Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2551
วิกฤตสหรัฐ-การเมืองถล่มหุ้นไทย             
 


   
search resources

Stock Exchange




วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ผสมโรงการเมืองในประเทศถล่มตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก ตั้งแต่ต้นปีดัชนีวูบไปแล้ว 406 จุด หรือคิดเป็นกว่า 47% ขณะที่มูลค่าตลาดรวมหดเหลือ 3.63 ล้านล้านบาท ลดลงกว่า 3 ล้านล้านบาท ไปเกือบครึ่ง ด้านนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ นักลงทุนต่างชาติยังทิ้งหุ้นต่อ หลังไม่ทราบจุดต่ำสุดของปัญหาอยู่ที่ใด พร้อมประสานเสียงคนในวงการคาดการณ์ดัชนีไม่รูดหนักเท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่อาการหนักว่าแบล็กมันเดย์ ขณะเดียวกันตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง ซบเซายาวนานอีก 2-3 ปี

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยถูกปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศรุมเร้าอย่างหนัก ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลงรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจัยหลักเรื่องของวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงและลุกลามสู่ประเทศในแถบยุโรป ล้วนเป็นประเด็นหลักที่กดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง แม้ทางการของหลายๆ ประเทศประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน รวมถึงการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่กลับไม่สามารถช่วยอะไรได้

ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเอง ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จากปัจจัยหลักๆ ดังกล่าวได้ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี ล่าสุดปิดที่ 451.96 จุด (10 ต.ค.) และทำให้มูลค่ารวมตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 4 ล้านล้านบาท เหลือแค่ 3.63 ล้านล้านบาท

หากเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นไทย และมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ณ สิ้นปี 2550 ที่ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 858.10 จุด มาร์เกตแคปอยู่ที่ 6.64 ล้านล้านบาท หรือดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง 406.14 จุด คิดเป็น 47.44% และมาร์เกตแคปลดลง 3.01 ล้านล้านบาท คิดเป็น 45.33% ตามลำดับ ขณะที่ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศสูงกว่า 134,218.24 ล้านบาท

ลุ้นดัชนีตลาดหุ้นไม่หลุด420จุด

มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารฝ่ายค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด และในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐนั้นส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศต่างๆ ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความกังวลขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องจาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุน จากที่ไม่ทราบว่าปัญหาดังกล่าวจะจบเมื่อไร และมูลค่าเสียหายจะอยู่ที่เท่าไร

“ผมมองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไม่ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 420 จุด เพราะตั้งแต่ต้นปีดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาจำนวนมาก แต่บริษัทจดทะเบียนไทยมีการเติบโตของกำไรสุทธิที่ดี หรือโตปีละประมาณ 4-5% บวกกับช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก จึงจะไม่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง”

ทั้งนี้ หากปัจจัยทางการเมืองในประเทศสามารถคลี่คลายได้ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโตที่ดี และดึงความสนใจของนักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ รวมทั้งขณะนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดในภูมิภาค เมื่อนักลงทุนต่างประเทศมีการหยุดตกใจจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ แล้ว จะทำให้มีเม็ดเงินต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลรุนแรงทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือ 200 จุด เหมือนช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 25540 แน่นอน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานบริษัทจดทะเบียนไทยในขณะนี้แข็งแกร่งกว่าเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ปัญหาในครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ครั้งนี้ผลกระทบมาจากปัจจัยต่างประเทศ

สำหรับการที่ดัชนีปรับตัวลดลงนั้น ส่วนตัวได้มีการเข้าไปซื้อกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) จากที่ได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษี และมองว่าในระยะยาวดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ และเป็นการป้องกันตนเองว่าจะได้รับเงินคืน 30%

“ต่างชาติที่มีการขายหุ้นออกมาต่อเนื่องจาก จากตื่นตกใจจากปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันตนเองก่อนโดยต้องการถือเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง เพราะเขาไม่รู้ว่าจุดต่ำสุดของปัญหาจะอยู่ตรงไหน แต่เชื่อว่านักลงทุนจะกลับเข้ามาซื้อแน่นอนจากปัจจัยพื้นฐานตลาดหุ้นไทยดีกว่าในประเทศอื่นๆ และกำไรบจ.ก็เติบโตต่อเนื่อง”มล.ทองมกุฎ กล่าว

