Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กรกฎาคม 2546
"เดลิเวอรี่หลังการขายเฟื่อง" กลยุทธ์ใหม่ตลาดซอฟต์แวร์ไทย             
 


   
search resources

พรอมิเนท์ ซิสเต็ม แอพพลิเคชั่น
พิสิฐ อรุณทรัพย์
SMEs




"เดลิเวอร์รี่หลังการขาย" กลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีในทุกวงการ ล่าสุด "พรอมิเนนท์" ผู้ประกอบการหน้าใหม่ เห็นช่องว่างทางการตลาดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ราคาแพง บริการหลังการขายไม่หรูอย่างที่คิด เสนอตัวแก้ปัญหา จับกลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ตั้งเป้าปี 46 โตกว่า 400%

ปัจจุบันฟาสต์ฟู้ดข้ามชาติหลายแห่งได้เข้ามาตีตลาดในเมืองไทย และแต่ละแห่งต่างเฟ้นหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า จนก่อให้เกิดระบบบริการส่งอาหารถึงบ้านหรือที่ทำงานซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของ "เดลิเวอรี่" ที่ขณะนี้มีการนำระบบการันตีสินค้าว่าจะถึงมือผู้บริโภคภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที มาใช้จนเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า แต่เชื่อหรือไม่ว่าขณะนี้ได้มีการนำระบบ "เดลิเวอรี่" มาใช้กับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แล้ว

พิสิฐ อรุณทรัพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท พรอมิเนนท์ ซิสเต็ม แอพพลิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า ด้วย ความชอบส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และได้มีโอกาสศึกษาซอฟต์แวร์ ACCPAC ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่นำเข้าจากอเมริกา มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบข้อมูลโดยรวมขององค์กร ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าความสามารถของซอฟต์แวร์ไม่มีปัญหา จะมีก็แต่การบริการหลังการขาย ที่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไม่สามารถให้คำปรึกษา หรือกำหนดทิศทางการใช้งานของซอฟต์แวร์ได้ เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยยังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์อยู่มาก ไม่ว่าองค์กรไหนจะซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพงขนาดไหนแต่หากไม่มีบริการหลังการขายที่ดีพอ การใช้ประโยชน์จาก ซอฟต์แวร์ก็คงสูญเปล่าในที่สุด และจุดนี้เองที่ทำให้มองเห็นช่องว่างทางการตลาดของการบริการหลังการขายซอฟต์แวร์ว่าน่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้

บริษัท พรอมิเนนท์ ซิสเต็ม แอปพลิเคชั่น จำกัด จึงถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้นโยบาย "การรักษาสัญญากับลูกค้า" ปีแรกของการทำงานลำบากมาก เพราะเป็นบริษัทใหม่ ความเชื่อถือจากลูกค้าย่อมมีน้อย ประกอบกับซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีราคาค่อนแพง ฉะนั้นบริษัทที่จะใช้ซอฟต์แวร์ได้จึงต้องเป็นบริษัทที่ใหญ่พอสมควรซึ่งแต่ละบริษัทก็มีตัวแทนจำหน่ายอยู่แล้ว บริษัทจึงมุ่งหาลูกค้าจากฐานข้อมูลเก่าของตัวแทนจำหน่ายที่มีปัญหา เช่น แก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือสัญญาแล้วไม่สามารถทำได้ ด้วยการเข้าไปเสนอบริการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ ซึ่งเมื่อสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้แล้ว ลูกค้าก็จะเกิดความไว้วางใจตามมา ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัท 70%-80% มาจากคำบอกเล่าแบบปากต่อปาก

"ขณะนี้บริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก วัดได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ปีแรกบริษัทสามารถทำยอดขายได้ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปีที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านบาท และปีที่ 3 มียอดขายสูงถึง 13 ล้านบาท แต่ในปี 2546 บริษัทตั้งเป้ายอดขาย ไว้ที่ 18 ล้านบาท ซึ่งยอดขายทั้งหมด ของบริษัทมาจากการบริการหลังการขายทั้งสิ้น"

พิสิฐ กล่าวว่า คู่แข่งขันที่จะเข้ามาแย่งชิงตลาดโดยการบริการเช่นเดียวกัน คงไม่สามารถทำได้ง่าย พนักงานในบริษัทต้องให้ความร่วม มือในการทำงานเพื่อการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า แต่ปัญหาการแข่งขันในตลาดเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามประกอบกับไม่มีเครื่อง จักรอะไรอาศัยความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก บริษัทจึงเข้าร่วมกับหน่วยงานสวทช. เพื่อวางระบบการจัดการคุณภาพพื้นฐานให้กับองค์กร

TFQS เป็นระบบมาตรฐานการจัดการแบบไทยที่สามารถช่วยยกระดับธุรกิจ SME ให้มีมาตร ฐานการจัดการที่ดี ที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ช่วยเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความพึงพอใจในสินค้าต่อลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาะสมธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการพัฒนาระบบคุณภาพตนเองเป็นการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาคุณภาพในระบบ ISO 9001 ต่อไป ซึ่งในอนาคตหากบริษัทต้อง การทำมาตรฐาน ISO 9000 ก็สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

พิสิฐ กล่าวถึงข้อดีของ TFQS ว่านอกจากข้อกำหนดที่ระบบ TFQS กำหนดให้ทุกองค์กรต้องทำ ตามแล้ว บริษัทยังมีความต้องการเพิ่มเติมคือ การจัดระบบให้เป็นไปตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า เช่น เมื่อลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาเพื่อถามปัญหา พนักงานต้องสามารถตอบคำถามให้กับลูกค้าได้ แต่หาก ไม่สามารถตอบได้พนักงานจะต้องพยายามหาคำตอบและโทรศัพท์กลับไปบอกลูกค้าให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งการทำเช่นนี้ดูเหมือนไม่ใช่ เรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วการทำงาน เป็นเรื่องซับซ้อนมาก ผู้เชี่ยวชาญที่ สวทช.ส่งเข้ามาได้ช่วยวิเคราะห์ปรับ ระบบงาน พร้อมทั้งปรับระบบเอกสาร ระบบธุรการ การบริการลูกค้าให้มีความสัมพันธ์กัน การทำ งานร่วมกันระหว่างบริษัทและผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้คู่มือคุณภาพที่สามารถนำมาใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับบริษัท

สำหรับแผนงานในอนาคตบริษัทอยากพัฒนาระบบคุณภาพขึ้นพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้น โดยอาจจะ เป็นการทำระบบมาตรฐาน ISO หรือ TQM ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัท ขณะนี้รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับอุต- สาหกรรมส่งออกด้วยหวังจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศได้ และเชื่อว่ากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีการ นำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้มากขึ้น และเพื่อเตรียมพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกในอนาคต บริษัทจึงต้องเร่งจัดทำระบบคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us