Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 กรกฎาคม 2546
ชนินท์นั่งบอร์ดRATCH แถมเงินอีก2.1พันล้านบ.             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
บ้านปู, บมจ.
ไตรเอ็นเนอจี้
บุญชู ดิเรกสถาพร
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ
Energy




บ้านปูเตรียมส่งชนินท์ ว่องกุศลกิจ ผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นบอร์ดสมใจ ในบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)หลังตัดสินใจ ขายโรงไฟฟ้าไอพีพี "ไตรเอนเนอจี้" รับเงินสดเหนาะๆ 2.1 พันล้านบาท พร้อมเก้าอี้บอร์ดฯ 1 ที่นั่ง

นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วานนี้ (28 ก.ค.) มีมติอนุมัติลงทุนบริษัท ไตรเอนเนอจี้ จำกัด โดยซื้อบริษัท บ้านปู แก๊ส เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นไตรเอนเนอจี้ 12,839,250 หุ้น 37.5% รวมทั้งเงินกู้ยืมบริษัท บ้านปูแก๊ส เพาเวอร์ ในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อใช้ชำระคืนหนี้เงินกู้กลุ่มบ้านปู รวมมูลค่าซื้อ 2.1 พันล้านบาท

ดีลนี้มีการเจรจาต่อเนื่องมานาน หลังจากกลุ่มบ้านปูถือหุ้น RATCH เกือบ 15% โดยนายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บ้านปู ต้องการถือหุ้น RATCH เพิ่มขึ้น โดยเสนอที่จะขายโรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอจี้ โดยใช้วิธีแลกหุ้น (swap)กับ RATCH แต่ไม่สามารถ ทำได้ เนื่องจากขัดมติคณะรัฐมนตรี ที่กำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือหุ้นใหญ่ใน RATCH ไม่น้อยกว่า 45% ของ ทุนชำระแล้ว 1.45 หมื่นล้านบาท ทำให้การเจรจาโดย วิธีแลกหุ้นต้องพับไป

RATCH จึงเสนอทางออก โดยชำระเป็นเงินสด 2.1 พันล้านบาท และเก้าอี้กรรมการบริษัทอีก 1 ที่แทน ซึ่งบ้านปูก็เห็นชอบด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา RATCH ไม่เปิดโอกาสให้บ้านปูเป็นกรรมการบริษัท แม้ว่าจะถือหุ้น RATCH มากถึง 15% ก็ตาม

แถมเงินสดให้ 2.1 พันล้านบาท-บอร์ด 1 ที่

แหล่งข่าวคาดว่า บ้านปูจะเสนอนายชนินท์ เป็น 1 ในบอร์ดบริษัท พร้อมรับเงินสด 2.1 พันล้าน บาทดังกล่าว ในการที่บริษัทซื้อโรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอจี้ โดยผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ จะชำระเป็นเงินสดวันที่โอน หลังจากได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งจะกำหนดภายหลัง

แหล่งข่าวกล่าวว่า หากการเจรจาประสบความ สำเร็จ RATCH จะลงทุนโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ทำให้ RATCH สามารถรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้า ตามสัดส่วนถือหุ้นเพิ่มขึ้น 37.5% ไตรมาส 4 ทำให้กำไรสุทธิ RATCH ปีนี้ เพิ่มขึ้นจากเดิม ที่คาดไว้ 4,728.94 ล้านบาท

สำหรับการถือหุ้นโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีของบ้านปู ขณะนี้ข้อมูลยังไม่พร้อมตีราคามูลค่าหุ้น คงต้องรอให้บ้านปูดำเนินการเรื่องจัดหาแหล่งเงินกู้ในโครงการก่อน

ส่วนแหล่งเงินทุนที่จะใช้ซื้อโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะนำเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ 2,300 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ออกหุ้นกู้ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า

นายบุญชูกล่าวต่อไปว่า การซื้อบริษัท บ้านปู แก๊สเพาเวอร์ จำกัด จะมีผลสมบูรณ์เมื่อกลุ่มบ้านปู ประสบความสำเร็จปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

1. ผู้ถือหุ้นหลักไตรเอนเนอจี้ยินยอมในการที่บริษัทฯ จะซื้อหุ้นบริษัท บ้านปู แก๊ส เพาเวอร์ จากกลุ่มบ้านปู รวมทั้งการตกลงร่วมกันด้านขยายการลงทุนกิจการผลิตไฟฟ้าในจังหวัดราชบุรี และ ประเด็นอื่นๆ ตามที่กำหนดในข้อกำหนดสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นไตรเอนเนอจี้

2.บริษัทฯ ได้รับคำยืนยันเบื้องต้นจากกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงินไตรเอนเนอจี้ ว่าจะยินยอมที่บริษัทฯ จะซื้อหุ้นบริษัท บ้านปู แก๊ส เพาเวอร์

