Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2551
จากเลห์แมนถึงไอบีเอ็ม ตำนานแบรนด์ต่างปรากฏการณ์             
 


   
www resources

IBM Homepage

   
search resources

Commercial and business
IBM
เลห์แมนบราเธอร์




การล่มสลายของวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ เลห์แมน บราเธอร์ส ที่มีอายุยาวนานมากกว่า 100 ปี อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือซับไพร์ม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นปัญหาลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย จนทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกเกิดภาวะถดถอยลง

นับเป็นนับอีกตำนานแบรนด์ที่ต้องล่มสลายไปอย่างน่าเสียดาย

จริงแล้วในสหรัฐฯมีสินค้าที่ถือเป็นตำนานหลายต่อหลายแบรนด์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น โคคา-โคล่า, แมคโดนัลด์, เป๊ปซี่, ยิลเลตต์, ลีวายส์ แม้วันนี้จะยังโลดแล่นอยู่บนถนนธุรกิจ แต่ใช่ว่าจะสบายเหมือนเดินบนถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ยกตัวอย่างกรณีของลีวายส์ ในฐานะที่เป็นตำนานอันเลื่องชื่อของบลูยีนส์ และเพิ่งฉลองครบรอบ 150 ปีของการดำเนินกิจการไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่ท่ามกลางโลกการตลาดปัจจุบัน ผู้บริหารของลีวายส์ยังคงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหนักทางการตลาด ว่าแบรนด์ของตนจะวางตำแหน่งทางการตลาดเน้นไปในส่วนไหนของตลาด? สินค้าเพื่อผู้ใช้แรงงาน หรือสินค้าแนวแฟชั่น กิจการเอกชน หรือรั้งตำแหน่งของการเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกันเอาไว้

อย่างไรก็ตาม แบรนด์ที่อยากจะนำเสนอในครั้งนี้อาจถือว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของอเมริกันชนก็คือ ไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่สีฟ้าแห่งธุรกิจไอที

ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบแต่ละรายโดยทั่วไป มักจะต้องเลือกว่าจะวางตำแหน่งและเป้าหมายทางการตลาดในส่วนใดส่วนหนึ่งของตลาดเท่านั้น เพราะมีความจำกัดในด้านทรัพยากรและขนาดของการประกอบการที่ไม่ได้ใหญ่โตเพียงพอที่จะควบคุมตลาดทั้งหมดได้

ดังนั้น หากจะนึกชื่อของผู้ประกอบการรายใดที่สามารถยกย่องให้เป็นกิจการระดับโลกจริงๆ ก็คงมีไม่กี่รายที่สามารถเอ่ยชื่อใด

และหนึ่งในกิจการที่ว่านั้นก็คือ ไอบีเอ็ม หรือที่มีนิกเนมว่า บิ๊กบูล (Big Blue) หรือชื่อจริงว่า อินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส แมชีนส์ คอร์ปอเรชั่น ธุรกิจที่ยืนยงมากว่า 100 ปี

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันใหม่ว่า ธุรกิจของไอบีเอ็ม คือธุรกิจอะไรกันแน่

ธุรกิจของไอบีเอ็ม ก็คือธุรกิจเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และธุรกิจที่ปรึกษา จึงเป็นเพียงไม่กี่บริษัทในโลกด้านไอทีที่มีตำนานยาวนานที่สุด ซึ่งทำหน้าที่ทั้งการผลิตและขายคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ พร้อมกับดำเนินการนำเสนอบริการสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (infra-structure) บริการด้านโฮสติ้ง และบริการด้านการให้คำปรึกษา ในด้านต่างๆ ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ไปจนถึงนาโนเทคโนโลยี

แต่สำหรับลูกค้าและผู้บริโภคทั่วโลกแล้ว มักจะคิดว่าไอบีเอ็มคือบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีพนักงานกว่า 388,000 คนทั่วโลก และหลายคนยังเห็นว่าไอบีเอ็มเป็นกิจการไอทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แม้ว่าการเปรียบเทียบด้านยอดรายรับรวมแล้ว รายรับรวมของไอบีเอ็ม จะน้อยกว่าบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด มาตั้งแต่ 2006 แต่ไอบีเอ็มก็เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงที่สุด แถมยังเป็นบริษัทที่มีการครอบครองลิขสิทธิ์ต่างๆ มากกว่าบริษัทในธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ ในสหรัฐฯ

นิกเนมของไอบีเอ็มในนาม บิ๊ก บลู (Big Blue) ว่ากันว่ามาจากหลายตำนาน ซึ่งตำนานหนึ่งคือ สีน้ำเงินเป็นสีเมนูเฟรมของไอบีเอ็มที่ติดตั้งในช่วงทศวรรษ 1960 จงรักภักดีต่อแบรนด์ไอบีเอ็ม ในบางตำนานบอกว่า บิ๊ก บลูมาจากสีโลโก้ของบริษัทไอบีเอ็ม ส่วนตำนานอื่นก็ว่า มาจากสีเครื่องแบบของพนักงานที่กำหนดว่า พนักงานต้องใส่เฉพาะเสื้อเชิร์ตสีขาวและสูทน้ำเงินเท่านั้น