เชื่อยังเหนือกว่า 400 จุด

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บล.ทรีนีตี้ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) กล่าวว่า จากวัฏจักรการลงทุนในช่วง 10 ปีนั้น 7 ปี ดัชนีตลาดหุ้นจะดี และอีก 3 ปีนั้น ตลาดหุ้นจะไม่ดี ซึ่งทุกครั้งที่ดัชนีปรับตัวลดลงต่ำสุดนั้น แต่แต่ละครั้งนั้น จุดต่ำสุดจะเพิ่มขึ้นทุกครั้ง เนื่องจาก ธุรกิจหลักทรัพย์มีการเติบโตเพื่อขึ้นทุกปี ซึ่งวิกฤตการเงินในช่วงปี 2540 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอยู่ที่ 200 จุด แทนที่จะอยู่ที่ระดับ 300-400 จุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากวิกฤตในรอบก่อนหน้านั้น เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัญหาในประเทศไทย ทำให้ผลกระทบรุนแรง

“ปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ปัญหาเกิดจากในต่างประเทศ และเชื่อว่าจุดต่ำสุดของวิกฤตทุกครั้งนั้น จุดต่ำสุดที่ต้องสูงกว่าวิกฤตในก่อนหน้านั้น จึงคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้จะไม่ต่ำกว่า 400 จุด แน่นอน และการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นไทยออกไปต่อเนื่องนั้น ก็ไม่ได้มีการนำเงินออกนอกประเทศทันที แต่ต้องการขายให้ได้เงินเป็นจำนวนมากกว่าเพื่อประหยัดที่จะเสียภาษีเงินออก”

เบากว่าต้มยำกุ้ง-หนักกว่าแบล็กมันเดย์

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงประมาณ 60% จากจุดสูงสุดที่ระดับ 924 จุด (ณ วันที่ 1 พ.ย. 2550) ซึ่งวิกฤตครั้งนี้รุนแรงกว่าวิกฤตแบล็กมันเดย์ในช่วงปี 2530 ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 52% แต่คงไม่ปรับตัวลดลงแรงถึงระดับ 80% ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ 200 จุด เหมือนกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 25540 แน่นอน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นต่างกัน ซึ่งปัญหาต้มยำกุ้งนั้นเกิดจากปัญหาภายในประเทศไทย แต่ปัญหาครั้งนี้นั้นเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ

“ส่วนตัวมองว่าจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเกิน 50% แต่จะเกินถึงระดับไหนนั้นยังตอบยาก แต่เชื่อว่าดัชนีจะไม่ปรับตัวลดลงถึง 80% เหมือนกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 40 แน่นอนที่ดัชนีเหลือระดับ 200 จุด จากปัจจัยพื้นฐานขณะนี้แข็งแรงกว่า และปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้เกิดในต่างประเทศ แต่ปัญหาที่เกิดในปี 40 นั้นเกิดจากปัญหาภายในประเทศไทยเอง ” นายสมบัติ กล่าว

มั่นใจพื้นฐานะตลาดหุ้นยังแข็งแกร่ง

ขณะที่นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่สามารถประเมินได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงถึงระดับไหน ซึ่งตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมีการปรับตัวลดลงนั้นถือว่าปรับต้วลดลงมากมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะไม่รุนแรงเหมือนกับปี 2540 แน่นอน จากปัจจัยพื้นฐานในตลาดหุ้นไทยดี ดีกว่าในช่วงวิกฤตครั้งก่อน

คาดตลาดหุ้นซบเซาลากยาวอีก 2-3 ปี

นายชัย จีรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธการลงทุน บล. พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนได้ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อรอดูผลจากการแก้ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยทิศทางตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาลง และคาดว่าจะอยู่ในภาวะซบเซาต่อไปอีกถึง 2 ปี

นายพงศ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังผันผวนจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลโดยอ้อมต่อความมั่นใจของนักลงทุน หากมองในมุมกลับกันอาจจะส่งผลดีต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานอย่าง น้ำ, น้ำมัน, ไฟฟ้าและมองปัญหาที่เกิดขึ้นอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปี ถึงจะดีขึ้น ส่วนปัญหาการเมืองภายในประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดน้อยลง รวมมองว่าปัญหาน่าคลี่คลายในเร็วๆนี้

ส่วนกรณีที่นักวิเคราะห์บางรายออกมาพูดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย จะลงไปแตะที่ระดับ 200 จุดนั้น คาดว่าไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญหา รวมถึงมองว่าหุ้นที่น่าลงทุนจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงอย่างหุ้นในกลุ่มบมจ. ปตท. หรือ PTT

นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนตลาดหุ้นไทยจะอยู่ในช่วงขาลง และซบเซายาวนานอีก 2-3 ปี จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจะต้องติดตามมาตรการการแก้ปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐฯ รวมถึงธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ออกมาจะช่วยบรรเทาวิกฤตที่เกิดขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us