Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กรกฎาคม 2546
MFCชวนยุ่นลงเอเชียบอนด์             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
กองทุนเพื่อลงทุนในต่างประเทศ
เอ็มเอฟซี, บลจ.
กสิกรไทย, บลจ.
นิกโก้ บล.
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีสินทรัพย์มั่นคง
พิชิต อัคราทิตย์
Bond




บลจ.เอ็มเอฟซีมีแผนจะร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์นิกโก้ 1 ใน 4 โบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่เมืองปลาดิบ ญี่ปุ่น หุ้นส่วนบริษัทตั้งกองทุนลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยสนใจลงทุนพันธบัตรเอเชีย (Asia bond) จะประชุมตั้ง ก.ย.นี้ รวมถึงเน้นตั้งกองทุนหุ้น เพราะคาดกระทิงหุ้นไทยยังดุ แม้ขณะนี้กำลังปรับฐานก็ตาม

ขณะที่ บลจ.เอ็มเอฟซีภายใต้ การนำของกรรมการผู้จัดการคนใหม่ พิชิต อัคราทิตย์ อดีตผู้บริหาร ก.ล.ต. หวังพลิกฟื้นบริษัทกลับมาผงาดในธุรกิจนี้อีกครั้ง ด้วยการใช้เทคนิคบริหารยอดนิยม Balanced Scoredcard นำเข้าจากแดนมะกัน ผลักดันองค์กรให้เป็นแหล่งรวมคนดี-คนเก่ง ฝึกปรือ วิทยายุทธ์ผู้จัดการกองทุนไทยเทียบชั้นผู้จัดการกองทุนฝรั่งระดับโลก พร้อมลงทุนในต่างประเทศอนาคต หลังจากบริษัทนี้ ซึ่งคลังถือหุ้น 16% ชื่อเสียงหายไปจากธุรกิจนี้พักใหญ่ ล่าสุดออกกองทุนผสมแบบยืดหยุ่น รับประกันเงินต้น ยอดขายกว่า 1.7 พันล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ด้านบลจ.กสิกรไทย จ่ายปันผลไปแล้วกว่า 4 พันล้านบาท 7 เดือนแรกปีแพะ

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการจัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่าการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเงินมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท) ให้กองทุนไทยลงทุนต่างประเทศได้ ถือเป็นโอกาสการลงทุนเพิ่มขึ้น และช่วยพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมไทย บริษัทสนใจจะตั้งกองทุนดังกล่าว ขณะเดียวกันนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจจะลงทุนพันธบัตรเอเชีย ซึ่งริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งปัจจุบัน บลจ.เอ็มเอฟซี ทำหน้าที่บริหารกองทุนให้บริษัทดังกล่าว

MFC บริหารกองทุนที่ระดมจากนักลงทุน ต่างชาติแถบยุโรป สหรัฐ และสิงคโปร์ เพื่อจะลงทุนตลาดหุ้นไทย 7 กองทุน มูลค่ารวม 1.78 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 40% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 44,579.27 ล้านบาทของบริษัทปัจจุบัน

นอกจากนี้ บริษัทบริหารกองทุนรวมเพื่อลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund-FIF) ปัจจุบันมูลค่า 811 ล้านบาท ขณะนี้ อยู่ระหว่างขยายกองทุนเพิ่ม โดยจะให้สิทธิผู้ถือหน่วยกองทุนเดิม ก่อนเปิดโอกาสผู้ถือหน่วยรายใหม่ โดยกองทุนฯ นี้ จะสิ้นสุดอายุ ก.ย.นี้ ขณะนี้ อยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขยายกองทุน FIF ดังกล่าว อีกประมาณ 880 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินรอบ 2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติ

เขากล่าวว่า ภายใต้การบริหารของ MFC ณ 30 มิ.ย. บริษัทมีกองทุนทุกประเภทภายใต้การบริหาร 101 กองทุน มูลค่ารวม 7.84 หมื่นล้านบาท เฉพาะกองทุนรวม มูลค่า 4.45 หมื่น ล้านบาท

ช่วงครึ่งหลังปีนี้ บริษัทจะเสนอขายกองทุน รูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการออกกองทุน SPOT1 และ 2 ที่กำหนดอัตราผลตอบแทนล่วงหน้า 25% ระยะเวลา 3 ปี เน้นลงทุนตลาดหุ้นไทย บริษัทสามารถบริหารด้วยอัตราผลตอบแทนตามที่กำหนด คือกองทุน SPOT1 ผลตอบแทน 27.01% ใน 2 ปี 4 เดือน

