Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2551
บันทึกชั่วโมงวิกฤต AIG(AIA) เฉือนหุ้น-ขายแบงก์ต่อลมหายใจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ)

   
search resources

อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์, บจก.
Insurance




บันทึกเสี้ยวนาทีประวัติศาสตร์ในรอบเกือบ 100 ปีของ "AIG" และ "AIA" ชั่วโมงวิกฤต ประกาศขายทรัพย์สินในมือ และขายหุ้นบางส่วน โฟกัสไปที่ หน่วย "คอนซูเมอร์ ไฟแนนซ์ กรุ๊ป หรือ CFG " ใน 11 ประเทศ พร้อมตัดใจเฉือนหุ้นบางส่วนของ "AIA ประกันชีวิต" ในเอเชีย-แปซิฟิค แต่ยังคงเก็บธุรกิจน่าหวงแหนอย่างประกันภัย "หัวใจ" การทำรายได้และกำไร ชนิดไม่ให้ใครได้เชยชม "ธนาคาร AIG เพื่อรายย่อย" และ "AIG การ์ด ประเทศไทย" คือ ทรัพย์สินก้อนแรกที่จะตัดขายออกไป ก่อนจะต่อด้วยหุ้นบางส่วนของ AIA ประกันชีวิต แถบเอเชีย ตอกย้ำ ระหว่างคัดสรรพันธมิตรใหม่ ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อ ส่วนลูกค้าแบงก์และผู้ถือกรมธรรม์ไม่มีผลกระทบ เพราะทรัพย์สินและเงินสดยังอยู่ครบ ภายใต้กฎหมายไทย...

บรรยากาศภายในห้องประชุมบนตึกสูง สำนักงาน เอไอเอ สาขาประเทศไทย แออัด เนืองแน่น ไปด้วยสื่อหลากสำนัก ที่หิวกระหายข่าวความเคลื่อนไหวของ "เอไอเอ ประกันชีวิต" หลังจาก บริษัทแม่ อเมริกัน อินเตอร์ เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ หรือ AIG กำลังตกระกำลำบากและหาทางออกด้วยการประกาศขายทรัพย์สิน กลางมหานครนิวยอร์ค เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (3ต.ค.2551)

สิ้นเสียงประกาศจากนิวยอร์ค แรงกระเพื่อมก็ดังลั่นข้ามโลก มายังประเทศแถบเอเชีย ถิ่นที่ AIG มีบริษัทลูกคือ AIA ประกันชีวิตอยู่แทบทุกประเทศ และวางรากฐานมายาวนานอย่างมั่นคง เติบโตรวดเร็ว และแทบแห่งก็ทำกำไรในแต่ละปีหมาศาล

จนในที่สุด แจ็คพอตก็มาตกที่ บริษัทลูก 3 แห่งในญี่ปุ่น ที่ AIG ขายทิ้งยกล็อต ทั้ง เอไอจี สตาร์ เอไอจี เอดิสัน และอาลิโค ที่นักวิเคราะห์ให้ราคาประเมินคร่าวๆประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์

เพียงไม่กี่วัน บริษัท ฟิลิปปินส์-อเมริกัน ไลฟ์หรือ ฟิลแอมไลฟ์ และบริษัท เจเนอรัล อินชัวรันส์ สาขาทั้ง 2 แห่งในแดนตากาล็อคก็ถูกประกาศเลหลัง แบบช็อคความรู้สึกมากพอดู โดยเฉพาะฟิลแอมไลฟ์ผลประกอบการงดงาม จนเปรียบประหนึ่ง "เพชรบนยอดมงกุฎ" ของ เอไอจี เพราะทำกำไรค่อนข้างสูงและมีอัตราการเติบโตแตะตานักลงทุนไปทั่ว แต่ตัวเลขจากการประกาศขายสาขาในฟิลิปปินส์ ก็ไม่ค่อยจะสวยหรูนัก เพราะแม้แต่ ซีอีโอ สาขาแห่งนี้ยังมองว่า มูลค่าสุทธิน่าจะอยู่ประมาณ 1,050 ล้านดอลลาร์

