Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 ตุลาคม 2551
รัฐเข็น6มาตรการพยุงศก.-ธปท.ผวาดอลลาร์ล่องหน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




ครม.สมชายดิ้นออก 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ฟุ้งวงเงินรวม 1.2 ล้านล้านรับมือวิกฤติการเงินโลก “โอฬาร” รู้เวลาเหลือน้อย บอกพร้อมลาออกหากมาตรการฯ ไม่ได้ผล ไล่บี้ทุกหน่วยงานทำตามเป้าหมาย ชง ครม.อนุมัติขยายวงเงินลดหย่อนภาษี RMF-LTF จาก 5 แสนเป็น 7 แสนบาท เข้าครม.วันนี้ ขณะที่แบงก์ชาติเผยสัญญาณร้ายตลาดล่วงหน้าไร้ธุรกรรมดอลลาร์ ต้องจับตาเป็นพิเศษ ห่วงผู้นำเข้า-ส่งออกต้นทุนพุ่ง

เช้าวานนี้ (13 ต.ค.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมด่วนรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ พร้อมด้วยผู้บริหารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหามาตรการรองรับเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินสหรัฐ ใช้เวลาหารือกว่า 3 ชั่วโมง นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้กำหนด 6 มาตรการเพื่อรองรับวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น พร้อมกำหนดเป้าหมายให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการเพื่อให้มีจำนวนเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 52 ให้ได้อย่างน้อย 1.2 ล้าน ๆ บาท เพื่อประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างน้อยปีละ 4% โดยจะติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน

“หากทำไม่สำเร็จก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะตนเองในฐานะที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจก็ขอลาออกทันที แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วย เพราะหากการเมืองสะดุดก็ทำให้ทุกอย่างชะงักตามไปด้วย” นายโอฬารกล่าวและว่า 6 มาตรการ ประกอบด้วย 1.มาตรการด้านตลาดทุน วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ได้แก่ การขยายวงเงินการซื้อกองทุน RMF และ LTF จาก 5 แสน เป็น 7 แสนบาท การดึงกองทุนแมชชิ่งฟันด์ กองทุนภาคเอกชน และกองทุนต่าง ๆ รับมือการขายหุ้นของต่างชาติที่มีในไทย การจัดตั้งกองทุนโดยความร่วมมือของเอกชนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) 2 พันล้านบาท และการจัดตั้งกองทุนแมชชิ่งฟันด์ ของ ตลท.กับสถาบันการเงิน รวม 1 หมื่นล้านบาท การส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ซื้อหุ้นคืน 3 หมื่นล้านบาท

2.มาตรการดูแลสภาพคล่อง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันสภาพคล่องในระบบมีเพียงพอประมาณ 1 ล้านล้านบาท และจะดูแลให้มีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจะพยายามให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 5% หรือ 4 แสนล้านบาท ส่วนธนาคารรัฐจะขยายสินเชื่อเพิ่มอีก 5 หมื่นล้านบาท

3.มาตรการเร่งรัดรายได้ส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อให้การส่งออกและท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% โดยให้การส่งออกทำรายได้เพิ่มขึ้น 3 แสนล้านบาท ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 6 หมื่นล้านบาท โดยกระทรวงพาณิชย์จะขยายตลาดที่ยังพอมีกำลังซื้อ โดยใช้ทีมไทยแลนด์ซึ่งมีผู้บริหารภาครัฐและเอกชนร่วมกันเจรจาการค้าการลงทุน 4.มาตรการสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ด้วยการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ โดยกระทรวงการคลังจะเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.8 แสนล้านบาท

5.มาตรการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนจาก 2.5 แสนล้าน เป็น 3.5 แสนล้านบาท โดยเร่งรัดลงทุนระบบรถไฟฟ้า 6 หมื่นล้านบาท การพัฒนาระบบขนส่งทั่วประเทศ 1 หมื่นล้านบาท และการลงทุนด้านพลังงานอีก 3 หมื่นล้านบาท และ 6.มาตรการประชาคมการเงินเอเชีย เพื่อความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในแถบอาเซียน โดยเฉพาะในช่วงปลายปีนี้ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำอาเซียน โดยจะมีแนวทางหารือเจรจาการขยายความร่วมมืออาเซียน +6 เพื่อให้เป็นศตวรรษใหม่ของเอเชีย ด้วยการเสนอให้อาเซียนร่วมมือกับออสเตรเลีย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

นายโอฬารกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลและธนาคารกลางของสหรัฐและยุโรปได้เร่งเพิ่มเงินเพื่ออุ้มธนาคารขนาดใหญ่ที่กำลังมีปัญหา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนโดยจะไม่มีธนาคารขนาดใหญ่ปิดกิจการอีก น่าจะส่งผ่านมายังภาคธุรกิจในประเทศเอเชีย ซึ่งดูเหมือนว่าเหตุการณ์กำลังคลี่คลาย แต่รัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงต้องเตรียมมาตรการรองรับล่วงหน้าไว้ก่อน รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์ราคาหุ้นของธนาคารของสหรัฐและยุโรปที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้วว่าดีขึ้นหรือไม่ หากไม่ดีขึ้นนั่นหมายความว่าเหตุการณ์กำลังเลวร้ายลงอีก

ขยายวงเงินลดหย่อน RMF-LTF เข้าครม.