ส่วนกองทุน SPOT 2 ผลตอบแทน 25.47% ใน 11 เดือน กองทุน SPOT 3 คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในระยะเวลาเร็วกว่าเดิม

เน้นกองทุนหุ้น

สาเหตุที่บริษัทออกกองทุนเน้นลงทุนหุ้น เนื่องจากเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น และฟื้นตัวแท้จริง แม้ขณะนี้อยู่ในช่วงปรับฐาน แต่คาดว่าจะเป็นไม่นาน ไม่ใช่ปรับตัวขึ้นจากการ เก็งกำไร จากปัจจัยต่างๆ สนับสนุนความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงสุดในโลก ตั้งแต่ต้นปีนี้ถึง 18 ก.ค. ผลตอบ แทนรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 44% รูปเงินบาท 38% เมื่อเทียบตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น แนสแดก สหรัฐ ผลตอบแทนเพียง 28% ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 25% และอินโดนีเซีย 24% ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจตลาดหุ้นไทยเมื่อพิจารณาสัดส่วนราคา หุ้นต่อกำไร (พีอี) ตลาดหุ้นไทยขณะนี้ 10 เท่า ขณะที่ตลาดฯเกิดใหม่แถบเอเชีย 11.2 เท่า

เขาวางรากฐานและเป้าหมายเพื่อให้บริษัทกลับมาผงาดอีกครั้ง หลังจากซบเซาตามวิกฤตเศรษฐกิจไทย-เอเชียปี 2540 โดยขณะนี้ เป้าหมายเฉพาะหน้า คือทำให้บริษัทสามารถแข่งขันเชิงธุรกิจกองทุนรวมที่ปัจจุบันแข่งขันกันสูงขึ้น ทั้งจาก บลจ.ไทย-ลูกครึ่ง

เขากล่าวว่า ช่วงที่เขาลาออกจากสำนักงาน ก.ล.ต. และเริ่มงานในฐานะกรรมการจัดการ บลจ.เอ็มเอฟซีไม่กี่เดือนที่ผ่านมาพบว่ากิจกรรม ด้านธุรกิจของบริษัทซบเซามาก จากที่เคยยิ่งใหญ่ ในอดีตทั้งที่โดยพื้นฐาน เท่าที่เขาสัมผัส บลจ. เอ็มเอฟซีเป็นองค์กรที่ดีโดยพื้นฐาน ขณะที่ระบบไอที ที่วางระบบสำหรับซื้อขายหน่วยลงทุนสำหรับลูกค้า ก็เริ่มล้าสมัย เพราะระบบของบริษัทใช้มากว่า 10 ปีแล้ว

ด้านบุคลากรก็ขาดความกระตือรือร้น โดยเฉพาะฝ่ายบริหารบริษัท เขาจึงต้องเน้นแก้ปัญหาภายในองค์กรเหล่านี้ให้ลุล่วงก่อน โดยพยายามให้กำลังใจกับพนักงาน ฝึกอบรวมพวก เขาภายใต้การทำงานจริง (one the job training) เพื่อดันให้ บลจ.เอ็มเอฟซี ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นกว่า 16% ของทุนชำระแล้ว 120 ล้านบาท กลับมาผงาดอีกครั้ง โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรเป็นอันดับแรก โดยมีเป้าหมายในที่สุด คือทำให้ บลจ.เอ็มเอฟซีเป็นที่รวมของผู้จัดการกองทุนที่ดีและเก่ง

ใช้ Balanced scorecard

ใช้เทคนิค Balanced scorecard บริหาร จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี เช่นเดียวกับที่หลายๆ องค์กรในไทยและโลก ใช้อยู่ที่มีต้นแบบจากแดนมะกัน เพราะเขาเชื่อว่า ระบบนี้สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ วัดผลสำเร็จของ การบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ บลจ. เอ็มเอฟซีขณะนี้พยายามจัดกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่กัน เช่น จัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเรื่องการลงทุนในกองทุนรวม

เป้าหมายอื่นๆ ที่นายพิชิตวาง นอกจากทำให้ บลจ.เอ็มเอฟซีกลับมาแข่งขันในธุรกิจกองทุนรวมได้อีกครั้ง คือการที่บริษัทสามารถลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศในอนาคต ซึ่งเขาเห็นด้วยกับมาตรการผ่อนคลายเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ไฟเขียวให้ 6 องค์กรในประเทศที่เกี่ยวกับตลาดเงิน-ตลาดทุน ลงทุนตลาดทุนต่างประเทศได้ค่อนข้างเสรี