กิจการของบริษัทแม่ที่ยังอยู่ในอาการซวนเซ จึงยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ เฉพาะการใช้หนี้เงินกู้จากเฟด 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ด้วยการหั่นขายทรัพย์สิน และขายหุ้นบางส่วนออกไป ดูจะยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ AIG ก็ยังมีแรงบีบจาก ธนาคารกลางสหรัฐ ที่กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วม 80% อยู่ตลอดเวลา

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นก็ค่อยๆร่วงหล่นลงเรื่อยๆ สำหรับลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยและประกันชีวิต แต่สำหรับทรัพย์สินของบริษัทลูกนอกเมริกา กลับส่งกลิ่นหอมเตะจมูก สถาบันการเงินหลายแห่ง ที่ต่างจดจ้องตาเป็นมัน โดยเฉพาะการประกาศขายหุ้นบางส่วนในธุรกิจประกันชีวิต ในเอเชียของ AIG

นักวิเคราะห์ถึงกับทำนายว่า การปล่อยหุ้น เอไอเอ ออกมาในจำนวนไม่เกิน 49% น่าจะทำให้ AIG มีเงินในกระเป๋า ร่วมๆ 2 หมื่นล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

สื่อต่างๆ ไปรวมตัวที่ เอไอเอ สาขาประเทศ ตั้งแต่เช้าตรู่วันที่ 6 ต.ค.2551 เพื่อรอการแถลงข่าว ถึงทิศทางของธุรกิจในเครือ AIG ในประเทศไทย หลังจากสิ้นเสียงประกาศจากนิวยอร์คคืนก่อนหน้านี้โดยมี บริษัทลูกและบริษัทในเครือ AIG ในประเทศไทย ประกอบด้วย เอไอเอ สาขาประเทศไทย ธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย และ เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) และนิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ อยู่รวมกันครบในห้องประชุม

" ถึงแม้จะเจอกับ สึนามิด้านการเงิน ในช่วงนี้ แต่ เอไอเอ ก็ยังคงดำเนินการตามปกติ เพราะเอไอเอ ในภูมิภาคเรามีความแข็งแกร่ง จากการวางรากฐานในเอเชียครั้งแรกในเซี่ยงไฮ้มาตั้งแต่ปี 2462 หรือ รวมเวลากว่า 89 ปี"

โทมัส เจมส์ ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) ให้ความมั่นใจว่า เอไอเอ ยังคงขยายธุรกิจต่อไป และลงทุนต่อเนื่อง ด้วยฐานะการเงินที่มั่นคง ขณะเดียวกันก็อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐบาลไทย

ดังนั้นลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ก็สบายใจได้ว่า จะไม่ได้รับผลกระทบเพราะมี เงินกองทุน เงินสำรองประกันภัย และมีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม การประกาศขายหุ้นบางส่วนของ ธุรกิจประกันชีวิต เอไอเอ สาขาเอเชีย ของ AIG ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า จะไม่เกิดขึ้น เพราะยุทธศาสตร์บริษัทแม่จำเป็นต้องตัดขายเพื่อหาเงินมาล้างหนี้

AIG ส่งสัญญาณดังไปทั่วโลกว่า จะขายหุ้นบางส่วนไม่เกิน 49% ของ AIA ผ่าน "AIA โฮลดิ้ง" ที่มีสัดส่วนเกือบ 100% ในสาขาเอไอเอทุกแห่ง

ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะอธิบายให้โลกได้รับรู้ว่า ถึงอย่างไร หุ้น "AIA โฮลดิ้ง" ก็จะต้องมีพันธมิตรหน้าใหม่ เข้ามาแบ่งปันความร่ำรวยไปจาก AIG จากที่เคยตักตวงรายได้ และผลกำไรอยู่ฝ่ายเดียวมานานเป็นเวลาเกือบ 100 ปี