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ลงนามเพื่ออนุมัติการขยายวงเงินลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุนอาร์เอ็มเอฟแล้ว โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (14 ต.ค.) ส่วนการลดหย่อนภาษียังอยู่ในอัตราเท่าเดิม คือไม่เกิน 15% ของรายได้ ส่วนการสูญเสียรายได้ของรัฐนั้นยังอยู่ในอัตราเดิมประมาณ 900 ล้านบาท/ปี แต่ฐานะการคลังในปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาจึงสามารถดำเนินการได้ และตั้งแต่ปีที่ผ่านมาคลังก็สามารถเก็บภาษีได้ 50,000 ล้านบาทแล้ว

ธปท.ยันสภาพคล่องท่วม

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งระเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับ ครม.ว่า รัฐบาลได้กำชับให้ธปท.เข้าไปดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินและสถาบันการเงินให้เพียงพอภายใต้ความผันผวนที่เกิดจากวิกฤตการเงินโลก ซึ่งธปท.ได้ยืนยันว่าในขณะนี้ปัจจุบันสภาพคล่องในระบบมีเพียงพอและสามารถกระจายลงไปในภาคธุรกิจได้ทุกส่วน และให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อไปได้

“อัตราการขยายสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ คือ 11% และเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ต้องการที่จะกระจายสินเชื่อไปยังลูกค้าให้มากที่สุด แต่ภายใต้เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ ทำให้แบงก์ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี เพราะต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าสินเชื่อที่ปล่อยออกไปแล้วจะไม่กลับมาสร้างปัญหาภายหลัง ซึ่งจะมีผลต่อฐานะธนาคารนั้นๆ ด้วย”

ตลาดล่วงหน้าปิดหลังดอลลาร์หาย

นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ (13 ต.ค.) ธปท.ได้ประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารต่างชาติ เพื่อหารือถึงสถานการณ์การเงินโลกที่มีความผันผวนมากในขณะนี้จะมีผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยอย่างไรบ้าง โดยภายหลังการประชุม นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ฝ่ายบริหารเงินของสถาบันการเงินต่างเริ่มเห็นสัญญาณที่ผิดปกติในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Swap) ซึ่งเป็นผลจากสภาพคล่องเงินดอลลาร์ในต่างประเทศที่ลดลงอย่างรุนแรง ตั้งแต่เริ่มวิกฤตการเงินโลก เมื่อ1-2 เดือนที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมเงินบาทในตลาด Swap หรือ Implied Thai Baht Fix ปรับลดลงมาก นอกจากนั้นจำนวนธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าก็ปรับลดลงมาก

“เหตุผลที่อัตราดอกเบี้ยไทยบาท ปรับตัวลดลงเนื่องจากไปอิงกับอัตราดอกเบี้ยซื้อขายดออลาร์ล่วงหน้าในตลาดสิงค์โปร์ หรือตลาดลอนดอน ซึ่งสภาพคล่องดอลลาร์มีน้อย ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ไทย และต่างประเทศในไทยที่มีสภาพคล่องดอลลาร์ในมือ ก็ไม่อยากที่จะขายดอลลาร์ล่วงหน้า เพราะไม่แน่ใจว่า สภาพคล่องดอลลาร์ในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร และไม่แน่ใจความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนฯ รวมทั้งต้นทุนการถือดอลลาร์ของแต่ละธนาคารก็แตกต่างกัน ทำให้ในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า มีความต้องการขายบาทมากกว่าขายดอลลาร์ และน่าเป็นห่วงกว่านั้น คือไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นจริง แม้ว่าราคาดอลลาร์ล่วงหน้าจะสูงขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าสภาพคล่องเงินดอลลาร์ในตลาดการเงินไทยหายไป ในขณะนี้ทั้งสภาพคล่องเงินบาท และดอลลาร์ยังมีเพียงพอ และในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที (SPOT) หากมีความต้องการซื้อดอลลาร์ก็ยังมีขายในราคาดอกเบี้ยปกติ แต่เมื่อเป็นตลาดล่วงหน้าความไม่แน่นอนของตลาดเงินโลกที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้เล่นรีรอไม่อยากทำธุรกรรม ทำให้เหมือนว่าตลาดปิด ทำให้มีความเป็นห่วงว่า หากในช่วงต่อไปผู้นำเข้า และส่งออกต้องการที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ผู้ส่งออกนำเข้าไทยอาจจะมีต้นทุนในการประกันความเสี่ยงสูงขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในขณะนี้คือ ธปท.จะเข้าไปพิจารณาการเข้าไปขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้ามากขึ้น เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยไทยบาทไม่ผิดเพี้ยนจากต้นทุนที่แท้จริงมากนัก

นอกจากนั้น ยังมีการพิจารณาร่วมกันระหว่างธปท. และสมาคมผู้ค้าเงินตราต่างประเทศว่าเมื่อ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมในตลาดสิงค์โปร์ (Sibor) และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมในตลาดลอนดอน (Libor) อยู่ในอัตราที่ผิดเพี้ยน จากความต้องการเงินดอลลาร์ในตลาดโลกที่มากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือัตราดอกเบี้ยไทยบาทควรจะมาอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (Bibor) แทนดอกเบี้ยกู้ยืมในต่างประเทศ เพราะจะสะท้อนต้นทุนการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในตลาดเงินไทยมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us