บริษัทฯ คาดว่าจะรับทราบผลการยืนยันเงื่อนไขดังกล่าว ภายใน 29 ส.ค.หากผลการยืนยัน ไม่บรรลุผลสำเร็จบริษัทฯ จะเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา

หากเทกฯไตรเอ็นเนอจี้เพิ่มบอร์ดเป็น 13 คน

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้เสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติเพิ่มกรรมการอีก 1 คน และแก้ไข ข้อบังคับบริษัทฯ ข้อ13 จากจำนวนกรรมการที่ระบุว่า "ไม่เกิน 11 คน" เป็น "ไม่เกิน 13 คน" ภายใต้เงื่อนไขว่าการเจรจาซื้อไตรเอ็นเนอจี้ประสบความสำเร็จ

ที่ประชุมฯ มอบหมายกรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ มีอำนาจกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯ เพื่อนำรายการการ ซื้อบริษัท บ้านปู แก๊ส เพาเวอร์ ดังกล่าว เสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทฯ เพื่ออนุมัติ โดยต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท บ้านปู ถือหุ้น RATCH 14.99% ประกอบด้วยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 0.26% และบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ ถือหุ้น 7.38% และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ อินเตอร์แนชั่นแนล ถือหุ้น 7.35% ซึ่งถือเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ของบริษัทฯ

ทั้งนี้ การเข้าไปซื้อบริษัท บ้านปู แก๊ส เพาเวอร์ จำกัด ดังกล่าวเป็นเพียงการตกลงในเบื้องต้นกับกลุ่มบ้านปูเท่านั้น เนื่องจากการเข้าทำรายการดังกล่าว นอกจากจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญๆ ต่างๆตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรายละเอียดอื่นๆ ที่บริษัทฯ จะต้องตกลงกับกลุ่มบ้านปูในสัญญาซื้อขายหุ้นต่อไป

บริษัท ไตรเอนเนอจี้ ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าไอพีพีด้วยก๊าซธรรมชาติขนาด 725 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดราชบุรี และ โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าไอพีพีที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังการ ผลิต 1,434 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง

6 เดือนกำไร 1.98 พันล้านบาท

นายบุญชู กล่าวถึงผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ รวม 2,564 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,977 ล้านบาท เป็นจำนวน 587 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30% กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.77 บาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.36 บาท

ส่วนงวดไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2546 บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 973 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,258 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 23% คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.67 บาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.87 บาท

เนื่องจากมีการหยุดเดินเครื่องตามแผนการบำรุงรักษา โดยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ชุดที่ 3 หยุดเดินเครื่องเพื่อทำ Warranty Inspection ระหว่างวันที่ 6-31 พฤษภาคมที่ผ่านมา และโรงไฟฟ้า พลังความร้อน เครื่องที่ 1 หยุดเดินเครื่องเพื่อทำ Minor Inspection ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 8 กรกฎาคม 2546

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ชุดที่ 1 ที่มีการหยุดเดินเครื่องเพื่อทำ Minor Inspection ระหว่างวันที่ 9 มีนาคม ถึงวันที่ 7 เมษายน 2546 ซึ่งได้ประมาณการค่าซ่อมอุปกรณ์เป็นเงินประมาณ 8.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำหนดให้ทยอยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามผลงาน ของการซ่อมอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นจริงนั้น ในไตรมาสที่ 2 นี้ได้มีการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 51 ล้านบาท

ปัจจุบัน RATCH มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 3,645 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งจะเดินเครื่องเฉลี่ย 80%ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยฐานะการเงินของบริษัทนั้น ปัจจุบันมีหนี้สินรวม 4.25 หมื่นล้านบาท และหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 2 เท่า ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ปรับโครงสร้างทางการเงินกับสถาบันการเงิน โดยเจ้าหนี้ยอมลดดอกเบี้ย ทำให้บริษัทลดดอกเบี้ยจ่ายในช่วง 6 ปีเป็นเงิน 2,734 ล้านบาท

ความเคลื่อนไหวของ RATCH วานนี้ (28 ก.ค.) เปิดตลาดที่ 28.25 บาท มีแรงซื้อดันขึ้นไปแตะสูงสุดที่ 28.75 บาท ก่อนจะมีแรงเทขายออกมาปิดตลาดที่ 28.50 บาท ลดลง 25 สตางค์ เปลี่ยนแปลง 0.86% มูลค่าการซื้อขาย 75.73 ล้านบาท

หุ้น BANPU เปิดตลาดที่ 46.75 บาท ปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 47.50 บาท ก่อนจะปรับตัวลดลงมาปิดตลาดที่ 46.75 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 35.60 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us