000,000 บาท จะต้องเสียภาษี 20% ซึ่งหากมีการอนุมัติเรื่องการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีและการปรับเพิ่มเพดานการลงทุนจะทำให้มีการออมเพิ่มขึ้น 10-20% ต่อปี"

ที่ผ่านมา เรื่องดังกล่าวได้รับการผลักดันทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่ง เพราะเชื่อมั่นว่าหากเรื่องดัวกล่าวได้รับการอนุมัติจะยิ่งเสริมศักภาพของราคาหุ้นในตลาดให้มีความมั่นคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเม็ดเงินเหล่านี้เป็นเงินลงทุนระยะยาวที่มีกฏหมายบังคับ ซึ่งการขยายวงเงินลดหย่อนภาษีในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2551 หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2550 ครม.ในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้นำเสนอ

โดยการลงทุนในกองทุน LTF และกองทุน RMF เป็นการลงทุนระยะยาว อีกทั้งยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ จึงทำให้หลายบลจ.มองว่าการลงทุนในช่วงนี้ จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กลับนักลงทุนได้ เนื่องมาจากช่วงนี้ราคาหุ้นได้มีการปรับตัวลดลงอย่างมาก จึงถือเป็นจังหวะที่ดีที่จะเข้าไปเก็บหุ้นพื้นฐานดี เพื่อรอเวลาในการสร้างผลตอบแทนที่ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us