|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีซีซีแลนด์ฯเร่งต่อยอดโครงการที่อยู่อาศัย เร่งขยายพอร์ตโครงการศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบครบวงจร ระบุตั้งแต่ต้นปี52-54 ทยอยเปิดให้บริการศูนย์การค้า ล่าสุดทุ่มงบลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เนรมิตรที่ดินผืนงามบริเวณเอกมัยผุดโครงการศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย ย้ำฉีกแนวโครงการศูนย์การค้าทั่วไป ส่วนโครงการดิจิตอล เกตเวย์ ชูเอกลักษณ์ศูนย์ไอที รับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ชื่นชอบไอที พร้อมเฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหาย
นายโสมพัฒน์ ไตรโสรัส กรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ของกลุ่มเบียร์ช้าง เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการกว่า 10 โครงการ ทั้งในรูปแบบของศูนย์การค้าครบวงจร ศูนย์การค้าชุมชน ศูนย์ไอที และศูนย์การค้าสำหรับนักท่องเที่ยว โดยโครงการต่างๆ ดังกล่าวจะเริ่มทยอยเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2552 ไปจนถึงต้นปี 2554 ทั้งนี้ บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่ดินแปลงอื่นๆ ทั้งที่บริษัทฯเป็นเจ้าของที่ดินหรือซื้อใหม่อีกด้วย
ล่าสุด ทางบริษัทฯกำลังพัฒนาโครงการศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย โดยมีพื้นที่ขายประมาณ 33,000 ตารางเมตร(ตร.ม.) มีมูลค่าการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีพันธมิตรทั้งในและนอกประเทศเข้ามาเปิดร้านค้าภายในศูนย์การค้าฯ คาดว่าจะเปิดตัวโครงการฯในช่วงประมาณอีก 2 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ เป้าหมายที่เลือกบริเวณเอกมัยในการเปิดโครงการศูนย์การค้าฯ เนื่องจากผลการสำรวจและศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าในย่านดังกล่าว พบว่า ลูกค้ายังมีความต้องการศูนย์การค้าในรูปแบบครบวงจรอยู่ในระดับสูง อีกทั้งทำเลดังกล่าว ทางทีซีซี แลนด์ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของที่ดินบริเวณย่านเอกมัย ที่มีการเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการพัฒนาที่ดินให้เป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญในอนาคต ประกอบกับมีโครงการที่พักอาศัยทยอยเปิดตัวเพิ่มขึ้น บริษัทฯจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาศูนย์การค้าในรูปแบบที่แตกต่างไปจากศูนย์การค้าอื่นๆ ในปัจจุบัน โดยความแตกต่างดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ความแตกต่างด้านสถาปัตยกรรม โดยบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะออกแบบให้อาคารศูนย์การค้ามีรูปทรงสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ เป็นจุดเด่นและศูนย์กลางในย่านเอกมัย(Landmark and Center)
ความแตกต่างที่ลงตัวในการผสมผสานสินค้าและการตกแต่ง มีการผสมผสานรูปแบบของห้างสรรพสินค้า (Department Store) และรีเทลช๊อป (Retail Shop) เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ กลมกลืน และต่อเนื่องของสินค้า ประกอบกับการจัดมีให้ ธีม เซคชั่น (Theme Section) เพื่อให้เกิดจุดเด่นในแต่ละจุดของศูนย์การค้าอีกด้วย
และความหลากหลายในด้านการตลาด โดยบริษัทฯมีแนวความคิดทางการตลาดในการที่จะสร้างศูนย์การค้าดังกล่าวให้กลมกลืนเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของผู้คนในย่านนั้นๆ โดยผู้อยู่อาศัย หรือผู้ทำงาน หรือประกอบกิจการในย่านดังกล่าว จะได้เข้ามาร่วมแบ่งปันความสุขและร่วมกันสรรค์สร้างให้เป็นเมืองที่ทุกคนมีความสุข
" ทั้งโครงการ ดิจิตอล เกตเวย์ บริเวณ เซ็นเตอร์พอยท์ สยามสแควร์ และโครงการศูนย์การค้าเกตเวย์ บนถนนเอกมัย ปากซอยสุขุมวิท 42 ทั้ง 2 อยู่บนเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งแต่ละโครงการจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นต่างกัน"นายโสมพัฒน์ กล่าว
สำหรับโครงการดิจิตอล เกตเวย์ (หรือเซ็นเตอร์พอยท์เดิม) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้มีการเซ็นต์สัญญากับฝ่ายดูแลทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์ฯ ได้เริ่มการก่อสร้าง และมีกำหนดการเปิดดำเนินการประมาณไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยจะเป็นศูนย์ไอทีในรูปแบบไลฟ์สไตล์แห่งแรกของประเทศไทย มีพื้นที่ขายประมาณ 5,500 ตร.ม. มูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
ทางด้านการตลาดจะมุ่งเน้นในการตอบสนองความต้องการของวัยรุ่น และคนรุ่นใหม่ ที่นิยมมาจับจ่ายใช้สอยในย่านสยามแสควร์นี้ ซึ่งจากการสำรวจและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในบริเวณดังกล่าวพบว่ามีความต้องสินค้าด้านไอทีจำนวนมาก
นายโสมพัฒน์กล่าวถึงการปรับตัวของบริษัทฯในสถานการณ์ปัจจุบันว่า ทางทีซีซี แลนด์ฯก็ยังคงเดินหน้าศึกษา วางแผน และพัฒนาโครงการต่างๆ ที่มีศักยภาพ โดยนำปัจจัยในด้านต่างๆ เข้ามาวิเคราะห์ควบคู่กับโอกาสการลงทุนไป และมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ ดังนั้นแนวทางการบริหารและการจัดการธุรกิจภายใต้สถานการณ์ขณะนี้ คงต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและทางการเมืองอย่างใกล้ชิด ส่วนผลกระทบต่อเนื่องในอนาคตข้างหน้านั้น ปัจจัยต่างๆจะถูกนำมาใช้ในการคิดคำนวณ และจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งต้องเผื่อให้ครอบคลุม ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ดังกล่าว
|
|
|
|
|