โทมัส บอกว่า เอไอเอ สาขาฮ่องกง จะไม่มีการขายเหมือนกับที่ญี่ปุ่น แต่ได้ขีดกรอบให้มีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเจ้าของใหม่ที่จะเข้ามาเสริมศักยภาพการทำธุรกิจให้กับ AIA

การขายหุ้นของบริษัทแม่ เอไอเอ สาขาฮ่องกง ก็ปฏิเสธได้ยากเช่นกันว่า จะไม่ส่งผลมาถึงหุ้นบางส่วนที่มีอยู่ใน เอไอเอ สาขาประเทศไทย เพราะ เอไอเอ ประเทศไทย เป็นสายตรงจาก ฮ่องกง ก่อนจะต่อไปยังสาขาเบอร์มิวด้า และข้ามตรงไปยัง นิวยอร์ค อีกที

ขณะที่ เอไอเอ ออสเตรเลีย และไต้หวันจะเป็นสายตรงไปยัง เอไอเอ โฮลดิ้ง บริษัทแม่ที่นิวยอร์ค

ผู้บริหาร เอไอเอ ให้ความกระจ่างว่า การขายหุ้นส่วนน้อยจะไม่กระทบกับผู้ถือกรมธรรม์หรือ ลูกค้า เอไอเอเลย แต่การขายหุ้นส่วนน้อย จะมองไปที่พาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง มีคุณภาพ มีฐานลูกค้าที่ดี เพื่อเสริทศักยภาพให้ดีขึ้น

" ถ้าเป็นรายที่ใหญ่ เพียงหนึ่งเจ้าจะเสริมโอกาสให้กว้างไกลก็อาจจะเป็นเพียงรายเดียว ไม่อย่างนั้น เราก็มีโอกาสเลือกสรร พาร์ทเนอร์ที่สนใจมากกว่า 1 รายก็ได้ ถ้าทุกรายมีดีหมด เหมือนมีผู้ถือหุ้นมาเพิ่ม ธุรกิจก็ไม่เสียหาย"

เอไอเอ สาขาประเทศไทย เพิ่งมีอายุครบ 70 ปีในเดือนตุลาคมนี้ มีพนักงาน 1,700 คน มีกองทัพตัวแทน 8 หมื่นคน มีหน่วยตัวแทน 7,800 หน่วย มีกรมธรรม์รวม 6.1 ล้านฉบับ มีผู้ถือกรมธรรม์ในเอเชียมากกว่า 20 ล้านราย มีตัวแทนรวมกัน 2 แสนฉบับ

มีสินทรัพย์รวม 383,060.77 ล้านบาท คิดเป็น 1.036 ของสินทรัพย์รวมของ AIG มีเงินสำรองประกันภัย 286,674.28 ล้านบาท มีเงินกองทุน 69,241.64 ล้านบาท คิดเป็น 1,107.67%

นอกจากการแบ่งขายหุ้นในธุรกิจที่ทำรายได้มหาศาลอย่างประกันชีวิตแล้ว สิ่งที่สร้างเซอร์ไพรซ์ ให้กับโลกการเงินและความรู้สึกของลูกค้า AIG อีกทอดหนึ่งก็คือ การประกาศขายธุรกิจในกลุ่ม คอนซูเมอร์ ไฟแนนซ์ กรุ๊ป หรือ CFG ที่มีอยู่ใน 11 ประเทศ ทั้งยุโรป เอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง

ชาลี มาดาน กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร เอไอจีเพื่อรายย่อย ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของ CFG อธิบายถึงการปรับโครงสร้างในกลุ่มนี้ อาจจะต้องปรับโครงสร้างทั้งกลุ่ม รวมถึง เอไอจีการ์ดด้วย

ในความหมายก็คือ AIG จำเป็นต้อง "ตัดขายหุ้น" ธุรกิจในกลุ่มนี้ทั่วโลก แต่ก็ไม่สามารถให้คำตอบชัดเจนว่า จะขายทั้งหมดหรือแบ่งขายแยกเป็นภูมิภาคอย่างไร ซึ่งต้องดูว่าวิธีใดจะเป็นทางที่ดีที่สุด จึงต้องมารอฟังผลการเจรจาอีกที