ซึ่งควรอนุญาตให้สถาบันต่างๆ ด้านตลาดเงิน-ตลาดทุนของไทย หาประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากต่างประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเสียโอกาส พร้อมกับยังกระจายความเสี่ยงการลงทุนของพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนสถาบันเหล่านี้ด้วย

ขณะนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีร่วมลงทุนกับกองทุน รวมต่างประเทศ 7 กองทุน มูลค่ารวมกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท (428 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัท มีเป้าหมายจะขยายขนาดกองทุนเหล่านี้เพิ่มอนาคต โดยให้ผู้จัดการกองทุนของบริษัทมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ เพื่อฝึกให้ผู้จัดการกองทุนคนไทยความสามารถเทียบเท่าฝรั่ง คิดและบริหารกองทุนแบบฝรั่ง

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซีสินทรัพย์มั่นคง (MFC Limited Rsik Fund-MRF) ซึ่งขายได้กว่า 1.7 พันล้านบาท ภายในเวลาไม่ถึงเดือน สะท้อนว่าผู้มีเงินฝากในแบงก์ ซึ่งปัจจุบันได้ดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริง หลังหักเงินเฟ้อติดลบ ต้องการหาผลตอบแทนสูงขึ้น

เขากล่าวว่าเหตุที่กองทุนฯ นี้ขายดี เพราะคุ้มครองเงินต้น ขณะเดียวกัน ยังมุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน โดยลงทุนหุ้นสามัญพื้นฐานดีแบ่งเงินลงทุน 2 ส่วน

ส่วนแรก ลงทุนตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร รัฐบาล-รัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้เอกชนที่มั่นคงสูง ด้วย อันดับเครดิตไม่ต่ำกว่า BBB และฝากเงินในแบงก์ ส่วนที่ 2 ลงทุนตราสารทุนที่มั่นคงสูง ผลตอบแทนสูง สภาพคล่องซื้อขายสูง เพื่อสร้าง โอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้นระยะแรก ลงทุนตราสารหนี้ 90% ที่เหลือลงทุนตราสารทุน

ณ 30 มิ.ย. บลจ.เอ็มเอฟซีมีกองทุน ภายใต้การจัดการ 101 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)รวม 7.84 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย กองทุนรวมทั่วไป มูลค่า NAV รวม 3.19 หมื่นล้านบาท กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 2-4) NAV 1.34 หมื่นล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ NAV รวม 3.22 หมื่นล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล NAV รวม 980 ล้านบาท

บลจ.กสิกรไทยจ่ายปันผลกว่า 4,000 ล้านบาท 7 เดือนแรกปีนี้

บลจ.กสิกรไทย ม.ค.-ก.ค. ปีนี้ จ่ายปันผลกว่า 4,000 ล้านบาท นางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย เปิดเผยว่าช่วง ม.ค.-มิ.ย. บริษัทจ่ายเงินปันผลแล้ว 17 กองทุน เป็นเงิน 2,792.23 ล้านบาท

29 ก.ค.นี้ บริษัทจะจ่ายเงินปันผลอีก 4 กองทุน คือกองทุนเปิดรวงข้าว จากผลดำเนิน งาน 1 ก.ค. 2545-30 มิ.ย. 2546 หน่วยละ 66 สตางค์ อีก 3 กองทุนจ่ายจากผลดำเนินงาน 1 ม.ค.-30 มิ.ย.

ได้แก่ กองทุนเปิดรวงข้าวทวีผล หน่วยละ 26 สตางค์ กองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นปันผล 36 สตางค์ และกองทุนรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล 27 สตางค์ คิดเป็นเงินรวม 1,287.21 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปีถึง ก.ค. บริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงิน 4,080.04 ล้านบาท

นางดัยนากล่าวว่า กองทุนทั้ง 4 กอง ผลดำเนินงาน 1 ปีบัญชีที่ผ่านมา สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กองทุนเปิดหุ้นทุน 3 กอง ได้แก่ กองทุนเปิดรวงข้าว กำไรเพิ่ม 18.72% จากปีก่อน หน้า

กองทุนเปิดรวงข้าวทวีผล กำไรเพิ่ม 18.62% และกองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นปันผล กำไรเพิ่ม 18.72% เทียบดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ช่วง เดียวกัน เพิ่มขึ้น 17.58%

ส่วนกองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล กองทุนแบบผสม กำไรเพิ่ม 13.86% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ประกอบด้วย ดัชนีตลาด หลักทรัพย์ กับค่าเฉลี่ย TBDC Government Bond Index (Total return index) และดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี เฉลี่ยธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 13.26% ช่วงเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us