Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 ตุลาคม 2551
ตลาดนิคมฯสวนกระแสการเมืองเอกชนเร่งปั๊มซัปพลายรับทุนไทย-เทศ             
 


   
search resources

Investment
คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
ปฏิมา จีระแพทย์




"คอลลิเออร์สฯ"หยิบผลการศึกษา ระบุตลาดนิคมอุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโต ผู้ประกอบการนิคมฯเร่งปั๊มที่ดินรองรับความต้องการกลุ่มธุรกิจไทย-เทศ ชี้อีสเทิร์นซีบอร์ดนำโด่งซัปพลายเพิ่มกว่า 14,173ไร่ จากจำนวนซัปพลายใหม่รวม 24,000 ไร่ทั่วประเทศ หลังดีมานด์กลุ่มธุรกิจยานยนต์-พลังงานเอทานอล –ไอที ขยายตัวต่อเนื่อง แนะรัฐบาลขยายระบบขนส่งต่อเนื่องครบวงจร คาดกนอ.อนุมัติขยายมาตรการส่งเสริมด้านภาษีจาก8 ปีเป็น 13 ปี ดันดีมานด์ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มทีซีซี แลนด์ งัดที่ดินผืนใหญ่ชะอำ นำร่องสร้างนิคมฯเริ่มต้นปี 52

นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลการลงทุนในกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม พบว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ความต้องตั้งฐานการผลิตในนิคมอุตฯไทยยังมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการลงทุนของกลุ่มธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ และกลุ่มธุรกิจการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลมีอัตราการขยายตัวที่ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แม้ว่าปัญหาภาวะวิกฤตการเงินโลกและปัญหาการเมืองภายในประเทศไทย จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยของกลุ่มธุรกิจต่างๆ แต่เนื่องจากการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของภาครัฐฯ และความต้องการตั้งฐานการผลิตของกลุ่มธุรกิจยานยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศเอเชีย ส่งผลให้ยังมีความต้องการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

นายปฏิมา กล่าวว่า สำหรับปัจจัยบวกที่จะผลักดันให้มีการเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น คือ การขยายเวลาในการส่งเสริมด้านมาตรการภาษี การให้ส่วนลดด้านภาษี ซึ่งคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายเวลามาตรการด้านภาษี จาก8ปี เป็น13 ปี หากมีการผ่านมาตรการดังกล่าวจริง จะส่งผลให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ สนใจเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น และหากรัฐบาลมีการขยายการลงทุนด้านระบบขนส่ง ด้านท่าเรือน้ำลึก ให้เชื่อมต่อกับการขนส่งทางอากาศและระบบรถไฟ จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นที่สนใจในการลงทุนมากขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการลงทุน และเป็นจุดศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีปัญหาการเมือง และวิกฤตการเงินเข้ามากระทบการตัดสินใจลงทุน แต่ยังมีกลุ่มธุรกิจบางส่วนยังเดินหน้าขยายการลงทุนในนิคมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น กลุ่มธุรกิจยานยนต์ กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน กลุ่มธุรกิจไอที เป็นต้น ที่ต้องการเช่าพื้นที่โรงงานในนิคมอุตฯเพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ขยายกำลังการผลิต และลดความเสี่ยงจากการกู้เงินก่อสร้างโรงงาน

โดยจากการศึกษาของบริษัทคอลลิเออร์สฯพบว่า ในปัจจุบันจำนวนที่ดินในนิคมทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 140,000 กว่าไร่ แบ่งเป็น นิคมอุตฯโซนตะวันออก 69,635 ไร่ มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่ 70% นิคมฯภาคเหนือ 2,638 ไร่ เข้าใช้พื้นที่ 65% นิคมอุตฯในจังหวัดภาคกลาง 30,560 ไร่ เข้าใช้พื้นที่ 86% นิคมอุตฯภาคใต้ 1,443 ไร่ เข้าใช้พื้นที่ 30% และนิคมอุตฯในตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ไร่ มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่ 70%

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การขยายตัวของพื้นที่นิคมอุตฯในปีนี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 24,000 ไร่ โดยสัดส่วนในการเพิ่มขึ้นสูงสุดคือ นิคมอุตฯอีสเทิร์นซีบอร์ด 14,173 ไร่ ถัดมาเป็นพื้นที่นิคมทางภาคใต้ 6,000 ไร่ และนิคมอุตฯภาคกลาง 3,336 ไร่ ขณะที่ในนิคมอุตฯภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น 500 ไร่ เพื่อรองรับการผลิตพลังงานทดแทน

“ เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังพบว่า ในช่วงต้นปี 52 ทางกลุ่มทีซีซี แลนด์ (กลุ่มธุรกิจอสังหาฯของตระกูลสิริวัฒนภักดี ) ได้มีแผนลงทุนในธุรกิจนิคมอุตฯไว้ด้วย โดยเฉพาะที่ดินในย่านจังหวัดเพรชบุรี ติดอ.ชะอำ มีประมาณ 20,000 ไร่ จะแบ่งมาพัฒนาเป็นนิคมก่อน 1,000 ไร่ และขยับขยายเป็นเฟสต่อเนื่อง ส่วนที่ดินที่เหลือยังมีแผนพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยด้วย”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us