" จะดูว่า ผู้ถือหุ้นใหม่ จะอยู่ในสายกิจการเดียวกัน หรือไม่ และมีสินค้า มีสาขา ดี น่าสนใจหรือไม่ ในขณะที่ ธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อยในประเทศไทยมีสาขา 11 แห่ง มีฐานลูกค้า 4.5 แสนราย ผู้มาใหม่ก็สามารถเข้ามาต่อยอดได้ในทันที"

ชาลี ที่เพิ่งเข้ามานั่งในธนาคารแห่งนี้ไม่ถึง 90 วัน บรรยายลักษณะธนาคารแห่งนี้ไม่ต่างจาก "เพชรเม็ดโต" ที่พร้อมจะได้รับการเจียรนัย

" ไม่ว่า AIG จะขายให้ใคร จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนชื่อ ก็ขึ้นกับว่า ใครได้ซื้อไป แต่ ธนาคาร AIG ก็เหมือนกับ กลิ่นกุหลาบ ที่หอมอยู่ตลอดเวลาไม่เปลี่ยน"

ชาลี บอกว่า AIG ประกาศขายทรัพย์สิน แน่นอนว่าต้องขายส่วนที่ดี เพื่อให้ได้ราคา นำเงินไปคืนธนาคารกลางสหรัฐให้เร็วที่สุด

ดูได้จากสภาพคล่องที่สูงสุด รวมเงินฝากบวกเงินสำรองจากบริษัทแม่ มีฐานเงินทุนรวม 3,400 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนจำนวน 1,600 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2551 มีวงเงินสำรองจากบริษัทแม่อีก 14,000 ล้านบาท ทั้งที่เพิ่งยกระดับจากบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารเพื่อรายย่อยได้เพียงปีเดียว

ในช่วงครึ่งปีแรก ธนาคารเอไอจีฯ มีกำไรสุทธิ 172 ล้านบาท มีเงินฝาก 1.75 หมื่นล้านบาท มีสินเชื่อ 1.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ เอไอจีการ์ด มีฐานลูกค้า 3 แสนราย มีทรัพย์สินรวมเกินกว่า 9,000 ล้านบาท

ชาลี ยอมรับว่า เดือนที่เกิดวิกฤตการณ์ AIG มีลูกค้าถอนเงินฝากร่วม 10% ของเงินฝาก 1.9 หมื่นล้านบาท แต่ปัจจุบันมีเงินจากองค์กรขนาดใหญ่ไหลเข้ามามากขึ้น เพราะลูกค้าสบายใจขึ้นกับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง และธนาคารยังเดินหน้าทำตามแผนเดิม

สำหรับ ธุรกิจหลัก ที่เก็บไว้กับตัวแน่นก็คือ ประกันภัย หรือ อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล อันเดอร์ไรท์เตอร์ AIU มีทรัพย์สินรวมกว่า 43,000 ล้านหรียญสหรัฐ มีเงินสดสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างรายได้รวม 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550

สตีเวน บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร และประธานกิตติมศักดิ์ นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ และ เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) แถลงว่า ยืนยันจะดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และมีกำไรทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 28% ของผลกำไรจากการรับประกันภัยในธุรกิจประกันวินาศภัยประเทศไทย

การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนอีกครั้งของ AIG ครั้งนี้ จึงถูกมองเป็นบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ "วิกฤตการณ์ หายนะAIG" ที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบเกือบ 100 ปีในประเทศไทย....

ขณะที่ลูกค้า ในเครือ AIG รวมถึง AIA นั้น สบายใจได้ เพราะเม็ดเงิน และทรัพย์สินของ AIG และ AIA ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ในตอนนี้ ขณะเดียวกันก็มีเงินสำรองมากพอจะรองรับภาระผูกพันธ์กับลูกค้าทุกราย ถ้าสิ่งที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้น....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us