ไม่ว่าจะมีที่มาอย่างไร แต่ความแข็งแกร่งของไอบีเอ็ม ดูได้จากการที่กิจการมีความสามารถในการเจาะตลาดทั้งส่วนที่พัฒนาและทันสมัยและตลาดที่เพิ่งจะเริ่มต้นด้านไอที ครอบคลุมเกือบ 170 ประเทศทั่วโลก

นักการตลาดต่างยอมรับว่าธุรกิจไอทีมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรงมากที่สุดธุรกิจหนึ่งในระดับตลาดโลก แต่ความยืนยงของไอบีเอ็มต้องมาจากความแข็งแกร่งอย่างแน่นอน จึงจะทำให้ไอบีเอ็มมีศักยภาพในการเอาชนะกิจการที่มีขนาดเล็กกว่า และกิจการประเภทเคลื่อนที่เร็ว

ประการแรก ความแข็งแกร่งหลักของไอบีเอ็มคือศักยภาพในการค้นหานวัตกรรมความสามารถในการพัฒนาและในการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาป้อนตลาดไอทีที่ก้าวไปข้างหน้าแบบวันต่อวัน

ประการที่สอง การค้นหาคำว่า “คุณค่า” หรือ Value ที่ลูกค้ายอมรับในโซลูชั่น ในบริการและงานที่ปรึกษาของไอบีเอ็ม และเดินไปได้อย่างถูกทิศถูกทาง

ประการที่สาม สินทรัพย์ทรงคุณค่าที่ซ่อนไว้ ในรูปทุนมนุษย์หรือบุคคลากรที่มีความสามารถในการนำเอาไอเดียใหม่มาต่อยอดงานของตนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ภายใต้ระบบการทำงานที่ยึดมั่นกับตัวอักษร คู่มือ กระบวนการวิธีปฏิบัติที่ตายตัวและกลไกควบคุมการปฏิบัติงานที่เข้มงวด และยิ่งองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น คนก็ดูจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โดยเปรียบเทียบ และทำให้ต้นทุนของการเพิ่มความยืดหยุ่นและต้นทุนของการจูงใจให้เกิดการสร้างนวัตกรรมยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

ประการที่สี่ ความสามารถในการบูรณาการไปสู่วิธีปฏิวัติและโมเดลธุรกิจใหม่ไม่ได้มาจากการหล่อหลอมด้านการผลิตและงานบริการเท่านั้น หากแต่ต้องให้เกิดความกลมกลืนด้านระบบงานที่มีอยู่และกระบวนการปฏิบัติงานตลาดการไหลของงานด้วย

ที่ผ่านมา ธุรกิจไอทีของโลกได้เกิดความเปลี่ยนแปลงสู่การมุ่งเน้นที่บริการที่มีคุณภาพสูง สวนทางอย่างชัดเจนกับระดับราคาของเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มถูกลงทุกวัน และแพร่หลายออกไปสู่ลูกค้าทั่วประเภทธุรกิจห้างร้าน และลูกค้าภาคครัวเรือนอย่างกว้างขวางแทบจะทุกมุมโลก

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกระทบต่อโมเดลธุรกิจของบริษัทไอทีทุกราย ซึ่งกรณีของไอบีเอ็มเลือกที่จะมุ่งเข็มทิศธุรกิจไปสู่ธุรกิจด้านบริการมากขึ้น ด้วยการปรับการมุ่งเน้น ความใส่ใจ และการส่งมอบงานบริการของตนให้แก่ลูกค้าไปสู่โมเดลใหม่

การปรับตัวอย่างหนึ่งของไอบีเอ็มในวันนี้ คือเปลี่ยนจากการสร้างนวัตกรรมจากภายในองค์กรอย่างเดียวสู่การดึงเอาลูกค้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ มาช่วยไอบีเอ็มสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าไอบีเอ็มได้ตรงจุด

ในการใช้โมเดลธุรกิจแบบนี้ ไอบีเอ็มเลือกที่จะนำเสนองานบริการเป็นรูปแบบของที่ปรึกษาเข้าไปเป็นตัวนำทางก่อน ตามด้วยงานอบรมและปรับฐานองค์ความรู้ และบริการสนับสนุนทางด้านเทคนิค ที่จะทำให้มั่นใจว่าลูกค้าพร้อมจะเปิดรับไอบีเอ็มเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจและความต้องการของลูกค้า

นักการตลาดมองว่าความยืนลงของไอบีเอ็มมาจากความสามารถในการบริหารความเปลี่ยนแปลงนั่นเองและด้วยความสามารถในการบริหารความเปลี่ยนแปลงนี่เองที่ทำให้ไอบีเอ็มไม่เคยล้มเหลวในการเจาะตลาดลูกค้าใหม่ๆ และทำให้ลูกค้ามั่นใจที่จะก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ไอบีเอ็มจึงเป็นหนึ่งในกิจการไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจไปที ให้เป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะจับมือลูกค้าไปสู่โลกที่ปรับตัวอย่างอยู่ตลอดเวลาได้ด้วยการก้าวแต่ละก้าวอย่างมั่นคง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us